คู่มือสัตว์เลี้ยง ตั๊กแตนปาทังกา แค่หญ้าก็เลี้ยงได้ตลอดชีวิต

ตั๊กแตนปาทังกา

ตั๊กแตนปาทังกา แมลงที่หลายคนมองข้าม ว่าพวกมันสามารถ นำมาเป็นสัตว์เลี้ยงได้ แต่อาจไม่ใช่เพื่อความสวยงาม ซึ่งล้วนมาจากความชอบ และการสร้างรายได้ นำมาทำอาหารกันเป็นหลัก โดยการเลี้ยงตั๊กแตนศัตรูพืชนั้นง่ายมาก แค่กินหญ้าชนิดเดียว ตลอดชีวิตจริงหรือไม่ เราจึงพามาทำความรู้จัก กันให้มากขึ้น

ตั๊กแตนปาทังกา สัตว์เลี้ยงคนนิยมจากอินเดีย

ตั๊กแตนปาทังกา (Bombay Locust) หรือเรียกว่า ตั๊กแตนบอมเบย์ (Patanga Succincta) เป็นแมลงขาปล้อง จำพวกตั๊กแตน พบมากในประเทศอินเดีย และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแพร่กระจายสายพันธุ์ ครอบคลุมมาถึงทวีปเอเชีย มักอยู่ในที่ราบหญ้า และทุ่งหญ้ามีพุ่มไม้ [1]

ในบางพื้นที่ตั๊กแตนกลายเป็น ศัตรูพืชท้องถิ่น ในด้านการเกษตร เพราะตัวอ่อน และตัวโตเต็มวัย ต้องอาศัยการกัดกินใบ หรือพืชผลทางการเกษตร อย่างเช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย กล้วย พืชตระกูลปาล์ม และพืชตระกูลถั่ว ส่งผลต่อผลผลิตจำนวนมาก จึงเกิดการควบคุม ประชากรตั๊กแตน ถูกนำมาเลี้ยงกันมากขึ้น

ลักษณะกายภาพ ตั๊กแตนปาทังกา

ตั๊กแตนขนาดใหญ่ โดยมีลำตัวเรียวยาว ประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร หัวค่อนข้างกลม ตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน ผสมกับสีน้ำตาลแก่ ลักษณะปากแบบกัด หนวดค่อนข้างสั้นกว่าลำตัว ส่วนของปีกคู่หน้า มีจุดสีเหลืองอ่อน ขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน กระจายอยู่ทั่วทั้งปีก

ส่วนขาหลังเป็นหนาม และไม่มีอวัยวะการทำให้เกิดเสียงใด ๆ แต่จะมีขาหลัง ที่แข็งแรงเป็นพิเศษ เหมาะแก่การกระโดด ซึ่งอาจเกิดเสียงเล็กน้อย ที่มาจากการดีดของขาได้ นอกจากนั้น ขนาดของตัวเมีย จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ และอวัยวะในการสืบพันธุ์ สั้นกว่าอีกด้วย

พฤติกรรมและวงจรชีวิต

ตั๊กแตนบอมเบย์ พฤติกรรมตามธรรมชาติ จะชอบจับกลุ่มรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ โดยใช้เวลาในตอนกลางวัน ออกหาอาหาร และเริ่มเคลื่อนตัวกัน ในตอนกลางคืน ไปยังบริเวณทุ่งหญ้า ทุ่งข้าว หรือทุ่งนา สำหรับการวางไข่ การเจริญเติบโต พัฒนาเป็นตัวโตเต็มวัย พร้อมกัดกินใบ และทำลายพืชทางเศรษฐกิจมากมาย

วงจรชีวิตของตั๊กแตน ระยะฟักตัวของไข่มีอายุ 35 – 41 วัน โดยฟักเป็นตัวอ่อน ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม หรือช่วงต้นเดือนมิถุนายน ระยะตัวอ่อน 56 – 81 วัน จะมีสีเขียวเหลือง ซึ่งตัวอ่อนลอกคราบ 7 – 8 ครั้ง และเข้าสู่ระยะโตเต็มวัย 8 – 9 เดือน สามารถเริ่มผสมพันธุ์ได้ ในช่วงเดือนเมษายน พร้อมกับการวางไข่ใต้ดิน 1 – 3 ฝัก จำนวนไข่ประมาณ 96 – 152 ฟอง [2]

ตั๊กแตนปาทังกา นักทำลายพืชผลสู่อาหารจานโปรด

ตั๊กแตนปาทังกา

สัตว์เลี้ยงเพื่อการสร้างอาชีพ และเลี้ยงเพราะความชอบ หลายคนนิยมเลี้ยงกันในปัจจุบัน โดยส่วนมากนำมาทำเป็นอาหาร ทั้งในไทยและต่างประเทศ แน่นอนว่าเกิดจาก วงจรชีวิตของตั๊กแตน ที่ทำลายพืชผลทางการเกษตร ซึ่งจะมีวิธีเลี้ยงอย่างไรให้ถูกต้อง และราคาแพงหรือไม่ เรามัดรวมข้อมูลมาให้ มือใหม่ทุกคนแล้ว

วิธีเลี้ยงตั๊กแตน ปาทังกา

จัดเตรียมโรงเรือนเพาะเลี้ยง ควรเป็นโรงเรือนโครงเหล็ก หรือทำจากท่อพีวีซี เหมือนกับโรงเรือนปลูกผัก โดยมีพลาสติกคลุมด้านบน เพื่อป้องกันฝน และความชื้น ตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง มีแสงแดดส่องถึง เพราะเป็นสัตว์ที่ไวต่อสภาพอากาศ และไม่ชอบโดนฝน เป็นอย่างมาก

อุณหภูมิความเป็นอยู่ อย่างเหมาะสม ควรอยู่ในระหว่าง 25 – 35 องศาเซลเซียส มีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดส่องเข้าได้ ทั่วถึงตลอดทั้งวัน และห้ามพ่นสารเคมีโดยเด็ดขาด ซึ่งถ้าหากในช่วงฤดูฝน แนะนำว่าให้เปิดไฟในโรงเรือน เพื่อลดความชื้นได้เป็นอย่างดี

อาหารสำหรับตั๊กแตน เป็นสัตว์กินพืชเลี้ยงง่าย สามารถให้กินหญ้าชนิดเดียวได้เลย ส่วนมากนิยมเป็น หญ้าอัลฟัลฟ่า เพียงพอต่อการเจริญเติบโตแล้ว หรือจะเป็นผักผลไม้ชนิดอื่น สามารถทดแทนได้ อย่างเช่น ผักกาดหอม ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ฟักทอง ใบมะพร้าว ถั่วเหลือง เป็นต้น

รายละเอียดราคาตั๊กแตน ปาทังกา

ราคาขายของตั๊กแตน ปาทังกา จากฟาร์มเพาะพันธุ์ ส่วนมากส่งให้กับ ร้านขายแมลง ร้านอาหาร หรือตลาดชุมชน โดยขายเป็นตัวโตเต็มวัย มีราคาประมาณ 450 – 500 บาท / กิโลกรัม และ ขายเป็นไข่ตั๊กแตน มีราคาประมาณ 1,000 บาท / ขีด สามารถจัดส่งได้ทั่วประเทศ

สำหรับรายได้ จากการขายของผู้เลี้ยง โดยตัวตั๊กแตนปาทังกา ราคาประมาณ 500 บาท / 1 กิโลกรัม ไข่ตั๊กแตนปาทังกา ราคาประมาณ 10,000 บาท / 1 กิโลกรัม และตั๊กแตนปาทังกา แบบทอดจำหน่าย ราคาประมาณ 120 บาท / 100 กรัม ซึ่งผู้ขายลงทุนเลี้ยง เพียงครั้งเดียว สามารถสร้างรายได้ได้ตลอด [3]

สรุป ตั๊กแตนปาทังกา “Bombay Locust”

ตั๊กแตนปาทังกา สัตว์เลี้ยงสำหรับการสร้างอาชีพ หรือนิยมเลี้ยงกันด้วยความชอบ เหมือนกับ กุ้งเครย์ฟิช เพราะสามารถเลี้ยงง่าย โดยใช้เวลาค่อนข้างน้อย ในการดูแลเอาใจใส่ เพียงแค่มีพื้นที่เพียงพอ ต่อการเลี้ยงหลายตัว สามารถแพร่สายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังเป็นแหล่งอาหาร ให้โปรตีน และพลังงานสูงอีกด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง