เปิดโลก นกนางแอ่น นกป่าพบเห็นง่ายทั่วโลก

นกนางแอ่น

นกนางแอ่น ทำความเข้าใจ กับการดำรงชีวิต และระบบนิเวศของนก นางแอ่น นกป่าขนาดเล็ก สีสันหลากหลาย สามารถพบเห็นได้ทั่วไป รวมข้อมูลลักษณะทางกายภาพ พฤติกรรม ความสามารถพิเศษ และตอบคำตอบที่หลายคน อาจไม่เคยรู้มาก่อน

รอบรู้ทุกเรื่องของชีวิต นกนางแอ่น

นกนางแอ่น (Swallow) หรือที่เรียกว่า นกอีแอ่น จัดอยู่ในวงศ์ของ นกกระจอก Hirundinidae กระจายสายพันธุ์อยู่ในหลายทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา รวมแล้ว 90 สายพันธุ์ และ 21 สกุล

โดยสายพันธุ์ที่มีความหลากหลาย พบมากในทวีปแอฟริกา และเชื่อกันว่าเป็นแหล่งกำเนิด ของนกทำรังในโพรง ได้รับการอธิบายวงศ์นก จากนักวิชาการ ชาวฝรั่งเศส ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1815 [1]

นกนางแอ่น ลักษณะเป็นอย่างไร?

ลักษณะทางกายภาพ ของนกนางแอ่น ตามวิวัฒนาการ ค่อนข้างคล้ายกับนกกระจอก โดยมีความยาวลำตัว ประมาณ 10 – 24 เซนติเมตร และน้ำหนัก ประมาณ 10 – 60 กรัม

สำหรับนางแอ่น สายพันธุ์เล็กที่สุด คือ นกนางแอ่นปีกเลื่อย น้ำหนักเฉลี่ย 9.4 กรัม ในขณะที่สายพันธุ์ใหญ่ที่สุด คือ นกนางแอ่นสีม่วง และ นกนางแอ่นภาคใต้ ที่มีน้ำหนักเฉลี่ยเกิน 50 กรัม

สีขนนกส่วนมาก เป็นสีน้ำเงินเข้ม หรือสีเขียวมันวาว ส่วนขนด้านล่าง เป็นสีขาว หรือสีแดงเข้ม ลำตัวเรียวยาว ปีกยาวแหลม ขาสั้น และมีนิ้วเท้าแข็งแรง เหมาะสำหรับการเกาะ มากกว่าการเดินหรือวิ่ง

พฤติกรรมและทักษะเฉพาะตัว

นกนางแอ่นเป็นนกล่าแมลง ประเภท นกอพยพต่างถิ่น อายุขัย 6 – 7 ปี สามารถใช้ปีกเคลื่อนไหว ในการล่าได้เป็นอย่างดี โดยการปรับตัว ร่อนไปตามลมบ่อยครั้ง และมีความอดทนสูง ซึ่งรูปร่างที่เรียวยาว ส่งผลให้การบินมีประสิทธิภาพ อัตราการเผาผลาญขณะบิน จะมีอัตราต่ำกว่านกกระจอก ประมาณ 49 – 72%

ออกหาอาหาร และกลับรังเป็นเวลา บินได้คล่องในที่มืด จากการส่งเสียงสะท้อนนำทาง โดยมีทักษะการบิน ด้วยความเร็วสูง 89 – 100 กิโลเมตร / ชั่วโมง สามารถบินโฉบกินแมลง กลางอากาศได้ อย่างเช่น แมลงเม่า แมลงวัน แมลงปอ ด้วงปีกแข็ง เป็นต้น และกินแมลง 1 – 2 กรัม / วัน หรือประมาณ 27 – 32 ตัว

สายตาของนางแอ่น มีจุดโฟกัสด้วยกัน 2 จุด ทำให้มองเห็น ด้านหน้า – ด้านข้าง ได้ชัดเจน ช่วยในการติดตามเหยื่อแม่นยำ นอกจากทักษะการบินเก่ง หาอาหารเก่งแล้ว ยังดึงดูดคู่ผสมพันธุ์ได้ดี มีอาณาเขตเป็นของตนเอง โดยการสร้างรัง เป็นอาณานิคมขนาดเล็ก และอยู่รวมกันเป็นฝูง เพื่อปกป้องตัวเองจากนักล่า

เผยทุกข้อสงสัย นกนางแอ่น ที่คนเข้าใจผิด!

นกนางแอ่น

คำถามที่หลายคนยังค้างคาใจ กับชื่อเรียกที่พูดต่อกันมานาน ว่าคือนกนางแอ่น หรือนกแอ่น ตกลงแล้วคือนกอะไรกันแน่? ซึ่งแน่นอนว่า จากความเข้าใจผิด อาจส่งผลต่อการ นำรังนกมาบริโภค ในปัจจุบันมีธุรกิจรังนก เป็นที่นิยมอย่างมาก โดยความจริงแล้ว นกทั้งสองชนิดนี้ แตกต่างกันหรือไม่ พามาค้นหาคำตอบ

นกนางแอ่น & นกแอ่น ต่างกันอย่างไร

เปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างนกนางแอ่น กับนกแอ่น ไม่ใช่นกตัวเดียวกัน สามารถจำแนกตาม ลักษณะทางกายภาพ และลักษณะการบิน รายละเอียดดังนี้

  • นางแอ่น (Swallow) : สีขนด้านหลังเป็นสีน้ำตาล ด้านล่างสีอ่อนกว่า เป็นนกประเภทหางยาว เมื่อกางปีกออกเป็นทรงเว้า มีฐานปีกกว้างชัดเจน ปลายปีกแหลม เป็นรูปสามเหลี่ยม ทักษะการกระพือปีกช้า และหากินทุกระดับ ตั้งแต่พื้นดิน ถึงระดับสูงกลางอากาศ
  • นกแอ่น (Swifts) : สีขนทั้งตัวเป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม เป็นนกชนิดหางยาว ทรงปีกแบบกรรไกร มีปีกแคบและยาว โค้งไปด้านหลัง เป็นทรงเหมือนบูมเมอแรง ทักษะการกระพือปีก ค่อนข้างถี่และรวดเร็ว ทั้งยังหากินในระดับสูง จากพื้นดินอย่างมาก จะลงมาระดับต่ำ เพื่อกินน้ำเท่านั้น

ที่มา: นกแอ่น หรือนกนางแอ่น [2]

รังนก นางแอ่น กินได้ไหม?

ทำความเข้าใจกับเรื่อง รังนก โดยมีทั้งแบบกินได้ และแบบกินไม่ได้ หากถามว่ารังของนกนางแอ่น กินได้หรือไม่? คำตอบคือ “ไม่สามารถกินได้” เนื่องจากว่า คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นนกชนิดเดียวกัน จึงส่งผลต่อการเก็บรังมากิน หรือเรียกกินรังนกแบบผิด ๆ โดยมีความแตกต่าง ดังต่อไปนี้

  • รังนกกินไม่ได้ : รังของนกนางแอ่น คนท้องถิ่นเรียกกันว่า นกแอ่นขี้ควาย ไม่สามารถนำรังมาบริโภคได้ เพราะสร้างรังจาก ขนนก เศษไม้ เศษหญ้า และดิน สามารถพบเจอรังได้ทั่วไปในไทย
  • รังนกกินได้ : รังของนกแอ่น สามารถบริโภคได้ เพราะรังถูกสร้างจาก น้ำลาย ประกอบไปด้วย สารอาหารพิเศษมากมาย โดยในประเทศไทย พบนกแอ่น 2 กลุ่ม คือ นกแอ่นรังขาว (รังน้ำลายสีขาวสะอาด ราคาแพง) และ นกแอ่นรังดำ (รังน้ำลายมีขนผสม ต้องผ่านการทำความสะอาด)

ที่มา: คุณประโยชน์รังนกหลายคนอาจยังไม่รู้ [3]

สรุป นกนางแอ่น “Swallow”

นกนางแอ่น ชาวบ้านท้องถิ่นเรียกกันว่า นกอีแอ่น ลักษณะคล้ายกับนกกระจอก มีหลากหลายสายพันธุ์ สีสันสวยงาม กระจายอยู่ในป่าธรรมชาติทั่วโลก มีทักษะการบิน และหาอาหารค่อนข้างเก่ง เป็นนกคนละชนิดกับนกแอ่น และไม่สามารถนำรังนกมาบริโภคได้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง