ค้างคาวขาวฮอนดูรัส สัตว์ป่าหน้าตาน่ารัก ช่วยลบภาพจำความน่ากลัว ของค้างคาวได้ไม่มากก็น้อย หลายคนมักรู้จักกันในชื่อของ ค้างคาวสร้างเต็นท์ แห่งแถบแคริบเบียน (Caribbean Tent-Making Bat) เราจะพามาทำความรู้จักเจ้าค้างคาวตัวน้อย สีขาวขนปุยกันให้มากขึ้น
ค้างคาวขาวฮอนดูรัส (Honduran White Bat) หรือที่เรียกกันว่า “ค้างคาวทำเต็นท์” สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค้างคาวสายพันธุ์ขนาดเล็ก ในวงศ์ Phyllostomatidae อยู่ในตระกูล Ectophylla โดยมีถิ่นกำเนิดที่ ประเทศฮอนดูรัส (Honduras) ประเทศนิคารากัว (Nicaragua) ประเทศคอสตาริกา (Costa Rica)
และทางทิศตะวันตก ของประเทศปานามา (Panama) จากระดับความสูง ของน้ำทะเล ประมาณ 700 เมตร ทั้งยังสามารถพบได้มาก ในแถบอเมริกาเหนือตอนใต้ ถึงแถบอเมริกาใต้ ซึ่งมีการค้นพบครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1892 นับเป็นสัตว์ป่ากินพืชชนิดพิเศษ โดยให้กำเนิดลูกค้างคาว เพียงแค่ 1 ตัว / ครั้ง เท่านั้น [1]
ลักษณะเด่นของ ค้างคาวฮอนดูรัส มีขนาดตัวที่ค่อนข้างเล็ก รูปร่างอ้วนกลม ความยาวเพียง 37 – 47 มิลลิเมตร โดยมีขนสีขาว เหมือนกับปุยฝ้ายนุ่ม ๆ ปกคลุมไปทั่วทั้งตัว มีหูและจมูกสีเหลืองสด อันมาจากการสะสม ของแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) อยู่ในปริมาณความเข้มข้นสูง
โดยกลไกของการสะสม เพียงพอต่อการสร้างสีผิว ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ทั้งยังแยกสีต่าง ๆ ออกจากอาหารได้ด้วย โดยเฉพาะผลไม้ ซึ่งเป็นการกักเก็บแคโรทีนอยด์ ให้อยู่ในรูปอิสระส่วนของตับ และเพื่อใช้ต่อสู้กับอาการเสื่อมโทรม ของจอประสาทตา ป้องกันความเสียหาย กับเรตินาได้ดี [2]
นอกจากจะมีสี ของหูและจมูกที่โดดเด่นแล้ว ยังมีพฤติกรรมการหาแหล่งอาศัย ที่แตกต่างไปจาก ค้างคาวทั่วไปเป็นอย่างมาก เพราะฮอนดูรัส ไม่ต้องการอาศัยอยู่ตามถ้ำ แต่ต้องการสร้างที่พักพิงของตัวเอง จากใบไม้สีเขียว แน่นอนว่าจะพบเห็นได้ง่าย เพราะการจับกลุ่มกันมากขึ้นด้วย
สำหรับอาหาร ของฮอนดูรัสขาว เป็นสัตว์กินพืชผักและผลไม้ โดยเฉพาะตระกูลเบอร์รี่ต่าง ๆ ออกหากินช่วงเวลากลางคืน และอาศัยสีขาวในการพรางตัว ช่วงตอนกลางวันได้เป็นอย่างดี ซึ่งมักอาศัยอยู่รวมกัน เป็นอาณานิคมขนาดเล็ก ซึ่งจะประกอบไปด้วย ตัวผู้ 1 ตัว และตัวเมีย อีกประมาณ 5 – 6 ตัว
ลักษณะการทำรัง หรือเรียกว่าการสร้างเต็นท์ จะใช้ใบไม้สีเขียวของ ต้นเฮลิโคเนีย (Heliconia) โดยค่อย ๆ กัดส่วนหัวของใบไม้ และพับส่วนปลาย ห่อเข้ามาหากันเป็นที่อาศัย จากนั้นฮอนดูรัสขาว จะเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในห่อ นอนกระจุกรวมกัน และห้อยตัวอยู่ภายใต้ใบ ประมาณ 6 – 7 ตัว
เพื่อเป็นการป้องกันตัวเอง จากภัยอันตรายด้านนอก ของการถูกล่า ทั้งยังเป็นแหล่งอาศัย ที่ช่วยป้องกันแดด ป้องกันฝนได้เป็นอย่างดี ซึ่งตามธรรมชาติ ใบไม้ที่ใช้ทำเต็นท์ จะต้องอยู่ห่างจากพื้นดิน ประมาณ 1.8 เมตร หากมีนักล่าเข้ามาใกล้บริเวณ ค้างคาวจะสามารถรู้ จากการสั่นของใบไม้ และบินหนีไปได้ทันที [3]
สัตว์ตัวน้อยสุดแปลกตา ที่ในประเทศไทย ไม่ค่อยเห็นกันมากนัก นับว่าเป็นค้างคาวหาพบได้ยากแล้ว และถูกเรียกว่าเป็น ค้างคาวตัวจิ๋ว ที่น่ารักมากที่สุดในโลกอีกด้วย ด้วยความน่ารัก ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หลายคนจึงอยากนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง แต่ก็มีข้อควรรู้อีกมากมาย ตามไปดูกันต่อเลย
จากความน่ารักขนปุย ของเจ้าค้างคาวฮอนดูรัส แน่นอนว่าหลายคน อยากนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง แต่ด้วยประชากรที่ค่อนข้างน้อย และหาพบได้ยาก จึงมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ เพราะเคยถูกขายในตลาดมืด ทำให้สามารถศึกษาเกี่ยวกับ ค้างคาวขาวได้เท่านั้น เพื่อให้มีชีวิตในธรรมชาติ และการขยายเผ่าพันธุ์ต่อไป
นอกจากนั้น จากกระบวนการทำงาน ของแคโรทีนอยด์ บ่งชี้ให้เห็นชัดว่าฮอนดูรัส สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ การรักษาดวงตาของคนได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 ทั้งการป้องกันความเสียหาย และการรักษาจอประสาทตาเสื่อม อย่างมีประสิทธิภาพ โดยค้างคาวฮอนดูรัส อาจมีการใช้กับงานวิจัย ในอนาคตเพิ่มเติม
Honduran White Bat ในปัจจุบัน ได้รับการประเมินว่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดบินได้ ที่ถูกคุกคามและเสี่ยงสูญพันธุ์ เนื่องจากว่ามีประชากร ลดลงกว่า 30% ในช่วงระยะเวลา 18 ปีผ่านมา มาจากสาเหตุของการ เปลี่ยนแหล่งที่อยู่อาศัย เพราะมนุษย์ทำเป็น พื้นที่การเกษตรมากขึ้น เพราะฮอนดูรัส ค่อนข้างอ่อนไหว กับที่อยู่เป็นพิเศษ และจำนวนมนุษย์ ที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ค้างคาวขาวฮอนดูรัส เจ้าค้างคาวสีขาวขนปุย ตัวอ้วนกลม พบได้ในฮอนดูรัส หรือประเทศเบลีซในปัจจุบัน ถูกขนานนามว่าเป็น ค้างคาวสร้างเต็นท์แคริบเบียน มีแหล่งอาศัยในธรรมชาติที่แปลกตา ด้วยการห้อยตัว อยู่ในใบไม้สีเขียว หน้าตาน่ารักคล้ายกับเจ้า หนูเจอร์บัว สัตว์เลี้ยงแปลก แห่งทะเลทราย