คู่มือความรู้ นกประจำถิ่น ความหลากหลายทั่วทุกทวีป

นกประจำถิ่น

นกประจำถิ่น ศูนย์รวมความรู้ เกี่ยวกับนกเฉพาะถิ่น รวมทั้งหมด 10 ชนิด จากประเทศต่าง ๆ และหลากหลายทวีปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น นกป่าสีสันสวยงาม นกเจอยากประชากรเหลือน้อย นกกินพืชผลไม้ รวมทั้งนกล่าสัตว์ขนาดเล็ก เหมาะกับคนชอบดูนก

วิถีชีวิตแห่งนก นกประจำถิ่น คืออะไร?

นกประจำถิ่น (Resident) คือ ชนิดของนกที่สามารถพบเห็น แหล่งอยู่อาศัย การหาอาหาร การผสมพันธุ์ และการวางไข่เลี้ยงลูก ในเขตป่าหรือภูมิภาค แบบเฉพาะเจาะจง ของประเทศนั้น ๆ ตลอดทั้งปี โดยไม่มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน ทั้งยังสามารถกระจายสายพันธุ์ ไปได้หลายพื้นที่ [1]

การสังเกตและจำแนก นกประจำถิ่น

การสำรวจและส่องนก เป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และการค้นพบ นกชนิดต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถจำแนกนกได้ว่า นกสายพันธุ์ไหน เป็นนกประจำท้องถิ่น หรือเป็นนกสายพันธุ์ใหม่ โดยมีรายละเอียด สำหรับการศึกษา ดังต่อไปนี้

  • แบ่งนกที่ค้นพบแล้วในไทย และไม่ถูกค้นพบ : ตามข้อมูลการจำแนกของ Bird of Thailand แบ่งออกเป็นกลุ่มนก 20 ประเภท ตามลักษณะภูมิประเทศ

ยกตัวอย่างเช่น ประเภท Palearctic – Africa (นกอพยพ ผ่านบริเวณอาร์กติก หรือบริเวณขั้วโลกเหนือ ลงสู่แอฟริกา), ประเภท Sundaic Resident (นกประจำท้องถิ่น เขตซุนดรา) และ ประเภท Indochinese Resident (นกประจำท้องถิ่น เขตอินโดจีน) ซึ่งนกทั้งหมด มีโอกาสที่จะพบเจอได้ในไทย

  • จำแนกตามลักษณะทางกายภาพ : จากกลุ่มขนนก สีขนนก หงอน รูปร่าง หาง สีเล็บนก และเสียงร้องของนก เป็นต้น โดยนกประเภทเดียวกัน มีทั้งสังเกตได้ง่าย และค่อนข้างยากเช่นกัน
  • จำแนกจากเส้นทางการบิน : เส้นทางการบิน จัดว่าเป็นปัจจัยสำคัญ โดยถูกจำแนกไว้ตามการอพยพ สำหรับในประเทศไทย อยู่ในกลุ่มของ East Asian – Australasian Flyway คือ เส้นทางที่นกมีโอกาสหลงเข้ามา ในรอบประเทศเพื่อนบ้าน แต่ยังไม่พบเจอในไทย
  • ศึกษาแหล่งที่พบเจอนกในไทย : ส่วนมากแล้ว สามารถเจอนกได้ ทางภาคเหนือ และภาคใต้ของไทย แต่ต้องมีการสังเกตอย่างละเอียด เพราะมีลักษณะคล้ายกันมาก ให้เน้นค้นหาในภูมิประเทศ ที่คาดว่านกอาศัยอยู่ รวมถึงศึกษานก ในภูมิศาสตร์ใกล้เคียงไว้ด้วย

ที่มา: คุณเองก็เป็นได้นะ ผู้ค้นพบนกใหม่เมืองไทยน่ะ [2]

สำรวจประชากร นกประจำถิ่น

รายงานการสำรวจประชากร นกประจำท้องถิ่นไทย เนื่องด้วยทุกวันที่ 5 มกราคม เป็นวันนกแห่งชาติ (National Bird Day) ร่วมให้ทุกคนตระหนักถึงคุณค่า และการอนุรักษ์นก ที่มีผลกระทบ ทำให้ประชากรลดลง โดยเปิดเผยการรายงาน ประจำปี พ.ศ. 2567 ในประเทศไทย มีประชากรรวม 1,011 Species

โดยนกในไทยถิ่นเดียว จะมีปริมาณน้อยกว่า นกอพยพ เพราะมีชายแดนติดกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ค่อนข้างหลายประเทศ ซึ่งนกสวยงาม ถูกนำไปเป็นสัตว์เลี้ยง หรือเป็นนกป่า ที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกท้องถิ่นชนิดเดียว ที่พบแค่ในประเทศไทยเท่านั้น [3]

แหล่งข้อมูล นกประจำถิ่น หลากหลายทวีป

นกประจำถิ่น

รวมรายชื่อของนก ประจำท้องถิ่นทุกประเภท โดยมีแหล่งกำเนิดในไทย และในประเทศต่าง ๆ ทั้งทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป รวมถึงอนุทวีปอินเดีย แนะนำนกหาง่าย และนกพบเจอได้ยาก เหมาะสำหรับคนชอบศึกษาเรื่องนก เฉพาะภูมิประเทศเจาะจง

นกพื้นเมืองกินพืชผลไม้

คัดเลือกนกพื้นเมือง ถิ่นกำเนิดและอาศัย อยู่ในประเทศไทย และในทวีปเอเชีย ดังต่อไปนี้

  • นกแก้วโม่ง : นกแก้วอเล็กซานดริน ถิ่นกำเนิดจากทวีปเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กินเมล็ดพืช ผลไม้หลากหลายชนิด และใบไม้อ่อนเป็นหลัก มีอายุขัยยาวนาน มากกว่า 30 – 40 ปี
  • นกแว่นตาขาว : นกตาขาวของสวินโฮ แหล่งอาศัยหลักในทวีปเอเชีย กินน้ำหวานดอกไม้ และเกสรดอกไม้ เป็นอาหารหลัก พบในไทยเพียงแค่ 4 Species เท่านั้น
  • นกปากนกแก้ว : นกขนาดเล็กสีน้ำตาลส้ม ถิ่นฐานกำเนิดในทวีปเอเชีย กินผลไม้ เปลือกไม้ เมล็ดพืชเป็นหลัก รวมถึงแมลงขนาดเล็ก พบเจอในประเทศไทย ทั้งหมด 8 Species

นกท้องถิ่นกินสัตว์ขนาดเล็ก

จัดสรรบรรดานกท้องถิ่น พบเห็นได้ง่ายและยาก แค่ในบางพื้นที่ จากหลากหลายทวีป มีดังนี้

  • เหยี่ยวขาว : นกนักล่าขนาดเล็ก พบมากในออสเตรเลีย กินสัตว์ขนาดเล็ก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นหลัก ประมาณ 90% และมีแนวโน้มประชากรเพิ่มขึ้น กระจายอยู่ในหลายทวีป
  • นกหัวขวาน : นกขนาดเล็ก มีลวดลายเด่นชัด เป็นสีดำ ขาว และแดง ความสามารถพิเศษ ใช้หัวเจาะต้นไม้ให้เป็นโพรง เพื่อหาหนอน แมลง และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก กินเป็นอาหาร
  • นกอินทรีฟิลิปปินส์ : อินทรีกินลิง แหล่งกำเนิดเฉพาะเขตป่า ในประเทศฟิลิปปินส์เท่านั้น มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีอาหารหลัก คือ ลิงหลากหลายชนิด นก งู และตัวเงินตัวทอง
  • นกกระเต็น : นกสีสันสวยงามขนาดเล็ก พบเจอในป่าเขตร้อน มีแหล่งน้ำสงบ ของทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ชอบจับปลากินเป็นหลัก และสัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง
  • นกกาเหว่า : นกปรสิต ไม่ชอบเลี้ยงลูก อาศัยส่วนมากในทวีปเอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย รวมทั้งหมด 150 Species ชอบกินแมลง นกเล็ก สัตว์เลื้อยคลาน และผลไม้บางชนิด
  • นกกะปูด : นกสีดำน้ำตาลชัดเจน กระจายสายพันธุ์ในทวีปเอเชีย โดยพบในไทย 2 Species ชอบกินสัตว์น้ำเป็นอาหารหลัก โดยเฉพาะปลา รวมถึงสัตว์เลื้อยคลาน และผลไม้สุกหล่น
  • นกกางเขนบ้าน : นกกินแมลงขนาดเล็ก แหล่งอาศัยในทวีปเอเชีย และอนุทวีปอินเดีย พบในไทยแค่ 3 Species เน้นการจับอาหารตามพื้นดิน ด้วยกระโดดไล่จิกแมลง และหนอน

 

สรุป นกประจำถิ่น “Resident”

นกประจำถิ่น คู่มือรวบรวมความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกลุ่มนก ประจำท้องถิ่น จากทุกทวีปทั่วโลก บ่งบอกถึงวิถีชีวิต ของนกแต่ละพื้นที่ การสังเกตและการจำแนกสายพันธุ์ สำรวจจำนวนประชากรล่าสุด และข้อมูลรายชื่อนกเฉพาะภูมิประเทศ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง