นกเพนกวิน นกน่ารักตัวสั้นป้อม ที่หลายคนหลงรัก สัญลักษณ์แห่งทวีปแอนตาร์กติกา ขั้วโลกใต้ หนึ่งในสัตว์ที่มีคุณค่าทางระบบนิเวศ และวัฒนธรรม พามาเรียนรู้เกี่ยวกับ เพนกวินหลายสายพันธุ์ เรื่องชวนทึ่งสุดแปลก และอัตราการเสี่ยงสูญพันธุ์ ที่ไม่ควรมองข้าม
นกเพนกวิน (Penguin) นกชนิดหนึ่ง ประเภท สัตว์ปีกบินไม่ได้ จัดอยู่ภายใต้วงศ์ Spheniscidae แหล่งอาศัยของเพนกวิน เกือบทุกชนิด อยู่ในขั้วโลกใต้ แต่จะมีเพียง 1 สายพันธุ์ คือ เพนกวินกาลาปาโกส เพนกวินชนิดเดียวเท่านั้น ที่พบได้เฉพาะบริเวณ เหนือเส้นศูนย์สูตรของโลก [1]
การจำแนกสายพันธุ์ แบ่งเป็น 6 สกุล ประมาณ 19 – 20 ชนิด ทั้งยังมีสายพันธุ์ ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 40 ชนิด ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีความสัมพันธ์ กับมนุษย์มานาน เนื่องจากว่าสมัยอดีต เป็นนกใช้บริโภคเนื้อ ซึ่งในปัจจุบัน กลายเป็นสัตว์เลี้ยง เพื่อการแสดงในสวนสัตว์ และ พื้นที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำมากมาย
เพนกวิน เป็นสัตว์มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กมากที่สุด คือ เพนกวินสีน้ำเงิน จากนิวซีแลนด์ ด้วยความสูงประมาณ 30 – 33 cm. ทั้งยังมีน้ำหนักตัวเพียง 1.2 – 1.3 kg. และเพนกวินขนาดใหญ่มากที่สุด คือ เพนกวินจักรพรรดิ จากทวีปแอนตาร์กติกา ด้วยความสูง 1.1 m. และน้ำหนักมากถึง 35 kg.
การอยู่อาศัยของเพนกวิน ซึ่งเพนกวินขนาดใหญ่ มักพบในพื้นที่อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ย ติดลบ 5 – 5 องศาเซลเซียส ส่วนเพนกวินขนาดเล็ก จะอาศัยอยู่ในพื้นที่อากาศอบอุ่น โดยลักษณะทั่วไปเพนกวิน รูปร่างป้อมสั้น มีขนสีดำด้านหลัง และขนสีขาวตรงช่วงท้อง มีปีกคล้ายครีบปลา สำหรับใช้ในการว่ายน้ำ
พฤติกรรมเป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่รวมกลุ่มกันเป็นฝูงใหญ่ บางครั้งอาจมากถึงหลักล้านตัว สามารถสื่อสารกันได้ โดยการใช้เสียงเตือนภัย และใช้ท่าทางประกอบ เพื่อการแสดงอารมณ์ ทั้งยังปรับตัวเข้ากับการว่ายน้ำ ได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว ซึ่งเพนกวินมีอายุขัย เฉลี่ยประมาณ 15 – 20 ปี
ท่องโลกของเจ้าเพนกวิน นกที่ขึ้นชื่อเรื่องความน่ารัก และความเก่งกาจ ด้านการว่ายน้ำ มีเรื่องราวน่าทึ่ง หรือเรื่องแปลกอะไรอีกบ้าง ดังต่อไปนี้
ที่มา: 9 เรื่องเกี่ยวกับเพนกวินที่คุณอาจยังไม่รู้ [2]
เพนกวินในปัจจุบัน หนึ่งในสัตว์ที่มีจำนวนลดลงต่อเนื่อง ประมาณ 60% หรือบางกลุ่มอาจมากถึง 77% ซึ่งล้วนมาจากระบบนิเวศ สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ภัยคุกคามจากอุตสาหกรรม ส่งผลให้เพนกวินเหลือน้อยลง จึงต้องร่วมกันปกป้อง พร้อมกับช่วยผลักดัน ให้เป็นเขตคุ้มครอง ระบบนิเวศทางทะเล
อาหารของเพนกวิน ชอบกินปลา เป็นอาหารมื้อหลัก ไม่ว่าจะเป็น ปลาแอนตาร์กติกซิลเวอร์ฟิช (Antarctic Silverfish) และปลาคอดน้ำแข็ง (Cod Icefishes) ทั้งยังชอบกินสัตว์ขนาดเล็ก อย่างเช่น กุ้งอาร์กติก และกุ้งแพลงก์ตอน รวมถึงกินปลาหมึก เป็นอาหารเสริม เช่น ปลาหมึกเกลเซีย และปลาหมึกตะขอหนาวยาว
ศัตรูทางธรรมชาติ เพนกวินมักตกเป็นอาหาร ของสัตว์นักล่าเหยื่อขนาดใหญ่ โดยจะเป็น วาฬออร์กา (วาฬเพชฌฆาต), แมวน้ำเสือดาว (เสือดาวทะเล), นกจมูกหลอดยักษ์ และสิงโตทะเล เนื่องจากว่าเนื้อเพนกวิน มีคุณค่าทางโภชนการสูง มีไขมันปริมาณแคลอรีสูงมาก ซึ่งจำเป็นกับความอยู่รอดของนักล่า
อยากเลี้ยงนก เพนกวิน สามารถเลี้ยงได้หรือไม่? หากมีสถานที่เลี้ยง ด้วยอุณหภูมิเย็นเหมาะสม คำตอบคือ ไม่สามารถครอบครองได้ เพราะจัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์ผิดกฎหมาย โดยเพนกวิน จะมีชีวิตอยู่ในอากาศหนาวเย็นจัด หรือเขตอบอุ่น ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ และ สวนสัตว์จัดแสดงสัตว์น้ำเท่านั้น
แต่เพนกวิน ถือว่าเป็นสัตว์ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง ทำให้กลุ่มอนุรักษ์ทางแอฟริกาใต้ มีโครงการเปิดรับอุปการะไข่เพนกวิน โดยไข่จะถูกดูแลอยู่ในมูลนิธิ เพื่อการอนุรักษ์ สายพันธุ์เพนกวิน เนื่องในโอกาส ฉลองเทศกาลอีสเตอร์ วันที่ 31 มีนาคม เป็นการซื้อ “ไข่อีสเตอร์เพนกวิน”
ซึ่งเราสามารถจ่ายเงิน เพื่อรับอุปการะไข่ใบนั้น มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง สามารถตั้งชื่อให้ลูกเพนกวินได้ ในสถานะผู้ปกครอง เพื่อเฝ้าดูการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง โดยจะใช้ระยะเวลา ประมาณ 4 เดือน แล้วจึงปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งหากไม่มีการช่วยเหลือ อาจส่งผลให้เพนกวินสูญพันธุ์ คาดการณ์ภายในปี พ.ศ. 2578 [3]
นกเพนกวิน สัตว์นักดำน้ำมืออาชีพ สัญลักษณ์สำคัญ ของทวีปแอนตาร์กติกา ผู้มีความสามารถพิเศษ ว่ายน้ำเก่งกาจ พรางตัวได้ดีในธรรมชาติ ทั้งยังจำเป็นต่อระบบนิเวศทางทะเล ในมหาสมุทรของโลก จัดเป็นนกอีกหนึ่งสายพันธุ์ ที่เข้าข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในปัจจุบัน