สัตว์เลี้ยงสวยงาม นกยูงไทย ราชินีแห่งนกสวยงามหายาก

นกยูงไทย

นกยูงไทย คนส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดี หนึ่งในสัตว์ป่าสีสันงดงาม โดยเฉพาะปีกและหางของตัวผู้ กางออกสวยงามราวกับใบพัด ซึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ว่า สามารถเป็นสัตว์เลี้ยงได้อย่างถูกกฎหมาย ทั้งยังมีเพียงไม่กี่สายพันธุ์เท่านั้น เราพามารู้จักและรอบรู้ เกี่ยวกับนกยูงสายพันธุ์ไทย และแนวทางการเลี้ยงนกยูง

นกยูงไทย สัตว์ป่าสวยงามและหายากของโลก

นกยูงไทย (Green Peafowl) หรือเรียกว่า นกยูงสีเขียว สัตว์ปีก จำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ ถิ่นกำเนิดจากป่าเขตร้อน ทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคอินโดจีน โดยมีเชื้อสายใกล้ชิดกับ นกยูงอินเดีย หรือถูกเรียกว่า นกยูงสีฟ้า พบเห็นบ่อยในอนุทวีปอินเดีย อาศัยตามป่าดิบแล้ง และป่าผลัดใบผสม

การกระจายสายพันธุ์ อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย ทางตะวันออกของประเทศพม่า ทางตอนใต้ของประเทศจีน รวมถึงประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถูกบันทึกว่าให้เป็น สัตว์ป่าคุ้มครองของไทย และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ตามบัญชีแดง IUCN ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 [1]

การแบ่งสายพันธุ์ของนกยูง

การแบ่งสายพันธุ์ของนกยูงทั่วโลก มีจำนวนทั้งหมด 39 ชนิด โดยแบ่งย่อยตามลักษณะสีขน และแหล่งที่อยู่อาศัย ออกเป็น 3 ชนิดย่อย ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • นกยูงไทย (Green Peafowl) : ลักษณะตัวผู้และตัวเมีย สีขนเป็นสีเขียวเข้ม มีหงอนพู่ตั้งตรง ตัวผู้จะมีขนสวยงามเป็นพิเศษ เพื่อแผ่ขยายอวดตัวเมีย เรียกกว่า การรำแพน มีลำคอยืดสูงกว่าชนิดอื่น แก้มสีเหลืองเด่นชัด และมีปีกสีน้ำเงินเขียว สำหรับความยาวรวมหาง ประมาณ 1.1 – 3 เมตร น้ำหนักประมาณ1 กิโลกรัม และมีช่วงปีกกว้าง 1.2 เมตร
  • นกยูงอินเดีย (Indian Peafowl) : ลักษณะของตัวผู้ สีขนเป็นสีน้ำเงินสดใส ส่วนตัวเมีย เป็นขนสีน้ำตาล มีหงอนพู่ตั้งขึ้นเป็นใบพัด ซึ่งมีขนาดตัวเล็กกว่า นกยูงไทยเล็กน้อย แก้มสีขาว และปีกสีขาวดำสลับกัน สำหรับความยาวถึงหาง ประมาณ 1.5 เมตร พร้อมขนปกคลุม ประมาณ 170 – 200 เส้น
  • นกยูงคองโก (Congo Peafowl) : ลักษณะตัวผู้ จะมีท้องเป็นสีน้ำเงินดำ มีหงอนสีขาว ส่วนตัวเมีย จะมีท้องเป็นสีแดงผสมน้ำตาล และมีหงอนสีน้ำตาล ซึ่งมีขนาดตัวเล็กกว่าชนิดอื่น รวมถึงตัวผู้มีรูปร่างอ้วนสั้น และจะไม่มีขนหางยาว

ทั้งนี้ในปัจจุบัน การเลี้ยงนกยูงไทย และนกยูงอินเดีย ได้รับความนิยมอย่างมาก จนมีนกยูงอินเดียเข้ามาอยู่ ในป่าธรรมชาติมากขึ้น จึงเกิดการผสมสายพันธุ์ ถูกเรียกกว่า นกยูงลูกผสม

  • นกยูงลูกผสม (Hybrid Peafowl) : การผสมสายพันธุ์ระหว่าง นกยูงไทยกับนกยูงอินเดีย ลักษณะของตัวเมีย จะมีขนสีน้ำตาล ส่วนตัวผู้มีขนสีน้ำเงิน ปลายหงอนเป็นขน (ได้มาจากนกยูงอินเดีย) และมีหงอนพู่เกือบตั้งตรง (ได้มาจากนกยูงไทย)

ที่มา: นกยูงบนโลกนี้มี 3 ชนิด! [2]

พฤติกรรมและการสืบพันธุ์

นกยูงสวยงามของไทย มีพฤติกรรมการออกหากิน ในช่วงเวลาเช้าตรู่จนถึงช่วงบ่าย ตามหาดทราย และสันทรายริมลำธาร และมักกลับมานอนพัก อยู่บนยอดต้นไม้สูง ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก 2 – 6 ตัว หรืออาจเป็นฝูงใหญ่มากถึง 10 ตัว (ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง) ปัจจุบันพบมากกว่า 400 ตัว

การสืบพันธุ์ของนกยูงไทย เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน – เมษายน โดยตัวเมียจะเริ่มออกหากิน ในเขตแดนของตัวผู้ และตัวผู้จะเข้ามาหากินในฝูงด้วยเช่นกัน พร้อมแสดงการรำแพนหาง กางปีกสวยงามข้างลำตัว ชูคอขั้นสูง และเดินหมุนรอบตัวเมีย ประมาณ 5 – 10 นาที โดยตัวเมียใช้เวลาการฟักไข่ 26 วัน วางไข่ครั้งละ 3 – 6 ฟอง และหลังจากผ่านไป มากกว่า 6 เดือน ลูกนกยูงจะออกหากินเองตามลำพัง

นกยูงไทย สัตว์เลี้ยงเฉพาะจากป่าเขตร้อนเอเชีย

นกยูงไทย

นกยูงสายพันธุ์ไทย นับว่าเป็นสัตว์ป่ากลุ่ม สัตว์ปีกสวยงาม เต็มไปด้วยความสง่างามในตัวเอง ยิ่งถ้าหากเลี้ยงตั้งแต่วัยเด็ก จะค่อนข้างเชื่อง และเป็นมิตร ทั้งยังเป็นสัตว์มีอายุขัยยาวนาน 40 – 50 ปี ดังนั้นคนที่สนใจเลี้ยงนกยูง จึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจอย่างละเอียด รวมถึงการเลี้ยงอย่างถูกกฎหมายด้วย

แนวทางการเลี้ยงนกยูงไทย

ที่พักสำหรับนกยูง เป็นกรงมาตรฐานขนาดใหญ่ ควรมีขนาดมากกว่า 4 x 4 เมตร ความสูงประมาณ 2.50 – 3 เมตร โดยจำเป็นต้องมีอุปกรณ์การเลี้ยง คือ คอนไม้สำหรับนก เพราะเป็นสัตว์บินขึ้นลง เกาะนอนอยู่บนคอน ควรห่างจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร และพื้นในกรงควรเป็นทรายละเอียด

อาหารนกยูงไทย สามารถกินได้เช่นเดียวกับไก่ ทั้งพืชและสัตว์เล็ก หรืออาหารสำเร็จรูป อย่างเช่น เมล็ดหญ้า ธัญพืช ยอดอ่อนหญ้า ผลไม้สุก แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน เป็นต้น แนะนำให้อาหารหลัก 1 ครั้ง / วัน เท่านั้น รวมถึงมีน้ำสะอาดเปลี่ยนใหม่ทุกวัน

การซื้อขาย นกยูงไทย ทำได้หรือไม่?

กลุ่มสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่สามารถครอบครอง และซื้อขายในตลาดเฉพาะกลุ่มได้ ซึ่งต้องมีการแจ้งเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ และมีเอกสารอนุญาตการเลี้ยง การเพาะพันธุ์ และการจำหน่าย โดยนกยูงไทยนิยมเลี้ยงเพียง 5% ส่วนอีก 95% นิยมเลี้ยงนกยูงอินเดีย เพราะนกยูงอินเดีย ไม่ต้องขอใบอนุญาต จึงนิยมเลี้ยงมากกว่า

ราคาซื้อขายของนกยูงไทย โดยในยุคที่ยังไม่เป็นที่นิยม ราคาเริ่มต้นเพียง 1,500 บาท / ตัว สำหรับในปัจจุบัน ราคาเพิ่มสูงขึ้น สามารถซื้อขายกันในราคา 3,500 บาท / ตัว โดยมีอายุไม่เกิน 2 เดือน

ในขณะที่ราคาของนกยูงอินเดีย ได้รับความนิยมอย่างมาก ราคาเริ่มต้นที่ 4,000 บาท / คู่ และสีสายพันธุ์พัฒนา Cameo Black Shoulder สำหรับเพศเมีย อาจมีราคาสูงมากถึง 20,000 / คู่ [3]

สรุป นกยูงไทย “Green Peafowl”

นกยูงไทย สัตว์ป่าสวยงามและหายาก จำพวกไก่ฟ้า สง่างามคล้ายกับ ไก่ฟ้าสีทอง พบมากในป่าเขตร้อน หนึ่งในสัตว์คุ้มครองของไทย และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ สามารถเป็นสัตว์เลี้ยงได้ โดยขอใบอนุญาตจากกรมป่าไม้ นิยมเลี้ยงเฉพาะกลุ่ม ราคาซื้อขายค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับคนที่มีความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง