สำรวจ นกปากนกแก้ว นกตัวจิ๋วปากสั้นในป่าเอเชีย

นกปากนกแก้ว

นกปากนกแก้ว นกตัวจิ๋วน่ารัก แต่หลายคนมักเข้าใจผิด คิดว่าเป็นนกแก้วชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรูปทรงของปาก คล้ายกันมาก จนเป็นที่มาของชื่อ “เจ้านก ปากนกแก้ว” แท้จริงแล้ว จะใช่เครือญาติกันหรือไม่ มีความแตกต่างกันอย่างไร พามาชมความสวยงาม และ ข้อมูลความรู้อีกมากมาย

รู้จักกับ นกปากนกแก้ว เหมือนนกแก้วหรือไม่?

นกปากนกแก้ว (Parrotbill) นกกินแมลงขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์ของนก Paradoxornithidae มีถิ่นฐานกำเนิด ในทวีปเอเชียเป็นหลัก โดยมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ นกนางแอ่น ที่อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทางตะวันตก พบเจออาศัยอยู่ตามป่าไม้ และป่าดงกก ถูกอธิบายสายพันธุ์ จากนักชีววิทยา ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1990 [1]

จำแนกสายพันธุ์หลัก นกปาก นกแก้ว

นกสายพันธุ์ ปากนกแก้ว มีความสัมพันธ์ด้านวิวัฒนาการ เหมือนกับ นกจาบคา ลักษณะภายนอก ใกล้เคียงอย่างมาก สามารถสันนิษฐานได้ว่า มีบรรพบุรุษร่วมกัน โดยแบ่งสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด 38 สายพันธุ์ และ 9 สกุล ตามการจัดอันดับของ IOC ดังต่อไปนี้

  • Pycnonotidae : นกบูลเบิร์ด (160)
  • Sylviidae : นกปรอดหัวขวาน (34)
  • Paradoxornithidae : นกปากห่าง และนกไมซอร์นิส (38)
  • Zosteropidae : นกแว่นตาขาว (146)
  • Timaliidae : นกจาบคา (56)
  • Pellorneidae : นกจาบคา (65)
  • Alcippeidae : นกมุ่นรกตาแดง (10)
  • Leiothrichidae : นกปรอดหัวโขน และนกชนิดที่เกี่ยวข้อง (133)

ลักษณะและนิสัยตามธรรมชาติ

นกขนาดตัวเล็ก ขนสีน้ำตาล โดยมีขนาดลำตัว เพียง 18 เซนติเมตร ส่วนหัวเป็นสีน้ำตาลส้ม หรือสีน้ำตาลเหลือง มีลวดลายสีดำ แตกต่างกันตามสายพันธุ์ รอบดวงตาเป็นขน สีฟ้าอ่อนแกมเทา จะงอยปากสั้น เหมือนนกแก้ว สำหรับลำตัวส่วนล่าง เป็นสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน หางยาวปานกลาง และมีขาเป็นสีเทา [2]

นิสัยกับพฤติกรรม เป็นนกเกาะคอนไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก มักส่งเสียงร้องดังเป็นชุด ก้องกังวาน ได้ยินในระยะไกล ทั้งยังชอบกระโดดไปมา ระหว่างกิ่งไม้ ไม่ค่อยชอบอยู่นิ่ง ๆ แต่จะมีเพียงสายพันธุ์ นกปากนกแก้วอกลาย เท่านั้น ที่มีพฤติกรรมการเกาะคอน นิ่งกว่าสายพันธุ์อื่น สามารถพบเห็นได้ค่อนข้างง่าย

แหล่งข้อมูลการดำรงชีวิต นกปากนกแก้ว

นกปากนกแก้ว

นกป่าสวยงามพื้นเมือง ของทวีปเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ จัดอยู่ในประเภท นกประจำถิ่น ดำรงชีวิตอยู่ใน ป่าเขตหนาว ป่าเขตอบอุ่น และ ป่าเขตร้อนชื้น แบบเป็นหลักแหล่ง ทั้งยังนับว่าเป็นนกท้องถิ่น สัญลักษณ์ของอุทยานแห่งชาติ ภูสวนทราย จังหวัดเลย คือ นกปากนกแก้วหางสั้น อีกด้วย

นกปากนกแก้ว พบในประเทศไทย

สำหรับการพบเจอนก ปากนกแก้ว ในป่าธรรมชาติของไทย มีด้วยกัน 8 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติ หรือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แถบภูมิภาคเหนือ ตามรายชื่อดังนี้

  • ปรอดหัวเหลือง (Yellow-Eyed-Babbler) : พบมากในเขตดอยเชียงดาว
  • ปากนกแก้วอกลาย (Spot-Breasted-Parrotbill) : อาศัยอยู่ตามดอยลังกาหลวง
  • ปากนกแก้วหัวเทา (Grey-Headed-Parrotbill) : แหล่งอาศัยหลักที่ดอยลังกาหลวง
  • ปากนกแก้วหัวแดง (Rufous-Headed-Parrotbill) : พบเจอในบริเวณ อุทยานแห่งชาติแม่เมย
  • ปากนกแก้วหางสั้น (Short-Tailed-Parrotbill) : อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย
  • ปากนกแก้วคอดำ (Black-Throated-Parrotbill) : แหล่งอาศัยในดอยลังกาหลวง
  • ปากนกแก้วหูดำ (Black-Eared-Parrotbill) : พบเฉพาะพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
  • ปากนกแก้วปากซีด (Pale-Billed-Parrotbill) : คือ สายพันธุ์ปากนกแก้วหัวแดงเล็ก กับสายพันธุ์ปากนกแก้วคิ้วดำ พบบริเวณดอยอ่างขาง อุทยานแห่งชาติแม่เมย และ ดอยลังกาหลวง

ที่มา: Thailand: Parrotbills and allies [3]

อัตราการพบนก ในต่างประเทศ

นอกจากนก ปากนกแก้ว สามารถพบเห็นได้ง่ายในไทย แต่ในต่างประเทศ บางชนิดอาจพบเห็นได้ยาก เนื่องด้วยสภาพแวดล้อม ไม่ค่อยเหมาะสม ซึ่งแน่นอนว่าเป็น นกประจำพื้นที่ป่าเอเชีย สำหรับในรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย รายงานการพบเห็น “นกปากนกแก้วคอดำ” ประมาณ 10 ตัว ที่หายจากผืนป่า ไปนานกว่า 170 ปี

กำลังออกหากิน อยู่ท่ามกลางป่า ทางตอนเหนือ ของอนุทวีปอินเดีย ซึ่งส่วนมาก อยู่ในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งการพบเจอครั้งสุดท้าย มีรายงาน ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1851 หลังจากนั้น ก็ไม่มีการบันทึกอีกเลย รวมถึงในประเทศจีน “นกปากนกแก้วต้นกก” จัดเป็นนกใกล้สูญพันธุ์ ตามบัญชีแดงของ IUCN

สรุป นกปากนกแก้ว “Parrotbill”

นกปากนกแก้ว นกป่าตัวเล็ก สีน้ำตาลสวยงาม ปากคล้ายกับนกแก้ว แต่รูปร่างเหมือนนกจาบคา หนึ่งในนกพื้นเมืองของทวีปเอเชีย กระจายไปทั่วป่าไม้ ป่าดงกก มีหลากหลายชนิด อยากเห็นตัวเป็น ๆ สามารถชมนกได้ ในเขตป่าภาคเหนือ ของประเทศไทย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง