นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร นกที่มีชื่อพระราชทานงดงาม พูดถึงแล้วยังจำกันได้อยู่หรือไม่? ลองนึกย้อนกลับไปสมัยเรียน ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งใน สัตว์ป่าสงวน ของประเทศไทย ซึ่งมีเพียงแค่ 2 ชนิด บนโลกเท่านั้น พามาเรียนรู้กับ โลกของนกหายาก พฤติกรรมการใช้ชีวิต การค้นพบครั้งแรก และ อัตราการสูญพันธุ์ในไทย
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (White Eyed River Martin) หรือเรียกกันว่า “นกตาพอง, นกนางแอ่นตาขาว” ชนิดนกเกาะคอน ประเภท สัตว์ปีก โดยเป็นหนึ่งในสกุลของ นกนางแอ่นแม่น้ำ และ นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา พบได้มากในลุ่มน้ำคองโก ทวีปแอฟริกา และ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ในประเทศไทย [1]
ลักษณะทางกายภาพ ของนกเจ้าฟ้าหญิง สิรินธร ค่อนข้างแยกออกได้ชัดเจน จากนกนางแอ่นทั่วไป โดยเป็นนกนางแอ่น ขนาดกลาง ความยาวจรดหาง ประมาณ 15 cm. เฉพาะความยาวหาง มากกว่า 9 cm. ส่วนบริเวณสะโพก เป็นลายคาดสีขาวเด่นชัด ส่วนของตีนนก สีเหลืองอ่อน ขนาดใหญ่ และมีความแข็งแรง
ส่วนคางมีกระจุกสีดำ เหมือนกับกำมะหยี่ ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน หรือเขียว หางกลมมน มีขนเป็นคู่กลาง ลักษณะขนเป็นเส้นเรียวยาว สีน้ำตาลซีด ประมาณ 8.75 cm. ดวงตากลมโต มีวงล้อมรอบดวงตา เป็นสีขาวหนา และส่วนของปาก เป็นสีเหลืองแกมเขียว ซึ่งนกทั้งเพศผู้ และเพศเมีย จะคล้ายคลึงกันอย่างมาก [2]
นกตาพอง มีพฤติกรรมตามธรรมชาติ เหมือนกับนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา โดยการทำรังนอนอยู่ตามโพรง แถวตลิ่งทรายริมแม่น้ำ ซึ่งในช่วงฤดูหนาว จะอาศัยเกาะนอน อยู่กับฝูงนกนางแอ่นทั่วไป หรือบางครั้ง อาจพบเห็นในกลุ่มของ นกกระจาบ และ นกจาบปีกอ่อน
ลักษณะการบิน จะเป็นการบินแบบลอยตัว แต่จะไม่รวดเร็วเท่ากับ นกนางแอ่นสายพันธุ์อื่น และชอบเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ หรือต้นไม้เป็นพุ่มใหญ่ เคยพบเห็นตามใบอ้อ และใบสนุ่น ในประเทศไทย หรือบางตัวอาจชอบ การเดินบนพื้นดิน มากกว่าการเกาะคอน
การผสมพันธุ์และการวางไข่ จะเกิดขึ้นในช่วง เดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม ก่อนที่จะมีฝนตกหนักจากมรสุม ที่ส่งผลให้มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น โดยเพศเมียวางไข่ เพียง 2 – 3 ฟอง / ครั้ง พบแหล่งการทำรัง และการวางไข่ บริเวณริมแม่น้ำขนาดใหญ่ หรือหนองบึงที่อุดมสมบูรณ์
นกนางแอ่นลึกลับ ที่พบเจอได้ยากมากในไทย รวมถึงในทวีปแอฟริกา กลายเป็นหนึ่งใน สัตว์ปีกหายาก และเป็นสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และมีการรำลึกถึงการค้นพบ นกชนิดสำคัญของไทย ด้วยการเปลี่ยนโลโก้เว็บ Google เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี อีกด้วย
สัตว์ป่าสงวนของไทย “นกเจ้าฟ้าหญิง สิรินธร” นับว่าเป็นนกชนิดเดียว ที่ถูกค้นพบโดยคนไทย เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2523 ของนักชีววิทยา นายกิตติ ทองลงยา จากการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับเส้นทางการอพยพ ย้ายถิ่นฐานของนก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ร่วมกับนักปักษีวิทยา ประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย
ซึ่งได้รับการพระราชทานนาม โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา เพื่อการเทิดทูนพระเกียรติ ที่เป็นผู้สนพระทัย ในด้านธรรมชาติวิทยาเป็นอย่างสูง และมีชื่อสามัญ ตามลักษณะทางกายภาพ ซึ่งเป็นชื่อนกนางแอ่นตาขาว อาศัยอยู่ตามแม่น้ำนั่นเอง
นกเจ้าฟ้าฯ หรือนกตาพอง ตามภาษาที่ชาวบ้านนิยมเรียก เป็นนกเฉพาะถิ่น ในเมืองไทย เนื่องจากพบได้แค่ที่ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เพราะเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่ง ในเขตห้ามล่าสัตว์ ซึ่งได้รับความสนใจ เป็นอย่างมาก ของคนที่อยากชมนก
แต่ถึงอย่างไร นับตั้งแต่วันแรก ที่มีการพบเจอ ภายหลังต่อมา ก็มีชาวบ้านพบเห็นอีก จำนวน 3 ครั้ง รวมทั้งหมดเป็น 6 ตัว เท่านั้น จึงส่งผลให้การท่องเที่ยว ในบึงบอระเพ็ด ค่อนข้างเงียบเหงา ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้ทาง IUCN จัดตั้งให้นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร อยู่ในกลุ่มของ สัตว์ป่าเสี่ยงสูญพันธุ์ (Critically Endangered)
โดยอัตราของนกเจ้าฟ้าฯ ที่มีประชากรลดลง อาจเป็นเพราะ การบุกรุกที่อยู่อาศัย และมีลักษณะคล้ายกับ นกนางแอ่นทั่วไป จึงอาจทำให้หลายคนเข้าใจผิด จับมารวมกัน เพื่อนำมาบริโภคเป็นอาหาร หรือขายเป็นนกปล่อย สำหรับการทำบุญในวัด ซึ่งในปัจจุบัน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ก็ยังไม่มีคนพบเจออีกเลย [3]
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ตระกูลนกนางแอ่น สัตว์ป่าเสี่ยงสูญพันธุ์ และ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่นเดียวกับ เป็ดหงส์ และ ห่านหัวลาย ด้วยลักษณะคล้ายกับ นกนางแอ่นสายพันธุ์ทั่วไป ทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิด มีเพียงแค่ผู้รอบรู้ ทางธรรมชาติ ที่จะเห็นความแตกต่างได้ ในประเทศไทยจึงไม่พบ นกตาพอง มาจนถึงทุกวันนี้