นกกระเรียนไทย ความรู้เกี่ยวกับนกกระเรียนสายพันธุ์ไทย สัตว์ป่าสงวนที่ไม่พบในประเทศไทย มานานหลายสิบปี จนมีการหวนคืนชีวิต สู่ผืนป่าธรรมชาติในไทย ให้กลับมามีชีวิตชีวา ทั้งการสำรวจอัตราประชากร การทดลองเพาะพันธุ์ และการอนุรักษ์ ที่จะทำให้เราได้รู้จัก นกกระเรียนกันอีกครั้ง
นกกระเรียนไทย (Eastern Sarus Crane) นกน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์ Gruidae พบแหล่งอาศัยบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ชุ่มน้ำ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนุทวีปอินเดีย และประเทศออสเตรเลีย เป็นนกที่สามารถ บินได้สูงที่สุดในโลก ถูกอธิบายครั้งแรก โดยนักพฤกษศาสตร์ ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ. 2301
วิวัฒนาการจากซากดึกดำบรรพ์ ดำรงชีวิตมานานกว่า 20 ล้านปี ในปัจจุบันนกกระเรียน เหลืออยู่ในป่าธรรมชาติ ประมาณ 15,000 – 20,000 ตัว (จากการประเมิน เมื่อปี พ.ศ. 2552) โดยสถานภาพในประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติ ปี พ.ศ. 2535 และสัตว์ป่าเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ [1]
นกกระเรียนขนาดใหญ่ มีลำตัวและปีกเป็นสีเทา ส่วนคอตอนบนถึงหัว เป็นตุ่มหนังสีแดง คอยาวเหยียดตรง ดวงตาสีแดง ปากแหลม และขายาวเป็นสีชมพู โดยเพศผู้จะตัวใหญ่กว่า เพศเมียเล็กน้อย ซึ่งมีขนาดความสูง ประมาณ 2 เมตร ความยาวช่วงปีก 2.2 – 2.5 เมตร และน้ำหนัก 6.8 – 8 กิโลกรัม
สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย ดังต่อไปนี้
ที่มา: นกกระเรียน [2]
ธรรมชาติของนกกระเรียน มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ 50 – 70 ตัว สื่อสารกันด้วยการส่งเสียงร้อง ทั้งในตอนจับคู่ผสมพันธุ์ การประกาศอาณาเขต การข่มขู่ศัตรู หรือการเตือนภัย โดยจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เมื่ออายุครบ 3 – 5 ปี เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เดือนกรกฎาคม – เดือนกันยายน และมีรักเดียว จนกว่าจะตายจากกัน
สำหรับการวางไข่ เพศเมียจะวางไข่ ประมาณ 1 – 3 ฟอง (แต่มักเหลือชีวิตรอด เพียงแค่ตัวเดียว) ในระยะการฟักไข่ 30 – 35 วัน ซึ่งพ่อกับแม่จะผลัดกันมาสร้างรัง และช่วยกันกกไข่ โดยลูกนกกระเรียน จะแยกออกจากพ่อและแม่ เพื่อเข้าร่วมกับฝูง ในช่วงอายุ 9 – 10 เดือน
แหล่งอาหารสำคัญ ในพื้นที่อาศัยจะเป็นบริเวณชุ่มน้ำ ทะเลสาบ ทุ่งนา หรือหนองบึง จึงมีสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ รวมถึงแมลงจำนวนมาก นับว่าเป็นแหล่งอาหารชั้นดี ทั้งยังสามารถกินเมล็ดธัญพืช และต้นอ่อนพืชน้ำได้ด้วย จากการเดินในแอ่งน้ำขัง ในระดับน้ำที่ไม่ค่อยสูงมาก
สำหรับการเลี้ยงนกกระเรียน สายพันธุ์ไทย เคยเกิดขึ้นโดยการเลี้ยงในกรง สามารถมีอายุยืนได้มากถึง 42 ปี แต่พบอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น จากการกระทำของมนุษย์ ทั้งอุบัติเหตุจากสารพิษ การบินชนสิ่งก่อสร้าง อัตราประมาณร้อยละ 1% / ปี ของประชากรนกในพื้นที่ จึงมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป
รู้หรือไม่? นกกระเรียนสายพันธุ์ไทย จัดอยู่ในประเภท นกป่าในไทย ที่เคยสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย มานานแล้วกว่า 50 ปี จากการสำรวจนกกระเรียน ในป่าธรรมชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 หลงเหลือเพียงแค่นกกระเรียนไทย ในเขตเพาะเลี้ยงขององค์การสวนสัตว์ และในกรมอุทยานแห่งชาติเท่านั้น
จนกระทั่งในช่วงปี พ.ศ. 2540 สวนสัตว์นครราชสีมา สามารถเพาะพันธุ์ ลูกนกกระเรียนได้ 2 ตัว และทดลองปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และเริ่มขยายพันธุ์มากขึ้น โดยมีศูนย์การเรียนรู้พื้นที่ชุ่มน้ำ นกกระเรียนพันธุ์ไทย จังหวัดบุรีรัมย์ คอยให้การสนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป [3]
นกกระเรียนสายพันธุ์ไทย เหมือนกับนกกระเรียนทั่วไป จากพฤติกรรมการมีคู่ครองเดียว ตลอดช่วงชีวิต ทำให้ในประเทศอินเดีย นับถือนกกระเรียน เป็นสัญลักษณ์ของความรัก ความซื่อสัตย์ ในชีวิตแต่งงาน โดยมีความเชื่อกันว่า เมื่อคู่ของนกกระเรียนตายจากไป จะทำให้นกอีกตัวเศร้าโศก จนตรอมใจตายตามไปเช่นกัน
นอกจากนั้น ยังมีตำนานความเชื่อ เกี่ยวกับนกกระเรียนสายพันธุ์อื่น อย่างเช่น นกกระเรียนมงกุฎแดง โดยเป็นความเชื่อของชาวญี่ปุ่น เชื่อกันว่านกกระเรียน มีอายุยาวนานกว่า 1,000 ปี เป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ และความจงรักภักดี โดยคนญี่ปุ่นให้ความเคารพสูงสุด และมีความเมตตาเป็นอย่างมาก
นกกระเรียนไทย นกน้ำที่มีความสำคัญ ต่อระบบนิเวศ และป่าธรรมชาติของไทย ปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ ตามพื้นที่ชุ่มน้ำเขตสูง พื้นที่เกษตรกรรม และทุ่งนา อยู่รวมกันเป็นฝูงอย่างสวยงาม ทั้งยังมีความสำคัญต่อทรัพยากรในธรรมชาติ วิถีชีวิตของประชาชน และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อีกด้วย