นกกางเขนบ้าน นกสีดำสวยงามชัดเจน ที่อยู่ในกิจกรรมการส่องนก ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ของใครหลายคน เนื่องจากเป็นนกที่พบเจอง่าย แค่เดินไปในบริเวณสวนสาธารณะ หรือสวนผลไม้หลังบ้าน ก็เจอตัวพร้อมกับเสียงร้องอันไพเราะได้แล้ว เราจะพามาทำความรู้จักกันให้มากยิ่งขึ้น
นกกางเขนบ้าน (Oriental Magpie Robin) นกจับแมลงขนาดเล็ก จัดอยู่ในตระกูล นกจับแมลงโลกเก่า (Old World Flycatcher) วงศ์ของ Muscicapidae แหล่งอาศัยหลักในป่าเขตร้อน ตามป่าโปร่ง ป่าชายเลน หรือบริเวณแหล่งเพาะปลูก พื้นที่เกษตรกรรม ในอนุทวีปอินเดีย และ ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [1]
ลักษณะรูปร่างคล้ายกับ นกขุนแผน (นกสาลิกาดง) โดยมีความยาวลำตัว ประมาณ 19 – 23 เซนติเมตร น้ำหนัก ประมาณ 31 – 42 กรัม ตรงส่วนหัวกับคอ สามารถแยกเพศได้ชัดเจน คือ เพศผู้จะมีสีดำ ในขณะที่เพศเมีย จะมีสีดำแกมเทา และทั้งคู่มีแถบขาว ตรงบริเวณไหล่กับปีก และส่วนท้องกับหางยาวเป็นสีขาว
การจำแนกสายพันธุ์ มีด้วยกัน 18 ชนิดทั่วโลก ซึ่งสามารถพบเห็นในไทย เพียง 3 ชนิดย่อย ดังต่อไปนี้
นกป่าที่ชอบอยู่สันโดษ หรืออยู่ด้วยกันเป็นคู่ มักพบเห็นอยู่ใกล้ชิดกับคน อาศัยตามป่าเต็งรัง ทุ่งโล่ง สวนผลไม้ และบริเวณใกล้บ้านเรือน ตั้งแต่พื้นที่ราบสูง จนถึงพื้นที่สูง เหนือระดับน้ำทะเล 1,800 เมตร โดยเป็นนกที่มีเสียงร้อง ค่อนข้างไพเราะ และมีหลากหลายเสียง สำหรับการจับคู่ ป้องกันอาณาเขต และเรียกลูกนก
พฤติกรรมการหากิน เป็นการจิกกินอาหาร บนพื้นดิน หรือตามกิ่งของพืช หลายครั้งที่พบว่า ชอบกระโดด หรือเดินไล่จิกเหยื่อ บางครั้งก็มีการโฉบกิน ขณะที่เหยื่อขนาดเล็ก กำลังบินขึ้นมาจากรูหรือโพรงดิน โดยอาหารหลัก จะเน้นกินแมลงขนาดเล็ก และตัวหนอน
การผสมพันธุ์นกกางเขน เกิดขึ้นในช่วง ฤดูร้อนกับฤดูฝน ในเดือนเมษายน – กรกฎาคม ซึ่งสร้างรังอยู่บนโพรงต้นไม้ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือจากสัตว์ชนิดอื่นเคยสร้างไว้ โดยปกติรังนกกางเขน จะมีไข่ด้วยกัน 3 – 4 ฟอง ทั้งพ่อและแม่ ช่วยกันฟักไข่ ระยะเวลาฟัก 8 – 15 วัน และมีอายุขัยได้นาน 10 – 15 ปี [2]
นกป่าจับแมลง สีสวยงาม จัดอยู่ประเภท นกประจำถิ่น ของไทย และอีกหลายประเทศ ในทวีปเอเชีย ซึ่งมีความพิเศษ ทางด้านเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์ และเคยเป็นนกเลี้ยงในกรง เพื่อความสวยงาม ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ปัจจุบันอาศัยเป็นหลักแหล่ง ในป่าธรรมชาติ สามารถพบเจอได้ทั่วไป
นกที่เจอตัวได้ค่อนข้างง่าย อยากพบเห็นในประเทศไทย สามารถเดินไปตามป่า รายชื่อพิกัดดังนี้
สถานภาพนกกางเขน ตามบัญชีแดง IUCN เป็นสิ่งมีชีวิตความกังวลน้อยที่สุด (Least Concern – LC) และมีความเสี่ยงต่ำต่อการถูกคุกคาม โดยแนวโน้มประชากร ค่อนข้างคงที่ แต่ก็สามารถเกิดภัยคุกคามได้ อย่างเช่น การลักลอบล่าสัตว์ เพื่อค้าขายเป็นสัตว์เลี้ยง พื้นที่อาศัยเปลี่ยนแปลง และ การแข่งขันกับนกไมนานำเข้า
สำหรับจำนวนประชากร เป็นนกท้องถิ่น ที่มีการกระจายสายพันธุ์ไปทั่ว คาดว่าประชากรนกกางเขน ในแต่ละประเทศ ประมาณ 10,000 – 1,000,000 คู่ พร้อมสำหรับการผสมพันธุ์ (ในประเทศจีน) และประชากร น้อยกว่า 10,000 คู่ (ในประเทศไต้หวัน) ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีจำนวนคงที่ [3]
นกกางเขนบ้าน หรือเจ้านกกางเขน สัตว์ปีกท้องถิ่น สีสวยงามเด่นชัด และมาพร้อมกับเสียงร้อง อันไพเราะเป็นเอกลักษณ์ เคยได้รับความนิยม เป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ปัจจุบันเป็นนกป่า แหล่งอาศัยในป่าธรรมชาติ และใกล้กับบ้านเรือน ของทวีปเอเชีย รวมถึงในประเทศไทย