สำรวจข้อมูล กบลูกศรพิษ กบสวยสังหารแห่งโคลอมเบีย

กบลูกศรพิษ

กบลูกศรพิษ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ขนาดเล็ก สีเหลืองทองอร่ามสดใส ใครได้พบเห็น ถือว่าเป็นบุคคล ที่โชคร้ายอย่างมาก! เพราะถึงแม้ว่าจะมีหน้าตาน่ารัก สีสันสวยงาม แต่แอบแฝงไปด้วย พิษร้ายแรง หากเผลอเข้าไปบุกรุกพื้นที่ หรือทำให้พวกมันตกใจกลัว อาจโดนพิษเพียงเล็กน้อย จนเสียชีวิตไม่รู้ตัวก็เป็นได้

กบลูกศรพิษ กบพิษแรงมากที่สุดในโลก

กบลูกศรพิษ (Golden Poison Frog), (Golden Poison Dart Frog) หรือที่เรียกว่า “กบพิษสีทอง กบลูกดอกพิษ” สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์ของกบพิษ Dendrobatidae

ถิ่นฐานกำเนิดในเขตป่าฝน และป่าดิบชื้น ของประเทศโคลอมเบีย โดยเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และมีพิษร้ายแรงมากที่สุดในโลก ในบรรดากบพิษทั้งหมด ซึ่งจำแนกออกประมาณ 175 สายพันธุ์ ในปัจจุบัน [1]

ลักษณะและสายพันธุ์ กบลูกศรพิษ

กบพิษสีทอง เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก แต่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในตระกูลกบพิษ โดยมีน้ำหนัก ประมาณ 30 กรัม ความยาวลำตัว 1 – 6 เซนติเมตร ซึ่งเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ตัวโตเต็มวัย มีสีเหลืองทองสดใส ในขณะที่วัยเด็กจะมีสีดำ และ แถบสีเหลืองทองคาดหลัง จากนั้นสีดำจะจางลง เมื่ออายุครบ 18 สัปดาห์

ลวดลายและสีหลัก ของกบพิษสีทอง มักเป็นสีเหลืองทองทั้งตัว โดยมีตั้งแต่สีเหลืองซีด ไปจนถึงสีเหลืองทองเข้ม และ ลวดลายค่อนข้างน้อย ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณ เตือนภัยอันตรายก็ตาม นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ใกล้เคียง อย่าง กบพิษสีเขียวมิ้นต์ กบพิษสีส้ม และ กบพิษตีนดำส้ม อีกด้วย

แหล่งอาศัยและพฤติกรรม

แหล่งอาศัยกบลูกดอกพิษ เป็นสัตว์เฉพาะถิ่น โดยแหล่งอาศัย เหมาะสมมากที่สุด คือ ป่าดิบชื้น ที่มีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง ประมาณ 5 เมตร / ปี หรือมากกว่านั้น อยู่ในระดับความสูงเหนือน้ำทะเล 200 เมตร ซึ่งต้องอยู่ในอุณหภูมิ อย่างน้อย 26 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 80 – 90%

พฤติกรรมทั่วไป หากินเวลากลางวัน ในอาณาเขตระยะห่างเท่ากัน โดยไม่จำเป็นต้องรวมกันเป็นฝูง ซึ่งการล่าอาหาร ของสายพันธุ์กบพิษ เป็นนักล่าประเภทซุ่มโจมตี แต่ไม่ค่อยมีความชำนาญ พวกมันเลือกกิน มด แมลง ปลวก ด้วง ซึ่งพบง่ายมากในพื้นที่ป่าฝน รวมถึงสามารถกิน ลูกอ๊อด และลูกยุง ได้ตามสภาพแวดล้อม

การผสมพันธุ์กบพิษ เกิดขึ้นตลอดช่วงฤดูฝน โดยไข่จะได้รับการผสมพันธุ์ มาจากภายนอก พร้อมกับวางไข่ ประมาณ 8 – 28 ฟอง บนเศษใบไม้หรือใต้หิน หลังจากลูกอ๊อดฟักตัว พวกมันจะเกาะติดบนเมือก ของหลังพ่อกับแม่ และจะพาไปยังแหล่งน้ำ เพื่อดำรงชีวิต ซึ่งมีอายุขัยเฉลี่ย 6 – 10 ปี

ความรู้รอบตัวของ กบลูกศรพิษ

กบลูกศรพิษ

ตระกูลกบหากมีสีสัน สวยงามมากเท่าไหร่ หมายถึงย่อมมีพิษมากเท่านั้น โดยเฉพาะกบสีทอง สีสะดุดตา ที่มีพิษร้ายแรงมาก จนแทบจะไม่มีศัตรู หรือนักล่าในธรรมชาติเลย ยกเว้นก็แต่ “งูท้องไฟ” โดยเป็นสายพันธุ์ ที่มีภูมิคุ้มกันพิษของกบสีทอง และ สามารถต้านทานพิษ ของกบอีกหลายชนิดได้ดี แบบไม่เกิดผลข้างเคียง

อัตราการเสียชีวิตจาก กบพิษสีทอง

สายพันธุ์กบสีทอง จัดว่าเป็น สัตว์มีพิษ ที่มีพิษมากที่สุดในโลก ประกอบไปด้วยสารพิษ Batrachotoxin หรือบางชนิดเป็นสารพิษ Epibatidine ที่ได้มาจากการกินมดเป็นส่วนมาก มีปริมาณพิษมากถึง 1,900 ไมโครกรัม แตกต่างจาก ปลาปักเป้า (มีพิษมากรองจากกบ) และสัตว์มีพิษทั่วไป ที่เป็นสารพิษชนิด Tetrodotoxin

สำหรับการออกฤทธิ์อันร้ายแรง พวกมันจะปล่อยพิษ เมื่อรู้สึกถึงอันตรายกำลังเข้ามาใกล้ตัว แต่จะไม่ใช่การหลบซ่อน หรือซุ่มโจมตี พวกมันจะกระโดดหนี และมีกลไกป้องกันตัว โดยระบบส่งพิษจะเริ่มทำงาน (จากฟันหรือหนาม) ซึ่งขับพิษออกมา ทางผิวหนังเท่านั้น

อันตรายจากพิษกบ สามารถล้มสัตว์ใหญ่ และทำให้คนเสียชีวิตได้ เพราะพิษจะตรงเข้าสู่กระแสเลือด ทำลายเส้นประสาท ส่งผลต่อหัวใจล้มเหลว พบว่าสามารถฆ่าหนูได้ มากกว่า 20,000 ตัว และฆ่าคนได้เกินกว่า 10 คน ซึ่งปริมาณพิษเทียบเท่ากับเกลือ เพียง 2 เม็ด อาจเสียชีวิตภายในเวลา 10 นาที และไม่มียารักษา [2]

แนวทางการอนุรักษ์กบ ลูกศรพิษ

ประชากรของกบพิษสีทอง แม้ว่าจะมีจำนวนมาก กระจายตามพื้นที่เขตป่าฝน แต่เนื่องด้วยการบุกรุกตัดไม้ การขุดเหมือง และ การปลูกต้นโคคาผิดกฎหมาย ก็ทำให้สัตว์ชนิดนี้ อยู่ในสถานภาพสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ตามบัญชีแดงของ IUCN และปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์ ในโคลอมเบีย ได้จัดตั้งเขตคุ้มครอง เพื่อการอนุรักษ์

ยกให้เป็นสัตว์ประจำถิ่น เป็นเขตอนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุด ในโคลอมเบีย เรียกว่า “อาณาเขตของกบลูกศรพิษสีทอง” ครอบคลุมพื้นที่กว่า 72.8 ไร่ ซึ่งพวกมันอาศัย และขยายพันธุ์ได้ดี แตกต่างจากสมัยก่อน ที่ชาวพื้นเมือง มักนำกบพิษไปเผาไฟ เพื่อเอาพิษจากผิวหนัง มาทำเป็นลูกดอกพิษ เพื่อล่าสัตว์กินเป็นอาหาร [3]

สรุป กบลูกศรพิษ “Golden Poison Frog”

กบลูกศรพิษ กบชนิดมีพิษแรงมากที่สุดในโลก แหล่งกำเนิดและอาศัยเฉพาะถิ่น ในป่าฝนของโคลอมเบีย ขนาดตัวเล็กเท่าลวดหนีบกระดาษ สีเหลืองทองสวยงาม แต่พิษร้ายแรงระดับฆ่าคนตาย เพียงปริมาณเท่าเม็ดเกลือ สามารถเสียชีวิตภายใน 10 นาที ทั้งนี้ยังถูกอนุรักษ์ ให้เป็นสัตว์คุ้มครอง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง