ข้อมูลนกป่า นกคอสามสี นักเดินดินประจำถิ่นของไทย

นกคอสามสี

นกคอสามสี เคยเดินเข้าป่าแล้วได้ยิน เสียงร้องของนก ที่เหมือนกบร้องบ้างหรือไม่? น้อยคนนักที่จะรู้จัก หรือเคยเห็น เจ้านก คอสามสี หนึ่งในนกหายาก และมีจำนวนประชากรเหลือน้อย ในป่าประเทศไทย เราจะพามาสำรวจ โลกของนกป่าสวยงาม ใครมีโอกาสได้เจอ ถือว่าโชคดีที่ได้เห็นแน่นอน

รู้จักกับ นกคอสามสี นกไทยใกล้สูญพันธุ์

นกคอสามสี (Rail Babbler) นกกินแมลง ประจำท้องถิ่น อยู่ในวงศ์ของนก คอสามสี Eupetidae เพียงสกุลเดียว และชนิดเดียวเท่านั้น พบแหล่งอาศัยในป่าดิบชื้น โดยมีแสงแดด ส่องถึงพื้นค่อนข้างน้อย บริเวณคาบสมุทรมลายู ตั้งแต่จังหวัดพังงา – จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะสุมาตรา และ แถบเกาะบอร์เนียว

โดยแบ่งเป็นชนิดย่อย ทั้งหมด 2 ชนิดย่อย คือ Eupetes Macrocerus Macrocerus ต้นแบบของสายพันธุ์คอสามสี สามารถพบเห็นได้ ในคาบสมุทรมลายู ของไทยและมาเลเซีย เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะนาตูนา และ Eupetes Macrocerus Borneensis อาศัยอยู่ในเทือกเขา เกาะบอร์เนียว ของมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน [1]

นก คอสามสี ลักษณะเป็นอย่างไร?

นกป่าขนาดกลาง ลำตัวสั้นป้อม หัวเรียว ปากแหลมสีดำ หางยาว โดยมีความยาวลำตัว ประมาณ 28 – 30 เซนติเมตร และ น้ำหนักเฉลี่ย 66 – 72 กรัม ขนเป็นสีน้ำตาล ส่วนหัวและคอ เป็นแถบยาว 3 สี ทั้งสีดำ สีขาว และสีน้ำตาลอมส้ม และส่วนท้อง เป็นสีน้ำตาลเทาเข้ม ซึ่งทั้งสองเพศ มีลักษณะไม่ต่างกัน [2]

ลักษณะการส่งเสียงร้อง จะเกิดขึ้นเมื่อนกต้องการ ส่งสัญญาณเตือนในกลุ่ม และแสดงท่าทาง โดยการเป่าถุงลมที่คอ ให้เกิดการขยายออก ซึ่งเสียงร้องจะเป็น เสียงแหลม ลากยาว พร้อมกับยืดคอ ชะโงกตัวมองหลายทิศทาง เพื่อมองหาตำแหน่งเสียงตอบกลับ ของนกตัวอื่น ซึ่งจะส่งเสียงร้องเป็นชุด คล้ายกับเสียงของกบ

พฤติกรรมตามธรรมชาติ

นิสัยโดยส่วนมาก เป็นนกขี้อาย และชอบเก็บตัว มีพฤติกรรมการส่ายหัวแบบไก่ป่า ซึ่งถ้าหากถูกรบกวน จะชอบวิ่งด้วยความเร็วสูง มากกว่าการบินหนี ทั้งยังชอบหลบ อยู่ตามพื้นขั้นบันไดของป่า และล่าเหยื่อด้วยการวิ่งไล่ กินแมลงขนาดเล็ก เป็นอาหารหลัก อย่างเช่น ด้วง จักจั่น หนอน แมงมุม เป็นต้น

การผสมพันธุ์ และการวางไข่ เกิดการผสมพันธุ์ในช่วง เดือนมกราคม – เดือนกุมภาพันธ์ โดยการสร้างรังเป็นรูปถ้วย อยู่บนกองเศษใบไม้แห้ง และจากเส้นใยพืช ตามซอกกิ่งไม้พุ่มไม้ ให้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งเพศเมียวางไข่เพียง 2 ฟอง / ครั้ง เท่านั้น

นกคอสามสี นกป่าหายากของไทย

นกคอสามสี

เจ้านกคอ สามสี จัดอยู่ในประเภท นกป่าในไทย ทั่วโลกมักรู้จักกันในชื่อของ นกปรอดหัวขวาน นกปรอดหัวสีน้ำตาล หรือ นกจาบคา ในปัจจุบันสามารถพบเห็นได้ยาก แต่ก็มีโอกาสได้พบเจอกันบ้าง ตามป่าธรรมชาติ ในประเทศไทย ต้องรู้จักการสังเกตอาณาเขต และจากเสียงร้องแหลม ดังไปไกลทั่วผืนป่า

สถานะและประชากรนก คอสามสี

สถานภาพของนก คอสามสี สำหรับในประเทศไทย จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิต สถานภาพมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ Vulnerable: VU (ONEP, 2560), (ONEP, 2563) และ สถานภาพระดับโลก เป็นสิ่งมีชีวิตสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม Near Threatened: NT (IUCN), (IUCN, 2016) [3]

จากข้อมูลการศึกษา ของสมาคมอนุรักษ์นก และธรรมชาติแห่งประเทศไทย (BCST) พบว่านกอพยพ และนกประจำถิ่นในไทย จำนวน 1,083 ชนิด โดยคอสามสี เป็นหนึ่งในนก VU จากทั้งหมด 70 ชนิด เข้าสู่สภาวะใกล้สูญพันธุ์ในอนาคต ถ้าหากยังมีปัจจัย การถูกคุกคามอย่างต่อเนื่อง

โดยเป็นนกประจำถิ่น อาศัยตามป่าดิบชื้น ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่เกิน 1,060 เมตร พบในช่วงตีนเขา หรือพื้นที่ลาดชัน มีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ กระจายสายพันธุ์ อยู่ในประเทศไทย เฉพาะภาคใต้ ในจังหวัดพังงา – จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล ไม่เกิน 900 เมตร

พิกัดพบเจอ นกคอสามสี

รายงานการพบเห็นคอสามสี บริเวณทางเดินมุ่งสู่ น้ำตกกรุงชิง เขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีแนวโน้มประชากรลดลง ไม่ค่อยพบการกำเนิดลูกนก เพราะการตัดไม้ทำลายป่า แหล่งอาศัยถูกทำลายบางส่วน การเสื่อมโทรมของป่า และการทำสวน อย่างเช่น ไม้ยาง และ ปาล์มน้ำมัน

สรุป นกคอสามสี “Rail Babbler”

นกคอสามสี นกท้องถิ่นของไทย สีสันส่วนคอสวยงาม ขี้อายและชอบเก็บตัว มักเดินดินหาอาหารกินตามพื้น และสามารถพบเห็นได้ ค่อนข้างยาก แค่เฉพาะในเขตอุทยานแห่งชาติเขาหลวง จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ป่าคุ้มครอง เสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์ในอนาคต

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง