ส่องสัตว์โลก กระทิง นักสู้ผู้แข็งแกร่งประจำเอเชีย

กระทิง

กระทิง หากใครเคยดูสารคดี หรือเคยท่องเที่ยว ในป่าราบกว้างใหญ่ จะต้องพบกับเจ้าวัวกระทิง ตัวใหญ่ ดูช่างน่าเกรงขาม ซึ่งในปัจจุบัน กลายเป็นสัตว์ที่ถูกล่า จนใกล้สูญพันธุ์แล้ว เราจึงพามาศึกษาชีวิตของเจ้ากระทิง จากทั่วทวีปเอเชีย ทั้งลักษณะ พฤติกรรม ความสามารถพิเศษ และแหล่งชมกระทิงในไทย

กระทิง ข้อมูลทางนิเวศวิทยา

กระทิง (Gaur) วัวป่าชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์เท้ากีบ จัดอยู่ในวงศ์ตระกูล วัวและควาย Bovidae โดยเป็นสัตว์ป่าพื้นเมือง ถิ่นอาศัยในทวีปเอเชียใต้ และทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการเสนอจัดลำดับสายพันธุ์ โดยนักธรรมชาติวิทยา ชาวอังกฤษ ปัจจุบันมีสายพันธุ์ย่อย 3 ชนิด คือ Gaurus, Readei และ Hubbacki [1]

ลักษณะจำเพาะ กระทิง

วัวกระทิงขนาดใหญ่ โดยมีโครงสร้างใหญ่ และแข็งแรง มีสันนูนตรงหน้าผาก มีเขาใหญ่หนาแน่น เป็นโคนเขามีหน้าตัดรูปวงรี (ลักษณะเด่นที่แยกออกจากวัวได้ชัดเจน) และหูขนาดใหญ่ ส่วนมากจะเป็นขนสีน้ำตาลเข้ม บางสายพันธุ์สีน้ำตาลแดง หากเข้าสู่วัยแก่ จะเป็นขนเกือบสีดำเงางาม

โดยความยาว ตั้งแต่ส่วนหัวจรดลำตัว ประมาณ 250 – 330 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 142 – 220 เซนติเมตร สำหรับเพศผู้ จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย ซึ่งมีน้ำหนักตั้งแต่ 440 – 1,000 กิโลกรัม หรือบางตัวอาจมากถึง 1,500 กิโลกรัม (พบในประเทศอินเดีย)

อธิบายพฤติกรรม และการสืบพันธุ์

พฤติกรรมการใช้ชีวิต อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ประมาณ 8 – 11 ตัว โดยฝูงจะเดินเร่ร่อน เป็นระยะทางกว่า 2 – 5 กิโลเมตร / วัน ออกหากินในตอนกลางวันเป็นหลัก ระหว่างเวลา 6.30 – 8.30 น. เน้นกินพืช หญ้า สมุนไพร หน่ออ่อน และดอกหญ้า รวมแล้ว 32 ชนิด ทั้งยังกินอาหาร แตกต่างกันไปตามฤดูกาล

การสืบพันธุ์ของกระทิง เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เมื่ออายุครบ 2 – 3 ปี โดยเกิดขึ้นตลอดทั้งปี แต่มีการผสมพันธุ์สูงสุด ในช่วงเดือนธันวาคม – เดือนมิถุนายน หลังจากนั้นเพศเมีย เริ่มตั้งครรภ์ 275 วัน ออกลูก 1 – 2 ตัว / ครั้ง และอายุขัยของกระทิง อาจยาวนานมากถึง 30 ปี

เปิดเผยข้อเท็จจริง และแหล่งเข้าชม กระทิง

กระทิง

สัตว์ป่ามีเขาขนาดใหญ่แหลมคม ประเภท สัตว์บก วัวควายสายพันธุ์ใหญ่ที่สุด โดยพบจำนวนประชากร ของกระทิงทั่วโลก อัตราประมาณ 21,000 – 34,000 ตัว ส่วนมากอยู่ในประเทศอินเดีย สำหรับในประเทศ เคยมีประชากรน้อยกว่า 1,000 ตัว แต่ปัจจุบันพบเห็นได้น้อยมาก คาดว่ามีทั้งหมดไม่เกิน 150 ตัวแล้ว

รวม 7 ข้อเท็จจริง กระทิง

สำรวจข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับกระทิงในป่าธรรมชาติ อาจมีบางอย่างที่ยังไม่เคยรู้มาก่อน ดังนี้

  • ประสาทสัมผัสดี : มีประสาทสัมผัสรวดเร็ว รับมือกับศัตรูในระยะประชิดได้ มีประสาทการรับกลิ่นดี จากระยะไกลหลายเมตร ช่วยในการระบุตำแหน่งอาหาร และภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้น ทั้งยังมีประสาทการได้ยินไวมาก สามารถได้ยินเสียงเบา ๆ ในทุกสภาพแวดล้อมได้
  • ร่างกายแข็งแรงกำยำ : โครงสร้างที่แข็งแรงหนาแน่น พวกมันมักแสดง ความเป็นใหญ่ในธรรมชาติ โดยตัวที่แข็งแกร่งมากที่สุด จะได้ขึ้นเป็นผู้นำของฝูง
  • นักกีฬายอดเยี่ยม : สามารถวิ่งด้วยความเร็ว และกระโดดหมุนตัว เพื่อการเอาตัวรอดได้เป็นอย่างดี
  • ใช้เขาป้องกันตัว : หากถูกคุกคาม พวกมันจะใช้เขาแหลมคมและทรงพลัง ข่มขวัญของศัตรูทันที
  • การสื่อสารหลายทาง : สื่อสารกันด้วยเสียงร้อง (ความดังไกล 1 กม.) ภาษากาย และการดมกลิ่น
  • พฤติกรรมบอกทิศทาง : มีสัญชาตญาณ การเคลื่อนที่ระยะไกล สามารถค้นหาอาหาร ตามแหล่งน้ำ ที่พักอาศัยปลอดภัย และระบุตำแหน่ง ทางกลับบ้านได้ยอดเยี่ยม
  • วัวกระทิง มีหลากหลายสายพันธุ์ : โดยกระทิงสเปน เป็นกระทิงที่ดุดัน และทรงพลังมากที่สุด และกระทิงสกอตแลนด์ ค่อนข้างมีขนาดใหญ่มาก ทั้งยังสามารถเลี้ยงให้เชื่องได้ด้วย

ที่มา: 17 Facts About Bull [2]

พิกัดพบเจอในป่าของไทย

นอกจากเราจะเห็นฝูงกระทิง ในสารคดีสัตว์โลกต่าง ๆ สำหรับในป่าของไทย ก็สามารถชม หรือส่องสัตว์ป่าได้เช่นกัน จากการศึกษา ประชากรกระทิง ปี 2567 พบมีฝูงกระทิง เป็นจำนวนมากกว่า 30 ตัว ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ และคาดว่าเกิดการรวมกลุ่มกัน ประมาณ 60 ตัว

นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ จะได้เห็นทั้งกระทิงป่า ช้างป่า และ กวางป่า อีกมากมายหลายชนิด โดยติดต่อขอเข้าชม กับเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า ทางเบอร์โทร 044-666-209 ซึ่งในปัจจุบัน กระทิงป่าในไทย จัดอยู่ในสถานะ สัตว์ป่าคุ้มครอง ประเภท 2 และสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ [3]

สรุป กระทิง “Gaur”

กระทิง วัวกระทิงป่า แหล่งอาศัยในทวีปเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่างกายแกร่งกำยำ มีเขาใหญ่หนาแข็งแรง สำหรับป้องกันอันตราย ทั้งยังมีทักษะ ความสามารถพิเศษ โดยเฉพาะประสาทสัมผัสดี สื่อสารกันได้หลายทาง สามารถพบเห็นได้ในป่าของไทย แต่มีประชากรค่อนข้างน้อย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง