ข้อมูลนกป่า นกขมิ้น นกน้อยทำรังใกล้เพื่อนบ้าน

นกขมิ้น

นกขมิ้น เจ้านกน้อยสีเหลืองสดใส ใครพบเห็นก็ต้องชอบ นอกจากจะตัวเล็ก สั้นป้อม หน้าตาน่ารักแล้ว ยังมีเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ พามารู้จักเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งลักษณะทางกายภาพ การสืบพันธุ์ การทำรัง การหาอาหาร และพฤติกรรมแปลกของชีวิตคู่ รวมถึงราคาซื้อขาย อย่างถูกกฎหมาย ทั้งในไทยและต่างประเทศ

รอบรู้เรื่อง นกขมิ้น รวมสายพันธุ์ในไทย

นกขมิ้น (Oriole) นกจับแมลงขนาดเล็ก จัดอยู่ภายใต้วงศ์ Oriolidae ของนกแซงแซว และนกกา โดยอยู่ในประเภท นกโลกเก่า (Old World Oriole) กระจายสายพันธุ์มากมาย อยู่ในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา และยุโรป แหล่งอาศัยที่เขตอบอุ่น หรือเขตร้อน ตามป่าดิบชื้น ป่าชายเลน หรือสวนผลไม้ [1]

สายพันธุ์ของนกขมิ้น ประกอบด้วย 41 ชนิดทั่วโลก พบในประเทศไทยเพียง 6 ชนิด คือ นกขมิ้นหัวดำเล็ก นกขมิ้นหัวดำใหญ่ นกขมิ้นแดง (ทั้งสามชนิดเป็นนกประจำถิ่น) นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกขมิ้นปากเรียว (ทั้งสองชนิดเป็นนกอพยพ) และ นกขมิ้นขาว (นกอพยพ ค่อนข้างหายาก)

คำอธิบายลักษณะทั่วไป นกขมิ้น

นกขนาดเล็ก โดยมีความยาวลำตัว ประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร ซึ่งเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้ และสีของขนจืดจางกว่าด้วย ซึ่งขนของเพศผู้ ส่วนมากเป็นสีเหลืองสดใส หรือสีเขียว สีน้ำตาล ปากเป็นจะงอยโค้ง และงอนเล็กน้อย ปีกยาวแหลม หางยาวสีดำสลับเหลือง และลูกนกจะมีลายขีดสีดำ อยู่ตรงบริเวณท้อง

นิสัยตามธรรมชาติ จะค่อนข้างก้าวร้าว ไม่กลัวคน มีเสียงร้องแหลมสูง คล้ายกับนกกระจอก มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 4 – 10 ตัว ร่วมกับนกชนิดอื่น อย่างเช่น นกแซงแซว นกพญาไฟ นกไต่ไม้ เป็นต้น ทั้งยังมีความสามารถ ในการบินเร็ว และทนทานต่อสภาพอากาศ

การสืบพันธุ์และกินอาหาร

การผสมพันธุ์นกขมิ้น เป็นแบบคู่ครองเดียวตลอดชีวิต โดยทำรังเป็นรูปถ้วย อยู่บนง่ามต้นไม้สูงกว่า 4 – 10 เมตร วางไข่ 2 – 4 ฟอง / ครั้ง ใช้ระยะเวลาฟักไข่ 12 – 15 วัน และลูกนกออกหาอาหารเอง เมื่ออายุครบ 20 – 25 วัน ซึ่งจะชอบสร้างรังใกล้กับ รังของนกแซงแซว เพื่อให้ช่วยปกป้องไข่ และลูกนกจากศัตรูอีกด้วย

สำหรับการออกหากิน จะเป็นช่วงเวลากลางวัน หากินแบบเงียบ ๆ เป็นคู่ หรือเพียงตัวเดียว ไม่ค่อยลงมากินอาหารตามพื้นดิน มักชอบกินอาหารตามต้นไม้สูง ตามยอดหรือพุ่มใบ เน้นกินเป็นผลไม้ น้ำหวานจากดอกไม้ และแมลงขนาดเล็ก อย่างเช่น หนอนผีเสื้อ จิ้งหรีด แมลงวัน ด้วง และตั๊กแตน [2]

นกขมิ้น สถานะในธรรมชาติของไทย

นกขมิ้น

สถานภาพนกขมิ้นในไทย เป็นนกประจำถิ่น มีอาณาเขตอาศัยเป็นหลักแหล่ง ไม่อพยพย้ายถิ่นฐาน โดยจัดอยู่ในประเภท นกป่าในไทย ความเสี่ยงน้อยต่อการสูญพันธุ์ แต่มีบางสายพันธุ์ ที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และมีสถานะใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ นกขมิ้นท้ายทอยดำ (Black Naped Oriole) และ นกขมิ้นขาว (Silver Oriole)

นกขมิ้น รักเดียวแต่หย่าร้างได้?

เรื่องแปลกที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน เกี่ยวกับพฤติกรรม ของเจ้านกขมิ้น อย่างที่รู้กันแล้วว่า ช่วงการผสมพันธุ์ พวกมันเลือก มีผัวเดียวเมียเดียวไปตลอด แต่สิ่งที่เกิดขึ้น พวกมันสามารถหย่าร้างได้ เหมือนกับมนุษย์ ซึ่งจะเกิดก็ต่อเมื่อชีวิตคู่ ไม่สามารถไปต่อร่วมกันได้

นักวิจัยจากประเทศจีน และประเทศเยอรมนี ศึกษาพบว่า โดยปกติแล้ว 90% ของนกสายพันธุ์ทั่วโลก จะมีคู่ชีวิตเดียว ตลอดการผสมพันธุ์ ซึ่งการเปลี่ยนคู่ใหม่ทันที เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์อื่น แม้คู่ครองของตัวเอง จะมีชีวิตอยู่ก็ตาม จะถูกเรียกว่า “การหย่าร้างของนก”

ค้นพบว่ามีปัจจัย การกระตุ้นพฤติกรรมดังกล่าว 2 ประการ คือ

  • นกเพศผู้หลายใจ : ผลการวิจัยพบว่า นกที่มีความใกล้เคียงกัน ทางวิวัฒนาการ จะมีอัตราการหย่าร้างใกล้เคียงกันด้วย ซึ่งนกขมิ้นอยู่ในอัตราการเลิกรา ค่อนข้างสูง ในขณะเดียวกันของ นกแร้ง ห่าน และหงส์ มีอัตราการเลิกรา ค่อนข้างต่ำ และเพศเมียแทบจะ ไม่มีพฤติกรรมนั้นเลย
  • การอพยพย้ายถิ่นฐาน : เกิดขึ้นในช่วงหลังการอพยพ (ของนกขมิ้นบางสายพันธุ์) โดยคู่ของตัวเอง มาถึงปลายทางไม่พร้อมกัน หรือพลัดหลงจากกัน จึงนำไปสู่การผสมพันธุ์กับตัวใหม่ ทั้งนี้อาจมาจากระยะการเดินทางไกล ซึ่งต้องใช้เวลานาน ส่งผลให้ฤดูผสมพันธุ์สั้นลง เมื่อมาถึงที่หมาย จึงต้องผสมพันธุ์กับตัวอื่นทันที แทนการรอคู่ครองของตัวเอง

ที่มา: รู้หรือไม่? นกบางสายพันธุ์ มีพฤติกรรม “หย่าร้าง” ไม่ต่างจากมนุษย์ [3]

การเป็นเจ้าของและราคาซื้อขาย

นกน้อยขมิ้น สำหรับในประเทศไทย สามารถเลี้ยงได้ เฉพาะสายพันธุ์ที่ได้รับอนุญาต หรือจากฟาร์มเพาะเลี้ยงเท่านั้น ซึ่งมีราคาถูก เริ่มต้นประมาณ 700 – 800 บาท หากเป็นการซื้อขาย ในต่างประเทศ จะเป็นสายพันธุ์นกขมิ้นอัลตามิรา (Altamira Oriole) ราคาเริ่มต้นเพียง 200 บาท

สรุป นกขมิ้น “Oriole”

นกขมิ้น นกสีเหลืองตัวเล็กน่ารัก จากวิวัฒนาการของ วงศ์นกแซงแซวและนกกา นกประจำถิ่นหลากหลายชนิด พบได้ในป่าธรรมชาติของไทย สีสันสวยงาม เสียงร้องแหลมเป็นเอกลักษณ์ เป็นทั้งสัตว์ป่าคุ้มครอง และเลี้ยงได้เฉพาะบางสายพันธุ์

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง