คู่มือสัตว์เลี้ยง นกเหยี่ยว นกนักล่าสัตว์แห่งน่านฟ้า

นกเหยี่ยว

นกเหยี่ยว หนึ่งในสัตว์นักล่าบนฟากฟ้า ที่ใช้เพียงแค่สายตา และทักษะการบินโฉบ อย่างรวดเร็วว่องไว หากอยากเลี้ยงในประเทศไทย เลี้ยงได้หรือไม่? และต้องเลี้ยงอย่างไร? พามาเรียนรู้วิถีชีวิต และรู้จักกันให้มากกว่าเดิม กับเหยี่ยวสายพันธุ์ต่าง ๆ รวมถึงราคาการซื้อขาย จากฟาร์มต่างประเทศ

เรื่องราวของ นกเหยี่ยว สัตว์นักล่าในทุกทวีป

นกเหยี่ยว (Falcon, Hawks) สัตว์นักล่าในสกุลของ Falco ตระกูลเหยี่ยว กระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกทวีป แต่ยกเว้นในทวีปแอนตาร์กติกา มีหลากหลายสายพันธุ์ ประมาณ 40 ชนิด ถูกค้นพบโดยนักธรรมชาติวิทยา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1758 [1] อาศัยอยู่ในประเทศไทยราว 10 ชนิด พบเห็นส่วนมาก คือ เหยี่ยวเพเรกริน เหยี่ยวนกเขา เหยี่ยวทะเล และเหยี่ยวดำ

ลักษณะเด่นชัดของ นกเหยี่ยว

ลักษณะรูปร่างของเหยี่ยว จะค่อนข้างคล้ายกับนกอินทรี ทำให้หลายคนมักเข้าใจผิด ซึ่งเหยี่ยวจะมีขนาดตัวเล็กกว่า โดยตัวผู้มีขนาดเล็กกว่า ตัวเมียเล็กน้อย ซึ่งมีความยาวของลำตัว ประมาณ 15 – 60 เซนติเมตร ความยาวของปีกกว้าง ประมาณ 50 – 150 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัว ประมาณ 50 – 1,500 กรัม [2]

ส่วนของใบหน้า มีจะงอยปากงุ้มเข้าหาตัว มีขนตามลำตัว ปกคลุมไปด้วยสีดำ สีน้ำตาล  สีส้ม หรือสีขาว มีกรงเล็บแหลมคม และแข็งแรงมาก สำหรับการล่าเหยื่อโดยเฉพาะ สามารถบินและโฉบได้อย่างรวดเร็ว ขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อหน้าอก และอัตราการกระพือปีก ประมาณ 321 – 563 กิโลเมตร / ชั่วโมง

พฤติกรรมการล่าเหยื่อ

นกนักล่าเหยื่อ เป็นสัตว์สังคม ชอบออกล่าพร้อมกัน มักออกหากินในช่วงเวลากลางวัน โดยการใช้สายตามองจากระยะไกล มีเทคนิคในการล่าด้วยกัน 3 รูปแบบ ได้แก่

  • การซุ่มโจมตี : เป็นสัตว์นักย่องเบา และเดินไวมาก หากอยู่บนพื้น จะเป็นการซุ่มอยู่ในพุ่มไม้ เคลื่อนตัวอย่างเงียบ ๆ และเมื่อเข้าใกล้เหยื่อ จะพุ่งเข้าตะครุบทันที
  • การโอบล้อม : การทำงานกันเป็นทีม โดยการเล็งเป้าหมาย จากระยะไกล แล้วให้เหยี่ยวเล็ก บินวนรอบให้เหยื่อตกใจ จากนั้นให้เหยี่ยวตัวหนึ่ง บินโฉบลงมาหลอกล่อ จนเหยื่อวิ่งหนีไปติดกับดัก ของกรงเล็บนักล่าตัวจริง
  • การบินไล่ให้หมดแรง : ใช้กับเหยื่อที่วิ่งเร็ว อย่างกระต่ายป่า เป็นการทำงานร่วมกัน เหมือนกับการวิ่งผลัด โดยเหยี่ยวตัวแรก ทำการบินไล่ตาม ในทุกระยะ 100 – 300 เมตร จะมีเหยี่ยวตัวใหม่ มาผลัดกันบินไล่ตามอย่างต่อเนื่อง จนสุดท้ายแล้ว เหยื่อวิ่งจนอ่อนล้า และเคลื่อนที่ช้าลง จนถูกจับกิน

นกเหยี่ยว สัตว์เลี้ยงนักล่ายอดนิยม

นกเหยี่ยว

สำหรับการเลี้ยงเหยี่ยว จัดอยู่ในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อความสวยงาม และสำหรับการฝึกล่า เพื่อแก้ปัญหานกพิราบ หรือสัตว์กินผลผลิตจากพืชจำนวนมาก ซึ่งการเลี้ยงในประเทศไทย จะต้องมีใบอนุญาตครอบครอง จากกรมป่าไม้ และใบอนุญาตการนำเข้า CITES จากต่างประเทศเท่านั้น

วิธีการเลี้ยง และประโยชน์ของเหยี่ยว

วิธีการเลี้ยง ต้องให้เหยี่ยวคุ้นเคยกับ สภาพแวดล้อมใหม่ โดยให้เกาะอยู่บนคานไม้ หรือกิ่งไม้ภายในบ้าน แล้วสวมถุงมือให้อาหาร เป็นชิ้นเนื้อดิบ เพื่อฝึกการก้าวขึ้นลงจากคาน หลังจากนั้นควรฝึกให้ขึ้นลงจากมือ สร้างความเคยชิน สามารถเรียกแล้วกลับมาได้ และนำไปฝึกนอกบ้านได้ โดยการใช้สายจูง

ชนิดอาหารนกเหยี่ยว จะแตกต่างกัน ตามแต่ละชนิด ยกตัวอย่าง เหยี่ยวเพเรกริน กินนกขนาดเล็ก (นกกระทา นกนางนวล) ส่วนเหยี่ยวดำ กินสัตว์น้ำเป็นหลัก (ปลาเล็ก กบ เขียด) ซึ่งโดยส่วนมาก สามารถเลี้ยงให้กิน จำพวกปลา ลูกนก กระต่าย หนู เป็ด ไก่ และแมลง โดยการหมุนเวียนกันไป เพื่อลดความเบื่ออาหาร

ประโยชน์จากการเลี้ยงเหยี่ยว ช่วยควบคุมประชากรสัตว์เล็ก ที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ อย่างเช่น หนู นกพิราบ แมลง เป็นต้น และช่วยลดความเสียหาย ของพืชผลทางการเกษตร ทั้งยังเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยม ในต่างประเทศ สำหรับเพื่อความสวยงาม และการฝึกฝนเพื่อแสดงโชว์

ราคาขายเหยี่ยวจากฟาร์ม

ราคาของเหยี่ยวถูกกฎหมาย จากฟาร์มต่างประเทศ สำหรับตัวที่ไม่มีการฝึกฝน มีราคาประมาณ 40,000 – 50,000 บาท / ตัว ซึ่งถ้าหากได้รับการฝึกฝนแล้ว จะมีราคาแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระดับความเชื่อง และความฉลาดปราดเปรียว ราคาประมาณไม่เกิน 60,000 บาท / ตัว [3]

หรือหากเป็นราคาของลูกเหยี่ยว จะเริ่มต้นที่ประมาณ 5,000 บาท และเหยี่ยวราคาแพงที่สุด จากประเทศกาตาร์ อาจมีราคาสูงประมาณ 10 ล้านบาท เพราะถือว่าเป็นสัตว์ชั้นสูง ทั้งยังเป็นสัตว์บ่งบอกถึง สถานะความร่ำรวย ของคนในประเทศอีกด้วย

วิธีการส่งเหยี่ยวเข้าประเทศ ลูกเหยี่ยวจะต้องมีสภาพร่างกาย แข็งแรงสมบูรณ์ก่อน อายุประมาณ 3 เดือน – 1 ปี จึงจะสามารถเดินทางได้ โดยเครื่องบิน ซึ่งจะมีการปิดตาเหยี่ยว ด้วยหมวกหนังขนาดเล็ก สำหรับป้องกันไม่ให้ตื่นตกใจ ขณะการเดินทาง จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง

สรุป นกเหยี่ยว “Falcon”

นกเหยี่ยว จอมนักล่ามืออาชีพ ที่ไม่ใช่ใครก็สามารถเลี้ยงได้ง่าย ๆ มีรูปร่างคล้ายกับอินทรี แค่ขนาดตัวเล็กกว่า สามารถพบได้ทั่วไปในทุกทวีป เหมาะสำหรับเลี้ยงดู เพื่อความสวยงาม เช่นเดียวกับสัตว์แปลก กบฮอร์นฟรอก และเลี้ยงเพื่อการฝึกล่าเหยื่อ โดยมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควร

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง