นกกระจอกเทศ สัตว์ปีกขนาดใหญ่ของโลก หนึ่งในสัตว์ดึกดำบรรพ์ มีชีวิตอยู่มานานหลายพันปี ขึ้นชื่อว่าเป็น “นกวิ่งเร็วที่สุดบนบก” นิยมเลี้ยงกันทั่วโลก ทั้งการบริโภคเนื้อ การกินไข่ หรือใช้ส่วนอื่นของร่างกาย เป็นเครื่องประดับตกแต่ง สามารถเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้ ไม่กระจอกอย่างที่คิด
นกกระจอกเทศ (Ostrich) นกขนาดใหญ่ ประเภท สัตว์ปีกบินไม่ได้ หรือเรียกว่ากลุ่ม นกแรทไทต์ (Ratite) จัดอยู่ในชั้นของ Palaeognathae เช่นเดียวกับ นกอีมู นกคาสโซวารี และนกกีวี โดยนกกระจอกเทศ เป็นสัตว์พื้นเมืองในคาบสมุทรเอเชีย ค้นพบว่ากำเนิดมา ตั้งแต่ยุคโบราณ ประมาณ 33.9 – 56 ล้านปีก่อน
ปัจจุบันพบอยู่ในแหล่งอาศัย เฉพาะป่าเปิดโล่ง สภาพแวดล้อมแห้งแล้ง และป่ากึ่งแห้งแล้ง อย่างเช่น ทุ่งหญ้าสะวันนา แบ่งเป็น 2 ชนิดหลัก คือ นกกระจอกเทศทั่วไป จากถิ่นกำเนิดทวีปแอฟริกาใต้ และ นกกระจอกเทศโซมาลี จากทวีปแอฟริกาตะวันออก [1]
ลักษณะทางกายภาพ ของนกกระจอกเทศ มีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ และหนักมากที่สุด โดยนกกระจอกเทศโตเต็มวัย น้ำหนักประมาณ 63.5 – 160 กิโลกรัม ความสูงประมาณ 2 – 2.5 เมตร ซึ่งเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย ลักษณะของเพศผู้ ขนเป็นสีดำ ส่วนเพศเมีย ขนเป็นสีน้ำตาลเทาอ่อน
รูปลักษณ์เป็นนกคอยาว ตากลมโต ซึ่งเพศผู้จะมีลำคอ หย่อนยานกว่า หัวเล็ก และหัวล้านไม่มีขน ปากแบนแหลมกว้างมาก ส่วนขากับโคนขา ลักษณะเรียวยาว แข็งแรง และไม่มีขนปกคลุม ทั้งยังมีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้วเท่านั้น เพื่อใช้ความเร็วฝีเท้าในการวิ่ง 60 – 70 กิโลเมตร / ชั่วโมง และสามารถมีอายุขัยยืนยาวได้ 65 – 75 ปี
การผสมพันธุ์นกกระจอกเทศ หากอยู่ในธรรมชาติ จะถึงวัยผสมพันธุ์ ประมาณ 3 – 4 ปีขึ้นไป แต่ถ้าหากเป็นนกเลี้ยง จะอยู่ประมาณ 2 ปีครึ่งขึ้นไป โดยอัตราส่วนเพศผู้ 1 ตัว สามารถผสมพันธุ์กับเพศเมียได้ 1 – 3 ตัว ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงอากาศเย็น และมีความแห้งแล้ง ระหว่างเดือนตุลาคม – เดือนมีนาคม
การฟักไข่และการดูแล สำหรับนกเลี้ยงในฟาร์ม ไข่ที่เพิ่งเก็บออกมา ต้องทำการรมควันเพื่อฆ่าเชื้อ และนำไปเก็บในอุณหภูมิ 20 – 22 องศาเซลเซียส ระยะเวลาเก็บไม่เกิน 7 วัน จากนั้นนำมาปรับตัว ด้วยอุณหภูมิปกติ 8 – 10 วัน โดยใช้เวลาการฟักไข่ 41 – 47 วัน ในอุณหภูมิ 35 – 36 องศาเซลเซียส และความชื้น 40%
นอกจากนี้ การผสมพันธุ์ในคอกที่เหมาะสม ควรมีรั้วกั้นคอก ระยะห่างมากกว่า 1 เมตร เพื่อป้องกันอันตราย จากการทำร้ายกัน ของพ่อแม่พันธุ์ ที่อยู่กันคนละคอกด้วย และควรจดบันทึก ข้อมูลการฟักไข่อย่างละเอียด รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการเลี้ยง และจัดการฟาร์มได้ดี
การเลี้ยงนกกระจอกเทศ เริ่มต้นขึ้นในทวีปแอฟริกา จากการทำฟาร์ม ซึ่งในปัจจุบัน หลายประเทศสามารถ เลี้ยงนกกระจอกเทศได้ มากกว่า 5,000 ฟาร์มทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย โดยพื้นที่เหมาะสมแก่การเลี้ยง เป็นภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีอากาศร้อน และความชื้นต่ำ
โดยการเลี้ยงจะเหมือนกับ สัตว์เศรษฐกิจทั่วไป เพราะสามารถให้ผลผลิตได้สูง ทั้งการบริโภคเนื้อ (โปรตีนสูง-ไขมันต่ำ) ไข่ (ต้มและทอด) ส่วนการใช้หนัง (กระเป๋า-เสื้อผ้า) ขน (เครื่องประดับ-ไม้ปัดฝุ่น) และไขมัน (น้ำมันสกัด) มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งมีต้นทุนในการผลิต จากค่าอาหาร 60 – 70%
วิธีเลี้ยงนกกระจอกเทศ แนะนำเป็นพื้นที่แปลงขนาดกว้าง โดยมีโรงเรือน ขนาดประมาณ 3 x 5 เมตร และความสูงของหลังคา มากกว่า 3 เมตร ซึ่งต้องประกอบด้วย คอกเลี้ยง สำหรับการเลี้ยงตามอายุและขนาดตัว รางน้ำอาหาร พื้นดินอัดแน่น พร้อมทับด้วยทรายสะอาดทั่วโรงเรือน
อาหารและโภชนาการ เป็นสัตว์กินพืช รวมถึงแมลง หนอน และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ซึ่งสามารถย่อยอาหารกากใยได้สูง 40 – 60% และต้องการอาหารประเภท โปรตีน แป้ง ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำสะอาด 9 – 12 ลิตร / วัน ทั้งยังสามารถกินอาหารข้น ได้ในปริมาณ 2 – 3% ต่อน้ำหนักตัว [2]
สำหรับราคาของนกกระจอกเทศ แต่ละสายพันธุ์ มีราคาแตกต่างกันตามอายุ รายละเอียดดังต่อไปนี้
ที่มา: นกกระจอกเทศ เลี้ยงได้ไหม [3]
นกกระจอกเทศ นกดึกดำบรรพ์ ดำรงชีวิตอยู่มากกว่า 33 ล้านปี ฉายาเจ้านกนักวิ่งเร็วบนบก ความเร็วเกือบ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นสัตว์ป่านิยมเลี้ยงในฟาร์ม ด้วยอายุขัยยาวนานกว่า 75 ปี หนึ่งในสัตว์เศรษฐกิจของไทย สามารถเลี้ยงง่าย ใช้ในการบริโภค และทำผลิตภัณฑ์มากมาย