ช้างแอฟริกา สัตว์ป่าที่มีขนาดใหญ่ ดูน่าเกรงขาม ถือกำเนิดมาตั้งแต่ ยุคโบราณหลายล้านปี หากย้อนไปในสมัยอดีต ช้างมีชีวิตอยู่เพียงแค่ 2 ทวีป ในโลกเท่านั้น และช้างป่าแอฟริกาเมื่ออดีต มีจำนวนประชากรค่อนข้างเยอะ แตกต่างจากช้างป่าเอเชีย ของบ้านเราอย่างมาก จะน่าสนใจแค่ไหนติดตามกันเลย
ช้างแอฟริกา (African Elephant) หรือเรียกว่า ช้างแอฟริกัน ช้างป่าที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในวงศ์ของ Elephantidae ได้รับการอธิบาย ทางวิทยาศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1797 โดยนักธรรมชาติวิทยา ชาวเยอรมัน ซึ่งมีการค้นพบซากฟอสซิล มีชีวิตมาตั้งแต่ยุคไมโอซีนตอนปลาย (6 – 7 ล้านปีก่อน) [1]
วิวัฒนาการของช้างป่า มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ระหว่างช้างมีชีวิต และช้างสูญพันธุ์ โดยในปัจจุบัน มีสายพันธุ์ช้างที่ยังมีชีวิต ทั้งหมด 3 ชนิด แหล่งอาศัยกระจายตามพื้นที่ ดังต่อไปนี้
– ช้างอินเดีย : พบมากในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทย กระจายสายพันธุ์มากที่สุด
– ช้างศรีลังกา : พบเฉพาะในประเทศศรีลังกา มีขนาดใหญ่ และผิวหนังสีคล้ำมากที่สุด
– ช้างสุมาตรา : พบแค่ในเกาะสุมาตรา ของประเทศอินโดนีเซีย สถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ปัจจุบันเหลือน้อยกว่า 3,000 ตัว
– ช้างบอร์เนียว : ช้างแคระบอร์เนียว มีขนาดเล็กที่สุดในตระกูลช้าง กระจายสายพันธุ์ตามเกาะบอร์เนียว ของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน
ที่มา: ช้างทั่วโลก [2]
ช้างป่าแอฟริกา มีขนาดใหญ่กว่าช้างเอเชีย โดยมีความสูงเฉลี่ย 3.64 เมตร และมีน้ำหนัก ประมาณ 5,455 กิโลกรัม ในขณะที่ช้างเพศเมีย มีน้ำหนักน้อยกว่า ประมาณ 3,636 – 4,545 กิโลกรัม โดยมีใบหูขนาดใหญ่และกว้าง เพื่อใช้ระบายความร้อน งาของเพศผู้ จะสั้นและหนาแน่น ส่วนงาของเพศเมีย จะเรียวยาวและบาง
ส่วนตรงหน้าผากมี 1 โหนก แต่ช้างเอเชียจะมี 2 โหนก มีขนาดหัวค่อนข้างโต แต่มีขนาดสมองเล็กกว่าช้างเอเชีย โดยมีอายุขัย 50 – 70 ปี ชอบอยู่รวมกันเป็นครอบครัว เป็นสัตว์กินพืช มีความฉลาดสูง (สมองซับซ้อนลักษณะร่วมกับมนุษย์ ลิง และ โลมา) ทั้งยังใช้เวลานอนหลับต่ำที่สุด เฉลี่ยเพียง 2 ชั่วโมง / วัน เท่านั้น
สัตว์ป่าที่จัดอยู่ในประเภท สัตว์บก เติบโตมาด้วยการถูกล่า ตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งจากสัตว์นักล่าและมนุษย์ เนื่องด้วยขนาดตัวที่ใหญ่ ง่ายต่อการล่า ทั้งยังมีงาช้างสวยงาม ส่งผลให้ช้างป่ามีวิวัฒนาการต่าง ๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และการเอาตัวรอด แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่ได้ทำให้ช้าง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเลย
การล่าช้าง เกิดขึ้นมาหลายศตวรรษ สาเหตุมาจากการสูญเสียถิ่นอาศัย ความขัดแย้งของมนุษย์ การล่างาช้างเป็นเครื่องประดับ และวิกฤตสภาพอากาศแห้งแล้ง โดยในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 รายงานพบประชากร ช้างป่าแอฟริกัน จำนวนหลายล้านตัวอยู่ทั่วทวีป แต่ในปัจจุบัน มีจำนวนลดลง เหลือเพียงราว ๆ 350,000 ตัว
ในขณะเดียวกัน ช้างเอเชียมีจำนวนน้อยกว่ามาก โดยมีประชากรแค่ 200,000 ตัว และค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบเห็นน้อยกว่า 40,000 ตัว แล้วในป่าธรรมชาติ และแน่นอนว่า ช้างเป็นสิ่งมีชีวิตที่นับว่า ค่อนข้างเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ไม่น้อยไปกว่าสัตว์ชนิดอื่นอีกด้วย [3]
ตามรายงานจาก สหภาพนานาชาติ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ช้างป่าแอฟริกา จัดอยู่ในบัญชีแดง สายพันธุ์ที่กำลังถูกคุกคาม ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 และอยู่ในประเภท สัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง เนื่องจากมีจำนวนลดลงมากถึง 86% ในช่วง 3 ทศวรรษผ่านมา
โดยเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญ ต่อระบบนิเวศอย่างมาก ซึ่งในช่วงฤดูแห้งแล้ง ช้างป่าจะทำการขุดหน้าดินแม่น้ำ เพื่อหาน้ำดื่ม จึงส่งผลให้เป็นประโยชน์ ต่อสัตว์ป่าหลายชนิด ทั้งนี้ช้างยังช่วยกระจายพันธุ์พืช รวมถึงมูลของช้าง ยังสามารถเป็นที่พักอาศัย ของแมลงปีกแข็งหลายชนิดเช่นกัน
ช้างแอฟริกา สัตว์ป่าขนาดใหญ่ ผู้พิทักษ์ผืนป่าและธรรมชาติ แหล่งอาศัยในทวีปแอฟริกา มากกว่าช้างเอเชีย 60 – 70% โดยมีสายพันธุ์หลัก 3 ชนิดทั่วโลก ปัจจุบันเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ และจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง เหมือนกับช้างเลี้ยงทั่วไป