นกกะปูด พูดชื่อขึ้นมาหลายคนจะต้องร้องว่า “นกกะปูดตาแดงน้ำแห้งก็ตาย” ใช่แล้วว่าเนื้อหาของเพลง ถูกแต่งขึ้นมาจากการใช้ชีวิต และพฤติกรรมต่าง ๆ ของเจ้านก กะปูดอย่างแท้จริง เราพามาทำความรู้จักกับ ลักษณะทางกายภาพ การขยายพันธุ์ แหล่งอาหาร รวมถึงรายงานประชากรที่พบเจอ
นกกะปูด (Coucal) นกขนาดเล็ก สีสันชัดเจน จัดอยู่ภายใต้วงศ์ของ นกกาเหว่า ในวงศ์ย่อย Centropodinae โดยไม่ใช่นกปรสิตคอยฟักไข่ ได้รับการแนะนำสายพันธุ์ ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1811 โดยนักสัตววิทยา ชาวเยอรมนี ประกอบด้วย 29 ชนิด อย่างเช่น นกปรอดหัวสีน้ำตาล นกกาบบัวคอขาว นกกาฝากปากสีงาช้าง เป็นต้น [1]
สำหรับในประเทศไทย สามารถพบเห็นได้ 2 ชนิด คือ นกกะปูดใหญ่ หรือเรียกว่า นกกดเพลิง (Centropus Sinensis) และ นกกะปูดเล็ก (Centropus Bengalensis) กระจายอยู่ในหลายจังหวัด ทั้งยังอาจพบเห็น นกกะปูดนิ้วสั้น (Centropus Rectunguis) ที่เป็นสายพันธุ์พลัดหลงเข้ามา ค่อนข้างหายากอีกด้วย
นกป่าขนาดกลาง โดยรวมมีลำตัวเรียวยาว ลักษณะคล้ายกับอีกา ขนาดตัวประมาณ 47 – 53 เซนติเมตร น้ำหนัก 236 – 268 กรัม ปากสั้นแหลมสีดำ ดวงตาสีแดง หัวและส่วนท้อง เป็นสีดำเหลือบน้ำเงิน ส่วนปีกยาวแหลม เป็นสีน้ำตาลแดง มีขาที่แข็งแรงมาก และมีหางยาว ประมาณ 15 – 25 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์นกกะปูด เกิดขึ้นในช่วง เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม โดยการสร้างรัง ตามพงหญ้า ป่าหญ้า หรือตามกอไผ่ ทำรังจากใบไม้แห้ง และหญ้าแห้ง ม้วนเข้าหากันเป็นทรงกลม สำหรับการวางไข่ จะมีด้วยกัน 3 – 4 ฟอง / ครั้ง ใช้ระยะเวลาการฟัก ประมาณ 21 – 23 วัน หลังจากนั้นลูกนก ก็พร้อมออกจากรัง [2]
นก กะปูด เป็นนกที่มีการปรับตัว เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แต่จะเป็นนกที่บินไม่สูง และบินได้เพียงระยะสั้น ไม่ไกลมาก ชอบอาศัยอยู่ตามทุ่งนา พุ่มไม้ใกล้กับแหล่งน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ ป่าโปร่ง สวนผลไม้ รวมถึงพื้นที่ราบสูง เหนือระดับน้ำทะเล 1,525 เมตร
โดยเป็นสัตว์กินเนื้อ กินแมลงขนาดเล็ก และผลไม้ต่าง ๆ อย่างเช่น สัตว์น้ำ จำพวกปลา กุ้ง หอย ปู หรือสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก อย่างที่ชอบกินมากจะเป็น งู รวมถึงกบ เขียด อึ่งอ่าง หนู เป็นต้น ทั้งยังสามารถกินผลไม้สุก ที่หล่นตามพื้นดินได้เช่นกัน
จากการเรียนรู้พฤติกรรม และอาหารการกิน ของเจ้านกกะปูด นกประจำถิ่น จะเห็นได้ว่าค่อนข้าง ตรงกับเนื้อหาของเพลงสมัยก่อน จากบทเพลง “น้ำลงนกร้อง” พามาทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น ว่าทำไมแหล่งน้ำแห้ง แล้วนกต้องตาย และความเป็นจริงนั้น นกมีโอกาสตายจริงหรือไม่ ติดตามกันต่อเลย
หลายคนน่าจะเคยได้ยินกันแล้ว กับเพลงนกกะปูดตาแดง น้ำแห้งก็ต้องตาย แน่นอนว่าแหล่งอาหารหลัก คือ สัตว์น้ำเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะปลา หากเข้าหน้าแล้ง น้ำในคลอง หรือหนองบึง จะแห้งจนเหลือแต่ดินแตก ส่งผลให้สัตว์น้ำ และสัตว์อื่นในห่วงโซ่อาหาร อาจตายตามกันไปด้วย
นั่นเท่ากับว่า เมื่อน้ำในคลองแห้ง ทำให้นกกะปูดที่อาศัยอยู่ในป่านั้น ๆ ขาดแคลนแหล่งอาหาร บางตัวถึงขั้นต้องอดตาย เพราะอาหารไม่เพียงพอ และต้องรอจนกว่า จะเข้าหน้าฝน เพื่อหากินปลาอีกครั้ง ซึ่งแหล่งน้ำถือว่าสำคัญ ต่อทุกชีวิตของสรรพสัตว์ ถ้าแหล่งน้ำแห้งแล้ง ก็จะส่งผลกระทบ กับอีกหลายชีวิตอย่างต่อเนื่อง
การศึกษาจำนวนประชากร ของนกกะปูด มีแนวโน้มของประชากร ค่อนข้างมั่นคง สถานภาพเป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีความกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) ตามบัญชีแดงของ IUCN แต่อาจกำลังเผชิญหน้า กับการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย ในบางพื้นที่ของอาณาเขตป่า ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่จัดว่าเป็นสายพันธุ์เข้าข่ายสูญพันธุ์
รายงานจำนวนประชากร อาจยังไม่มีจำนวนแน่ชัด แต่พบนกกะปูดขนาดใหญ่ ในแต่ละประเทศ ประมาณ 100 – 10,000 คู่ พร้อมสำหรับการผสมพันธุ์ ส่วนอีกจำนวน ประมาณ 50 – 1,000 ตัว เป็นนกอพยพ มุ่งหน้าไปยังประเทศจีน และจำนวน ประมาณ 10,000 คู่ พร้อมผสมพันธุ์ ในประเทศไต้หวันด้วย [3]
นกกะปูด นกป่าอีกหนึ่งชนิด ที่มีลักษณะคล้ายอีกาอย่างมาก แต่มีสีสันสวยงาม เด่นชัดมากกว่า ทั้งยังเป็นชนิดเดียวในตระกูล ที่ไม่ใช่นกปรสิตอีกด้วย สามารถพบเจอได้ ในป่าใกล้แหล่งน้ำ ชอบกินปลาเป็นชีวิตจิตใจ และกระจายสายพันธุ์ อยู่ในหลากหลายประเทศ