นกกาเหว่า เริ่มต้นกันด้วยเพลงกล่อมเด็ก ที่เราเคยได้ยินกันมา ตั้งแต่สมัยก่อน เกี่ยวกับเจ้ากาเหว่า ไข่ให้แม่กาฟัก และแม่กาก็หลงรัก คิดว่าเป็นลูกในอุทร ทั้งคาบเอาข้าว เอาเหยื่อมาป้อนให้ลูกกาเหว่า ในเนื้อเพลงนั้น คือพฤติกรรมและวิถีชีวิต ของกาเหว่าตามธรรมชาติ จะน่าสนใจมากแค่ไหนมาดูกัน
นกกาเหว่า (Cuckoo) หรืออีกชื่อเรียกว่า นกดุเหว่า นกขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์ของนกคัคคู Cuculidae แหล่งอาศัยในทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ทวีปออสเตรเลีย และ ภูมิภาคโอเชียเนีย ได้รับการอธิบาย ชนิดนกอย่างชัดเจน จากนักพฤกษศาสตร์ ชาวสวีเดน เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1758 [1]
การจำแนกสายพันธุ์ มีทั้งหมด 150 ชนิด และ 33 สกุล โดยรวมถึงชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว 2 ชนิด คือ นกกาเหว่าเดลาลันด์ (จากมาดากัสการ์) และ นกกาเหว่าเซนต์เฮเลนา ซึ่งในปัจจุบัน มีการกระจายสายพันธุ์ไปทั่วโลก ครอบคลุมทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา
นกป่ารูปร่างคล้ายอีกา โดยสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก คือ กาเหว่าสีบรอนซ์ตัวเล็ก น้ำหนัก 17 กรัม และความยาวลำตัว 15 เซนติเมตร แต่สำหรับสายพันธุ์ขนาดกลาง คือ กาเหว่ายักษ์ กาเหว่าปากปะการัง ที่มีลำตัวขนาดยาว 60 – 80 เซนติเมตร ซึ่งอาจเป็นเพศผู้ และเพศเมีย สามารถมีขนาดที่ใหญ่กว่ากันได้
สีขนกาเหว่าทั่วไป จะค่อนข้างมีขนนุ่ม เงางาม หลากหลายสี ทั้งสีเทา สีน้ำตาลลายจุด สีน้ำตาลแดง สีดำ (ตาแดง) หรือจะเป็น สีเขียวมรกต ซึ่งกาเหว่าบางสายพันธุ์ มีขนปกคลุมคล้ายกับ นกเหยี่ยว ที่มีแถบด้านล่าง โดยจะมีขนหลักสำหรับการบิน 10 เส้น ขนรองอีก 9 – 13 เส้น และขนหางเพียง 10 เส้น
เปิดเผยความลับ อันร้ายกาจ ของสัตว์ประเภทที่ ไม่ยอมเลี้ยงลูกตัวเอง แต่ฝากให้ชาวบ้านเลี้ยงแทน แน่นอนว่ากาเหว่า เป็นนกที่ถูกเรียกว่า “นกปรสิต” นั้นมาจากสาเหตุ คือ มันไม่ชอบเลี้ยงลูกตัวเอง แต่เลือกวางไข่ ในรังของนกชนิดอื่น เพื่อให้เจ้าของรังช่วยฟักไข่ และเลี้ยงดูให้อาหาร จนเติบโตเป็นนกตัวเต็มวัย
แต่ไม่ใช่แค่แม่กาเหว่าที่ร้าย! แท้จริงแล้ว ลูกกาเหว่า มีความสามารถร้ายแฝง ในการแย่งชิงโดยกำเนิด คือ ลูกกาเหว่าจะเกิดก่อนลูกเจ้าของรัง ร่างกายแข็งแรงก่อน และมันจะทำลาย ไข่ของเจ้าบ้าน จนกว่าจะเหลือเพียงแค่มันตัวเดียว สุดท้ายแล้ว แม่นกเจ้าของรัง จึงจำเป็นต้องเลี้ยงลูกกาเหว่า แม้ว่าขนาดตัว และสีสันจะต่างกัน
อีกความสามารถของแม่นก มันเลือกวิธีการสลับไข่ โดยมันรอให้เจ้าบ้าน ออกจากรัง ไปหากินช่วงบ่าย แล้วมันจะนำไข่กาเหว่า เข้ามาแทนที่ และผลักไข่เจ้าบ้านตกรังไป ซึ่งใช้เวลาเพียง 10 – 20 วินาที โดยในแต่ละปี นกกาเหว่า สามารถวางไข่ได้ ประมาณ 50 ฟอง / รัง แต่ก็ไม่การันตี ว่าจะทำสำเร็จทั้งหมด [2]
นกประจำถิ่น ของประเทศไทย และอีกหลายประเทศ สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ในเขตป่าร้อนชื้น และเขตป่าอบอุ่น โดยมีบางสายพันธุ์ เป็นนกอพยพ มีเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์ ไพเราะน่าฟังยิ่งกว่าอีกา หนึ่งในสัตว์ปีก ที่ชอบกินแมลง สัตว์ขนาดเล็ก และผลไม้ ทั้งยังช่วยกระจายพันธุ์พืช ปรับสมดุลให้แก่ธรรมชาติ
นก กาเหว่า จัดอยู่ในสถานภาพ สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2562 โดยเป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีความกังวลน้อยที่สุด (Least Concern: LC) จากสัตว์ชนิดถูกคุกคาม ของประเทศไทย ซึ่งห้ามล่าสัตว์ ห้ามค้าขาย นำเข้าหรือส่งออก ห้ามเพาะพันธุ์ และ ห้ามครอบครอง รวมถึงไข่หรือซากอีกด้วย [3]
ความสำคัญของกาเหว่า เพื่อการอนุรักษ์ ปัจจุบันได้รับเลือกให้เป็น นกประจำรัฐ ของเขตสหภาพอินเดีย แห่งปอนดิเชอร์รี ซึ่งเดิมทีเคยเป็นนกกรงเลี้ยง เพื่อความสวยงาม ที่มีความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะสามารถมีชีวิต ดำรงอยู่ได้นานกว่า 10 – 14 ปี และค่อนข้างเลี้ยงง่าย กินง่าย อยู่ในสภาพอากาศร้อนได้เหมาะสม
ตามวัฒนธรรมและความเชื่อ ของมนุษย์สมัยก่อน โดยชื่อของกาเหว่า ถูกตั้งขึ้นมาจาก เสียงร้องที่ไพเราะ และแสดงท่าทางดูรื่นรมย์ ซึ่งมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป ตามวัฒนธรรม ของแต่ละประเทศ
สำหรับฝั่งเอเชียบ้านเรา เชื่อกันว่าหากกาเหว่า บินมาเกาะหน้าบ้าน หมายความว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะกาเหว่า คือ นกตัวแทน หรือสัญลักษณ์ของโชคลาภ และความเป็นสิริมงคล แต่ทางฝั่งตะวันตก มีความเชื่อกันว่า หมายถึงการเริ่มต้นใหม่ และการเปลี่ยนแปลง ไปในทางที่ดีขึ้น
นกกาเหว่า นกป่าหน้าตาคล้ายอีกา แต่มีเสียงไพเราะกว่า พบเจอได้ในป่าหลายทวีป ขึ้นชื่อว่าเป็นนกปรสิต มีพฤติกรรมการฝากเลี้ยง และการแย่งชิง มาตั้งแต่กำเนิด จนไม่มีใครเทียบความสามารถนี้ได้ หากมองในด้านวิวัฒนาการ และการเอาตัวรอด ต้องยอมรับเลยว่า ธรรมชาติอาจไม่ยุติธรรม กับสัตว์บางชนิดเสมอไป