สำรวจ นกกระเต็น จอมยุทธล่าปลาแห่งลำธาร

นกกระเต็น

นกกระเต็น เพลิดเพลินตามประสา คนชอบดูนก กับนกสีสันฉูดฉาด มาพร้อมความน่ารักสดใส ของเจ้ากระเต็นตัวเล็ก ปากแหลมเหมือนใบมีด ชอบกินปลาเป็นอาหาร รวมถึงสัตว์ขนาดเล็กชนิดอื่น เป็นนกที่มีความสามารถพิเศษ กระจายอยู่ในหลายประเทศ ใครพบเห็นเป็นต้อง หยุดยืนมองกันแน่นอน

ประวัติความเป็นมา นกกระเต็น

นกกระเต็น (Kingfisher) นกขนาดเล็ก – ขนาดกลาง สีสันสวยงาม จัดอยู่ในอันดับ Coraciiformes กระจายสายพันธุ์อยู่ทั่วโลก โดยพบมาก ในป่าเขตร้อน และ ป่าลึกใกล้แหล่งน้ำสงบ ของทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และ ภูมิภาคโอเชียเนีย ได้รับการแนะนำสายพันธุ์ โดยนักวิชาการ ชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1815 [1]

สำหรับชื่อวิทยาศาสตร์ (Alcedo Atthis) มาจากตำนานเทพเจ้ากรีก กล่าวว่านกกระเต็น จะทำรังอยู่ใกล้กับทะเลเปิด ทำให้เทพเจ้า มอบพลังการสงบน้ำ ให้กับบรรดานกกระเต็น เพื่อง่ายต่อการทำรัง หรืออีกตำนาน ในกลุ่มดาวลูกไก่ กล่าวว่าคู่รักคู่หนึ่ง ที่จมน้ำด้วยเรืออับปาง เทพเจ้าจึงชุบชีวิต ให้ฟื้นขึ้นมาเป็นนกกระเต็น

จำแนกชนิดของ นกกระเต็น

การจำแนกสายพันธุ์ ของนกกระเต็น มีวิวัฒนาการหลากหลาย ที่มีต้นกำเนิดมาจาก ภูมิภาคอินโดมาเลย์ ตั้งแต่สมัย 27 ล้านปีก่อน ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 6 วงศ์ย่อย ดังต่อไปนี้

  • Meropidae : นกกินน้ำผึ้ง (31)
  • Brachypteraciidae : นกตะขาบอินเดีย หรือเรียกว่า นกลูกกลิ้งดิน (5)
  • Coraciidae : นกลูกกลิ้ง (13)
  • Todidae : นกโทดีส (5)
  • Momotidae : นกมอตมอต (14)
  • Alcedinidae : นกกระเต็นหัวขวาน (118)

คำอธิบายลักษณะภายนอก

ลักษณะทางกายภาพ มีทั้งตัวเล็ก และตัวใหญ่ โดยกระเต็นตัวเล็กที่สุด คือ กระเต็นแคระแอฟริกา (Ispidina Lecontei) ความยาวลำตัวเฉลี่ย 10 เซนติเมตร น้ำหนัก 9 – 12 กรัม ส่วนกระเต็นตัวใหญ่ที่สุด คือ กระเต็นยักษ์แอฟริกา (Megaceryle Maxima) มีความยาวเฉลี่ย 42 – 46 เซนติเมตร และ น้ำหนัก 255 – 426 กรัม

สำหรับขนของนก กระเต็น มีสีสันสดใส ส่วนใหญ่เป็นสีเขียว และสีน้ำเงิน มีจะงอยปากยาวแหลม ม่านตาสีน้ำตาลเข้ม มองเห็นการแยกแยะสีดีเยี่ยม ทั้งยังประเมิน ความลึกใต้น้ำแม่นยำ เพราะมีเยื่อสะท้อนแสง ปกคลุมดวงตา สามารถป้องกันดวงตา หากตกลงไปในน้ำได้

ข้อมูลสำหรับการศึกษา นกกระเต็น

นกกระเต็น

นกป่าตัวน้อย สีสันหลากหลาย อยู่ในประเภท นกประจำถิ่น หลายประเทศ ของทวีปเอเชีย และแอฟริกา โดยสายพันธุ์ที่พบในไทย จะมีทั้งนก กระเต็นลาย กระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล กระเต็นใหญ่ธรรมดา กระเต็นแดง กระเต็นอกขาว กระเต็นหัวดำ (นกอพยพ) กระเต็นสร้อยคอสีน้ำตาล (นกหายาก) และ นกกินเปี้ยว

ความสามารถโดดเด่นนก กระเต็น

แน่นอนว่านอกจาก สีขนสวยงามแล้ว นกชนิดนี้มีความสามารถ ในการจับปลาเก่งกาจ ด้วยการดิ่งตัว ลงไปในน้ำหรือลำธาร และกระพือปีก เร่งความเร็วขึ้นมา กับปลาตัวเล็ก ในปากหลายตัว จึงมักถูกเรียกว่า “นกกินปลา” แต่บางชนิด ไม่ใช่นกกินปลา มักชอบกินสัตว์เลื้อยคลาน และ จับแมลงกินกลางอากาศ

สำหรับความสามารถ ในการเลี้ยงลูกนก ค่อนข้างเป็นงานหนัก เพราะต้องคาบปลา มาให้ลูกนก 4 – 5 ตัว กินปลาทุกวัน ประมาณ 60 – 70 ตัว และไม่รวมกับของพ่อแม่ ที่ต้องหากินเองอีกด้วย ทั้งนี้หากพ่อหรือแม่ ตัวหนึ่งตายไป นกกระเต็นสามารถ เลี้ยงลูกเพียงลำพัง จนกว่าจะฟักเป็นตัว พร้อมออกหากินเองได้ [2]

สถานภาพ และพิกัดพบเจอในไทย

สถานะนกกระเต็น ปัจจุบันถูกมองว่าเป็น สิ่งมีชีวิตถูกคุกคาม เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ ที่อาศัยอยู่บนเกาะ ซึ่งถูกคุกคาม จากการสูญเสีย ถิ่นอาศัยเป็นวงกว้าง จากการถางป่า และความเสื่อมโทรมของป่า และทำให้บางสายพันธุ์ (กระเต็นมาร์เกซาน) ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งแล้ว

วงศ์นกกระเต็นในไทย จะไม่ค่อยพบเห็นง่าย ๆ และมีประชากรน้อย ซึ่งมีแหล่งอาศัยอยู่ใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และ ภาคตะวันตก [3] โดยรายงานการพบเจอ อย่างเช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวัดไผ่ล้อม อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และ เชียงดาว เป็นต้น

สรุป นกกระเต็น “Kingfisher”

นกกระเต็น ราชาแห่งนกล่าปลา มีทั้งชนิดกินปลา กับชนิดกินแมลงเป็นอาหาร แหล่งอาศัยหลักในเอเชีย และแอฟริกา สีสันหลากหลายสวยงาม หากใครมีโอกาสได้เห็น ไม่ว่าจะเป็นในป่า อุทยาน หรือแม้แต่สวนสาธารณะ จะต้องเพลิดเพลิน กับการใช้ชีวิต ในระบบนิเวศธรรมชาติ อย่างละสายตาไม่ได้ทีเดียว

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง