ชูการ์ไกลเดอร์ น้องตัวเล็กบินได้ใครก็ต้องรู้จัก หนึ่งในสัตว์เลี้ยงยอดนิยม สำหรับเป็นเพื่อนรักคลายเหงา ทำไมหลายคนถึงคลั่งรัก เจ้าตัวน้อยกันเหลือเกิน อยากรู้หรือไม่? ว่าแท้จริงแล้วคือตัวอะไรกันแน่ พาทุกคนมาสำรวจโลก ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีกระเป๋าหน้าท้อง สัมผัสความน่ารักกันแบบตัวเป็น ๆ
ชูการ์ไกลเดอร์ (Sugar Glider) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก อยู่ในกลุ่มของสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง จำพวกพอสซัม สำหรับเป็นที่อาศัยของลูกอ่อน จนกว่าจะถึงวัยโตเต็มที่ บางครั้งถูกเรียกว่า “จิงโจ้ร่อน หรือ กระรอกบิน” [1] โดยมีถิ่นกำเนิดจาก ทวีปออสเตรเลีย สามารถมีอายุขัย 4 – 9 ปี หรือสูงสุดถึง 15 ปี
ตามธรรมชาติของชูการ์ ไกลเดอร์ จะมีขนาดลำตัวเล็ก ความยาวตั้งแต่จมูกถึงปลายหาง ประมาณ 9 – 12 นิ้ว และมีน้ำหนักตัว ประมาณ 90 – 150 กรัม โดยตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีขนสั้นหนานุ่ม สามารถแบ่งออกได้หลายสี ทั้งสีเทา สีน้ำตาล สีผสมแถบสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้มตรงดวงตา ตลอดจนถึงด้านหลัง
สำหรับดวงตา มีลักษณะตาโปนกลมโต ใช้ในการมองเห็นตอนกลางคืน มีใบหูขนาดเล็ก ลักษณะสามเหลี่ยม ช่วยระบุตำแหน่งของเหยื่อ ในความมืดได้แม่นยำมากขึ้น ส่วนอุ้งเท้ามีด้วยกัน 5 นิ้ว มีกรงเล็บ และลักษณะโค้งงอ เพื่อไว้จับกิ่งไม้ได้เหนียวแน่น
นอกจากนั้นยังมีพังผืด อยู่บริเวณข้างลำตัว ตั้งแต่ข้อมือไปจนถึงข้อเท้า สามารถกางออกเพื่อลู่ลมขณะร่อน ทำให้สามารถบินร่อนสูงได้ ในระยะสั้นเพียงเท่านั้น จะไม่สามารถบินสูงได้เหมือนนก ทั้งยังสามารถควบคุม ทิศทางการบินได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
นิสัยโดยทั่วไปของ Sugar Glider เป็นสัตว์ชอบเข้าสังคม รักการอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรืออยู่ด้วยกันเป็นคู่ รวมถึงการอยู่ร่วมกับคน นิสัยมีความขี้เล่นตลอดเวลา กระตือรือร้น รักความสะอาด ชอบแบ่งปันอาหาร ไม่มีความดุร้าย แต่บางครั้งอาจโดนข่มขู่ หรือโดนทำร้ายจากกรงเล็บ
หากมีสิ่งเร้าภายนอก ที่ทำให้รู้สึกเป็นอันตรายเท่านั้น สำหรับด้านการสื่อสาร สามารถทำได้โดยการเปล่งเสียงร้อง ส่งสัญญาณ หรือปล่อยกลิ่น คล้ายกับสัตว์หากินตอนกลางคืน เพราะกลิ่นจะช่วยให้ระบุตำแหน่ง หรืออาณาเขตได้ชัดเจน รวมถึงเสียงขู่ด้วยเช่นกัน
Sugar Glider สัตว์ตัวน้อยชอบเข้าสังคม จากออสเตรเลียและปาปัวนิวกินี ถิ่นฐานจากธรรมชาติ หนึ่งในสัตว์ออกหากินตอนกลางคืน มีข้อควรทราบสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง เพราะการเลี้ยงดูแลในด้านต่าง ๆ ส่งผลต่อสุขภาพ และความสุขของสัตว์อย่างแน่นอน พามารู้วิธีการเลี้ยง รวมถึงราคาของสายพันธุ์ต่าง ๆ
การเลี้ยงจัดแหล่งที่อยู่อาศัย แนะนำให้เลี้ยงในกรง ควรเป็นกรงลวดแบบป้องกันสนิม มีพื้นที่สำหรับปีนป่าย หรือการกระโดดคว้า ขนาดอย่างน้อย 36 x 24 x 40 นิ้ว ซึ่งเน้นกรงที่มีความสูง เป็นปัจจัยหลัก ทั้งสภาพแวดล้อมภายในกรง ควรเลียนแบบธรรมชาติให้มากที่สุด และมีแหล่งน้ำใกล้ที่พักอาศัยด้วย
อาหารสำหรับตัวชูการ์ ควรเป็นเนื้อสัตว์ตามฤดูกาล และสภาพอากาศ หรือจำพวกแมลง ตัวอ่อน (จิ้งหรีด หนอนยักษ์ หนอนขี้ผึ้ง ไส้เดือน) รวมถึงสามารถกิน ละอองเกสร ยางไม้ ดอกของพืช และน้ำหวาน นอกจากนั้นควรได้รับสารอาหาร จากผักและผลไม้ อย่างแตงกวา พริกหยวก มะละกอ กล้วย เป็นต้น
สำหรับวิธีการจับหรืออุ้ม แนะนำว่าให้เกาะบนไหล่ หรือช้อนตัวให้อยู่ในกระเป๋าเสื้อ หรือกระเป๋าขนาดเล็ก และไม่ควรอย่างยิ่ง ในการจับคอหรือหางโดยตรง ควรมีการให้ออกกำลังกาย โดยการเล่นอย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมง / วัน ใช้เวลาอยู่ด้วยกันมาก จะยิ่งสร้างความสุขมากขึ้น มากกว่าปล่อยให้อยู่ตัวเดียว [2]
ชูการ์มีหลากหลายสายพันธุ์ นิยมเลี้ยงกันทั่วไป ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ มีลักษณะทางกายภาพต่างกันไป แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ยอดนิยมได้ ดังต่อไปนี้
ที่มา: ทำความรู้จักชูการ์ ไกลเดอร์ จิงโจ้ยอดนักบิน [3]
ชูการ์ไกลเดอร์ เพื่อนรักนักร่อน มีกระเป๋าหน้าท้องบินได้ จากทวีปออสเตรเลีย ถิ่นกำเนิดเดียวกันกับ กิ้งก่ามังกรเครา สัตว์เลี้ยง Exotic ที่หลายประเทศนิยมเลี้ยง ด้วยความน่ารักขี้เล่น สำหรับเป็นเพื่อนแก้หงา เข้ากับคนได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีหลากหลายสายพันธุ์ ราคาตั้งแต่ 2,000 – 100,000 บาท ลักษณะภายนอก แตกต่างกันไปตามความชอบ