ข้อมูลนกป่า นกขุนแผน นกแสนรู้เจ้าเสน่ห์

นกขุนแผน

นกขุนแผน นกป่าสวยงาม ที่หลายคนอาจกำลังนึกถึง นิทานพื้นบ้านของไทย กับเรื่องราว “ขุนช้างขุนแผน” ตำนานของหนุ่มรูปงาม นามว่าขุนแผน แต่เต็มไปด้วยความเจ้าชู้ จะเหมือนกับตำราของนกป่า ประจำถิ่นของไทยหรือไม่? นอกจากรูปลักษณ์ ที่สวยงามแล้ว มีอะไรน่าสนใจอีกบ้าง ติดตามกันต่อเลย

เปิดตำราความเป็นมาของ นกขุนแผน

นกขุนแผน (Red Billed Blue Magpie) หรือเรียกว่า นกสาลิกาดง นกขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์นกกา Corvidae หรือใกล้เคียงกับ นกกาเหว่า พบแหล่งอาศัยจำนวนมาก อยู่ในอนุทวีปอินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ประเทศไทย (ยกเว้นภาคใต้) จีน พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

ได้รับการอธิบายสายพันธุ์ โดยนักวิชาการ ชาวฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1775 ระบุชนิดย่อยไว้ทั้งหมด 5 ชนิด คือ Occipitalis (ในอินเดีย – เนปาล), Magnirostris (ในอินเดีย – อินโดจีน), Alticola (ในพม่า – จีน), Brevivexilla (ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน) และ Erythroryncha (ในจีน – อินโดจีน) [1]

ภาพรวมทางกายภาพ นกขุนแผน

นกสาลิกาดง สีสันสวยงาม โดยมีลำตัวขนาดเล็ก ความยาวปากจรดปลายหาง ประมาณ 65 – 68 เซนติเมตร และมีขนหางยาวมากที่สุด ในบรรดานกกาเหว่าทั่วไป ซึ่งมีความยาว 37 – 42 เซนติเมตร มีขนหางแข็งแรง ประมาณ 12 เส้น และน้ำหนัก ประมาณ 196 – 232 กรัม

ความสวยงามของสีขน บริเวณหัวถึงลำคอเป็นสีดำ ขนตามตัวและโคนปีก เป็นสีฟ้าแกมม่วง ส่วนด้านปลายปีกเป็นสีขาว ปากและขาสีแดงส้ม มีดวงตากลมสีดำ โดยเพศผู้และเพศเมีย จะค่อนข้างมีความคล้ายกัน จนไม่สามารถแยกเพศได้ หากมองผิวเผินจากภายนอก

การดำรงชีวิตและการผสมพันธุ์

พฤติกรรมการใช้ชีวิต มักอยู่รวมกัน 7 – 12 ตัว ตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะ ป่าดิบชื้น หรือเนินเขา โดยมักส่งเสียงร้องดัง ในขณะที่กำลังออกหาอาหาร ทั้งบนต้นไม้และพื้นดิน บางครั้งชอบส่งเสียงเลียนแบบ อย่างเช่น เสียงกระเทือน และเสียงหวีดแหลม นอกจากนี้ยังมีนิสัย ชอบลักขโมยไข่ ของลูกไก่มาจากรังอีกด้วย

อาหารของนก เน้นกินอาหารที่มีความหลากหลาย โดยจะชอบกินอาหารจำพวก ผลไม้สุกหล่นตามพื้นดิน ผลไม้สุกคาต้น เมล็ดพืชบางชนิด แมลง สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก รวมถึงการกินไข่ไก่ ไข่นก หรือลูกนกขนาดเล็ก ที่มีความอ่อนแอมากกว่า หรือกินแม้กระทั่ง ซากสัตว์อีกด้วย

การผสมพันธุ์นก ขุนแผน จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม โดยการทำรังสานด้วยกิ่งไม้ ให้เป็นแอ่งตรงกลาง เพศเมียจะวางไข่ เป็นจำนวน 3 – 6 ฟอง / ครั้ง ซึ่งอยู่สูงจากพื้นดิน ประมาณ 6 – 8 เมตร ทั้งพ่อและแม่ จะช่วยกันสร้างรัง เลี้ยงดูแลลูกอ่อน จนกว่าจะเจริญเติบโต สามารถหัดบินเองได้ [2]

นกขุนแผน สัตว์ป่าสวยงามของไทย

นกขุนแผน

สถานะในปัจจุบัน นกขุนแผนเป็นสัตว์สงวน และสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2535 และนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน เนื่องจากมีสีสัน และหางที่สวยงาม พบในประเทศไทย เพียง 6 สายพันธุ์ จึงมีโอกาสพบเจอได้น้อยในธรรมชาติ แต่สายพันธุ์ที่มีโอกาส จะเป็นนกขุนแผนอกสีส้ม และนกขุนแผนหัวแดง

ผลสำรวจประชากร นกขุนแผน

การสำรวจประชากร ของนกขุนแผน หรือนกสาลิกาดง หนึ่งในกลุ่ม นกป่าในไทย ที่มีความสวยงามมาก สามารถพบเจอได้ใน อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง จังหวัดพะเยา รวมถึงเขตอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ

โดยพบนกขุนแผนอกสีส้ม (Orange Breasted Trogon) จำนวน 4 ตัว และนกขุนแผนหัวแดง (Red Headed Trogon) เป็นจำนวน 3 ตัว ในช่วงการสำรวจปี พ.ศ. 2560 ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์ มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่า ความเสี่ยงต่ำต่อการใกล้สูญพันธุ์ และเป็นนกประจำถิ่น ของประเทศไทย [3]

ประโยชน์จากเสียงร้องนก ขุนแผน

แน่นอนเป็นอย่างมากเลยว่า เสียงร้องของนก หลากหลายชนิด ที่ดังก้องกังวาน อยู่ภายในป่าของไทย ทำให้ป่านั้นดูไม่เงียบเหงา และกลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น สำหรับเสียงร้อง ของนกขุนแผน ในช่วงออกหากิน ไม่ได้มีแค่เสียงดังเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตอีกด้วย

โดยเสียงร้อง จะใช้สำหรับการหลอกล่อ นกชนิดอื่น หรือนกขนาดเล็ก ให้ปรากฏตัวออกมาจากป่ารก ออกมาจากพุ่มไม้ และต้องการเห็นตัวนก ที่สามารถพบได้ยาก เพื่อง่ายต่อการหาอาหาร ทั้งยังมีนกชนิดอื่นที่ทำแบบนี้เช่นกัน อย่างเช่น นกแว่น นกโกโรโกโส นกกระทาดง พวกนกกินแมลง และนกจับแมลง เป็นต้น

สรุป นกขุนแผน “Red Billed Blue Magpie”

นกขุนแผน เจ้านกสาลิกาดง สัตว์ป่าสวยงามของไทย พบเห็นได้ใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรูปลักษณ์งดงาม ด้วยหางสีฟ้าแกมม่วง ที่มีลักษณะยาวมาก แต่นิสัยค่อนข้างแตกต่าง เพราะชอบขโมยไข่ และส่งเสียงดัง หลายคนนิยมนำมาเลี้ยง เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความสวยงาม

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง