รวมสาระ กระจง สัตว์กีบเท้าเล็กเหมือนกวางย่อส่วน

กระจง

กระจง สัตว์ป่าตัวเล็กตัวน้อย ที่ใครหลายคนมักเข้าใจผิด คิดว่าเป็นลูกกวาง ซึ่งถ้าครั้งหนึ่งมีโอกาสได้พบเห็น ถือว่าโชคดีมาก เพราะพวกมันไม่ได้โผล่หน้ามาบ่อยนัก หนึ่งในสัตว์ป่าขี้อาย ชอบออกหากินตอนกลางคืน และกินพืชเป็นอาหาร ยังมีความลับอีกมากมาย ถูกซ่อนอยู่ที่คุณไม่เคยรู้แน่นอน

โลกสัตว์ป่าตัวน้อย กระจง ประจำถิ่นเอเชีย

กระจง (Chevrotain) หรือมีชื่อเรียกว่า “หนูกวาง” (Mouse-Deer) สัตว์กีบเท้าคู่ขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ของ Tragulidae พบแหล่งอาศัยในป่าฝน ของทวีปเอเชียใต้ และทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นสายพันธุ์ที่แพร่หลาย มาตั้งแต่ช่วงยุคโอลิโกซีน – ยุคไมโอซีน ประมาณ 34 – 5 ล้านปีก่อน [1]

ลักษณะสำคัญ กระจง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิดมีกีบเท้าขนาดเล็กที่สุดในโลก มีหลากหลายสายพันธุ์ รูปร่างคล้ายชะมด หรือกวาง แต่ไม่มีเขา และไม่มีต่อมน้ำตา สำหรับสายพันธุ์เอเชีย พบอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีน้ำหนักระหว่าง 7 – 16 กิโลกรัม ความยาวลำตัวเฉลี่ย 45 เซนติเมตร และความสูงเฉลี่ย 30 เซนติเมตร

ลักษณะเด่นของทั้งสองเพศ จะมีเขี้ยวยาวแหลมคม 1 คู่ แต่โดดเด่นมากในกระจงตัวผู้ เพื่อใช้ในการต่อสู้ ทั้งยังมีกีบเท้าขนาดเล็ก แต่ค่อนข้างคมมาก ไว้สำหรับป้องกันตัว โดยพวกมันมีขาที่สั้นและบาง ซึ่งทำให้ขาดความคล่องตัว แต่ด้วยรูปร่างขนาดเล็ก จะช่วยในการวิ่งลอดพุ่มไม้หนาทึบ เพื่อหลบซ่อนได้เป็นอย่างดี

รายละเอียดพฤติกรรมและการกิน

การใช้ชีวิตส่วนมาก มักพบเห็นอยู่ตัวเดียว หรืออยู่ด้วยกันเป็นคู่ โดยมีวัยเจริญพันธุ์ ตั้งแต่ 5 – 10 เดือน พวกมันสามารถทำเครื่องหมาย สำหรับบ่งบอกคู่ครอง และคู่ต่อสู้ได้ ทั้งยังสามารถสร้างอาณาเขต เหมือนกับสัตว์เคี้ยวเอื้องทั่วไป แต่จะไม่ค่อยหวงอาณาเขตมากนัก พวกมันเลือกที่จะเพิกเฉย มากกว่าการก้าวร้าว

แหล่งอาศัยและอาหาร แม้ว่ากระจงจะอยู่ในพื้นที่ป่าฝน แต่พวกมันสามารถ ควบคุมอุณหภูมิความร้อนในร่างกายได้ ซึ่งช่วยในการปรับตัวในสภาพแวดล้อม ของป่าเขตร้อน และป่าแห้งแล้งได้ดี จึงจัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์เขตร้อน กระจงเลือกกินพืช และผลไม้ร่วงหล่น แต่บางสายพันธุ์อาจพบว่ากิน แมลง เนื้อปลา และปู

กระจง สัตว์ป่าหายากแต่พบเจอในไทย

กระจง

กระจงเป็นสัตว์ป่า ที่ค่อนข้างหายาก เพราะมีจำนวนประชากรน้อย โดยมีหลายสายพันธุ์ ถูกแบ่งออกเป็น 6 ชนิดย่อย คือ กระจงชวา กระจงเล็ก กระจงใหญ่ กระจงฟิลิปปินส์ กระจงเวียดนาม และ กระจงวิลเลียมสัน สำหรับสายพันธุ์ที่พบในไทย มีเพียงแค่กระจงเล็ก (กระจงหนู) และ กระจงใหญ่ (กระจงควาย) เท่านั้น

การสืบพันธุ์และนักล่าของ กระจง

การสืบพันธุ์ของกระจง ไม่มีฤดูกาลผสมพันธุ์ โดยตัวเมียตั้งท้องได้ตลอดเวลา รวมถึงตอนคลอดลูกเสร็จ จะใช้เวลาตั้งท้อง ประมาณ 4.5 เดือน และมีลูกกระจงเพียง 1 ตัว ที่มีน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 370 กรัม ซึ่งภายในเวลา 30 นาที – 1 ชั่วโมง หลังคลอดออกมา ลูกกระจงจะสามารถยืนได้ทันที และมีอายุขัย ประมาณ 12 ปี

นักล่าในป่าธรรมชาติ มีสัตว์นักล่ากินเนื้อหลายชนิด ที่อาศัยร่วมกับกระจง อย่างเช่น แมวป่า เสือลายเมฆ เสือโคร่ง และนกเค้าแมว โดยนักล่าจะออกหากินในป่าฝน คอยจับตาดูอย่างใกล้ชิด และมีโอกาสน้อยที่กระจงจะหนีรอด รวมถึงอันตรายจากงูเหลือม ที่ซุ่มโจมตีจากพื้นดิน และบนต้นไม้ด้วยเช่นกัน [2]

เปิดเผยข้อเท็จจริงน่ารู้เกี่ยวกับกระจง

รวมข้อเท็จจริงน่าสนใจ หลายคนอาจเรียกว่า กวางหนู แต่พวกมันมีความลับอะไรซ่อนอยู่ ดังต่อไปนี้

  • ไม่ใช่หนูและกวาง : เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกีบเท้า อันดับย่อยร่วมกับกวาง แต่ไม่ถูกนับว่าเป็นกวางแท้ เพราะมีขนาดเล็กกว่ามาก และไม่มีเขา หรือเขาอ่อน
  • เขี้ยวกระจงน่ากลัวกว่าแวมไพร์ : หากมองผิวเผิน เราจะไม่มีทางได้เห็น เขี้ยวของกระจงเลยแม้แต่น้อย แต่ถ้าได้เปิดปากออกมาแล้ว เราจะพบกับเขี้ยวอันแหลมคม ที่มีความยาวเป็นพิเศษ (คนไทยนิยมนำมาทำเป็นเครื่องราง) พวกมันซ่อนเขี้ยวไว้ในปาก สำหรับใช้ในการกัด ต่อสู้ และป้องกันตัวเท่านั้น เนื่องจากว่าเขี้ยวมีความแข็งแรงมาก
  • สัตว์เคี้ยวเอื้อง 3 กระเพาะ : โดยทั่วไปแล้วสัตว์เคี้ยวเอื้อง จะมีทั้งหมด 4 กระเพาะ เพื่อหมักสารอาหารจากพืชใบเหนียว แต่กระจงมีกระเพาะ ที่พัฒนามาได้ไม่ดี ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรจากยุคโบราณ เพราะมันมีความเชื่อมโยงของวิวัฒนาการ ทั้งสัตว์เคี้ยวเอื้อง และไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง
  • หนีอันตรายลงน้ำ : พวกมันเรียนรู้ที่จะหลบหนีลงไปในน้ำ เมื่อรู้สึกถึงนักล่าอยู่บริเวณใกล้เคียง พวกมันจะย่อตัว และเดินไปตามพื้นลำธาร เพื่อไม่ให้ถูกกระแสน้ำพัด และอาจยึดเหนี่ยวด้วยหญ้ากก หรือพืชรอบตัว ซึ่งพวกมันสามารถกลั้นหายใจ ได้นานถึง 4 นาที
  • นิสัยขี้อายชอบเก็บตัว : กระจงมักตกเป็นเหยื่อ ของสัตว์นักล่ามากมาย เพราะมันมีขนาดตัวเล็ก และไม่มีเขาป้องกัน พวกมันจึงต้องออกหากินตอนกลางคืน และพบเห็นได้ยาก ซึ่งกระจงมีนิสัยขี้อายมาก ชอบหลบซ่อนตัว และหากินตามลำพัง
  • กีบเท้าส่งเสียงเตือนภัย : กระจงสามารถกระทืบเท้า ส่งเสียงดังจากกีบเท้าได้ หากอยู่ในอารมณ์โกรธ หรือรู้สึกถึงอันตราย สามารถกระทืบเท้าได้ 4 – 7 ครั้ง / วินาที เหมือนกับการตีกลองรัว ๆ จะช่วยป้องกันตัวเอง จากสัตว์นักล่าได้เบื้องต้น และเป็นสัญญาณเตือนภัย ให้กับกระจงตัวอื่นด้วย

ที่มา: 9 Tiny Facts About the Chevrotain [3]

สรุป กระจง “Chevrotain”

กระจง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ชนิดสัตว์มีกีบเท้า มีเขี้ยวยาวแหลมคม แหล่งอาศัยในป่าฝน และป่าแห้งแล้ง ของทวีปเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กินพืชเป็นอาหารหลัก พบในประเทศไทยเพียง 2 ชนิด หนึ่งในสัตว์ป่าหายาก และมีประชากรค่อนข้างน้อย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง