นกแก้วโม่ง ตระกูลนกแก้ว นกป่าที่พบเห็นได้ยากในธรรมชาติ นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง สำหรับฝึกฝนการพูดเลียนแบบเสียง และเพื่อความสวยงาม ทั้งยังเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ของไทย มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ เจ้านกแก้วโม่งสีเขียวให้มากขึ้น ก่อนที่จะไม่มีวัน ได้พบเจอพวกมันอีก
นกแก้วโม่ง (Alexandrine Parakeet) หรือเรียกว่า นกแก้วอเล็กซานดริน นกแก้วขนาดกลาง จัดอยู่ในวงศ์ของ Psittaculidae ถิ่นฐานกำเนิดในทวีปเอเชียใต้ และทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถูกตั้งชื่อตาม “Alexander III of Macedon” ผู้ขนส่งนกจำนวนมาก เพื่อไปยังภูมิประเทศต่าง ๆ แถบยุโรป และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ได้รับการอธิบายสายพันธุ์ โดยนักสัตววิทยา ชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1760 ซึ่งจากการวิเคราะห์พันธุกรรม ค้นพบแล้วว่านกแก้ว อเล็กซานดริน เป็นสายพันธุ์ที่แยกออกมา จากสายพันธุ์ต้นกำเนิด คือ Rose-Ringed Parakeet (นกแก้วคอแหวนสีกุหลาบ) และ Mauritius (นกแก้วเอคโค่) สมัยประมาณ 5 ล้านปีก่อน [1]
นกแก้วขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยมีความยาวของลำตัว วัดจากหัวจรดปลายหาง ประมาณ 56 – 62 เซนติเมตร น้ำหนัก 200 – 300 กรัม และความยาวหาง ประมาณ 28 – 35 เซนติเมตร ส่วนมากแล้วขนเป็นสีเขียว ประกายฟ้าเทาอ่อน ท้องเป็นสีเหลืองเขียว ขอบตาสีเหลือง และจะงอยปากขนาดใหญ่สีแดง
ปัจจุบันสายพันธุ์ของนกแก้วโม่ง มีทั้งหมด 5 ชนิด ที่มีลักษณะแตกต่างกันไปเล็กน้อย ได้แก่
การดำรงชีวิตอาศัยอยู่ในป่า พื้นที่เกษตรกรรม และป่าชายเลน ในระดับความสูง 900 เมตร โดยชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และรวมกันเป็นฝูงใหญ่ 8 – 10 ตัว ในบริเวณพื้นที่อาหารสมบูรณ์ ซึ่งนิสัยตามธรรมชาติ เป็นนกที่มีเสียงร้อง ค่อนข้างดัง ก้องกังวาน และสามารถฝึกให้พูดเลียนแบบได้
พฤติกรรมการผสมพันธุ์ เกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว – ฤดูร้อน (เดือนธันวาคม – เดือนเมษายน) โดยเลือกทำรังอยู่ตามโพรงไม้ เพศเมียวางไข่ 3 – 4 ฟอง / ครั้ง ใช้ระยะเวลาฟักไข่ ประมาณ 19 – 21 วัน ซึ่งพ่อและแม่นก ต้องช่วยกันดูแล จนกว่าลูกนกจะพร้อมออกจากรัง เมื่อมีอายุประมาณ 7 สัปดาห์ [2]
นกป่าสีสันสวยงาม ประเภท นกประจำถิ่น มีความเชื่อกันตั้งแต่อดีต โดยจัดว่าเป็นนกเลี้ยงราคาแพง สำหรับการเลี้ยงของคนชนชั้นสูง อย่างเช่น พระราชา ขุนนาง และจักรพรรดิ ซึ่งในปัจจุบัน ตามป่าธรรมชาติของไทย ค่อนข้างเหลือน้อยมาก ผู้ที่รักและหลงใหลนกแก้ว ไม่แนะนำให้จับมาเลี้ยงเอง
นกแก้วสายพันธุ์อเล็กซานดริน เป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยง ที่ได้รับความนิยมในสมัยก่อน เพราะมีอายุขัยยาวนาน 30 – 40 ปี ซึ่งมีความต้องการอย่างมาก ในตลาดสัตว์เลี้ยงอินเดีย จากข้อมูลการค้าของ CITES เป็นสายพันธุ์ที่ถูกนำเข้ามาในประเทศ ในช่วงปี ค.ศ. 1981 – 2014 อย่างน้อย 57,772 ตัว
สำหรับสีที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ จะเป็นนกแก้วโม่งสีน้ำเงิน สีลูติโน และสีอัลบิโน โดยผู้ครอบครองจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพฤติกรรม ลักษณะนิสัย รวมถึงการจัดการอาหาร และที่อยู่อาศัยเหมาะสม เพื่อตอบสนองความเป็นอยู่ของนก ทั้งยังช่วยลดปัญหา การล่านกแก้วโม่งป่า ได้เป็นอย่างดี
ทำไมต้องอนุรักษ์นกแก้วโม่ง เนื่องจากว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ จากพื้นที่ป่าถูกรบกวน และแหล่งอาหารเหลือน้อย นกจึงจำเป็นต้องเข้าหาคนมากขึ้น เพื่อหาอาหาร อาจทำให้หลายคนเข้าใจผิด จับไปเลี้ยงแบบไม่ถูกต้อง หรือถูกทำร้ายได้ ซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์ป่าคุ้มครองของไทย ตามพระราชบัญญัติ 2562
รายงานล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2566 พบประชากรนกแก้วโม่ง จับคู่กันจำนวน 4 คู่ อาศัยและทำรังอยู่ที่ต้นยางนา บริเวณพื้นที่ 4 จุด คือ วัดสวนใหญ่ วัดอัมพวัน วัดมะเดื่อ และวัดขวัญเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยนักอนุรักษ์นก ได้ทำการติดตั้งรังเทียมเพิ่ม และเผยแพร่ความรู้แก่คนในชุมชน และร่วมกันอนุรักษ์นกมากขึ้น [3]
นกแก้วโม่ง นกแก้วอเล็กซานดริน นกป่าสีเขียวประจำถิ่น แห่งทวีปเอเชีย ตระกูลเดียวกับ นกแก้วมาคอว์ พบเห็นได้ยากตามธรรมชาติ ประชากรเหลือน้อย แต่มีอายุขัยยืนยาว เป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมในอินเดีย และหนึ่งในสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย