สัตว์ป่าหายาก นกแร้ง นกเทศบาลแห่งผืนป่า

นกแร้ง

นกแร้ง สัตว์ป่าที่คนส่วนมาก มองว่าน่ารังเกียจ รูปร่างอัปลักษณ์ จากพฤติกรรมการกินแบบ อีแร้งทึ้ง ทำให้หลายคนมีภาพจำที่ไม่ดีเท่าไหร่ แต่แท้จริงแล้ว แร้งเป็นสัตว์ที่ไม่เบียดเบียน หรือรุกรานสิ่งมีชีวิตใด กินเพียงซากสัตว์ที่ตายไปแล้วเท่านั้น จนถูกเรียกว่าเป็น “เทศบาลแห่งผืนป่า”

รวมความเป็นมา นกแร้ง สัตว์ป่าจอมกำจัดซาก

นกแร้ง (Vulture) หรือมักเรียกกันว่า อีแร้ง นกขนาดใหญ่ อยู่ภายใต้วงศ์ Aegypiinae และวงศ์ Cathartidae จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์นักล่าเหยื่อ เช่นเดียวกับ นกเหยี่ยว และ นกอินทรี โดยแร้งจะแตกต่าง จากนกนักล่าทั่วไป คือ จะไม่มีการล่าสัตว์ หรือกินสัตว์มีชีวิต แต่จะเป็นการกิน ซากสัตว์เน่าเปื่อย ที่ตายแล้วเท่านั้น

สามารถพบได้ในธรรมชาติ ของทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย รวมถึงทวีปอเมริกา ขึ้นอยู่กับชนิดหรือสายพันธุ์ต่าง ๆ อาศัยอยู่ในบริเวณ พื้นที่อากาศอบอุ่น หรือพื้นที่อากาศร้อน ซึ่งประชากรแร้งในปัจจุบัน มีบางสายพันธุ์ที่น่ากังวล ในการเสี่ยงสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง [1]

โครงสร้างลักษณะ นกแร้ง

ลักษณะทางกายภาพของแร้ง ค่อนข้างมีหลากหลายขนาด โดยทั่วไปแล้วมีขนาดใหญ่ ความยาวลำตัว ประมาณ 75 – 125 เซนติเมตร ความกว้างของปีก ประมาณ 2.7 เมตร เป็นปีกที่สั้น มีขนาดหัวเล็ก คอยาว บางสายพันธุ์ไม่มีขนที่หัวกับลำคอ จนแทบดูเหมือนหัวโล้น เป็นเพราะจากการกินซากสัตว์

โดยไม่จำเป็นต้องมีขนปกคลุม ที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ทั้งยังสะดวกสบาย ต่อการมุดกินเครื่องในสัตว์อีกด้วย ซึ่งแร้งมีลำไส้ กับกระเพาะอาหารพิเศษ เพื่อตุนอาหารรอย่อย พร้อมกรดกัดกร่อนซากเน่าเปื่อย เมื่อกินแล้วจะไม่เกิดอันตราย สามารถกินอาหารได้ถึงปริมาณ ร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัว

การจำแนกแร้ง และชนิดที่พบในไทย

การจำแนกสายพันธุ์ของอีแร้ง มีด้วยกันทั้งหมด 23 ชนิด โดยแบ่งเป็น 2 วงศ์ใหญ่ ดังต่อไปนี้

  • แร้งโลกเก่า : จัดอยู่ในวงศ์ของ Aegypiinae พบมากในทวีปแอฟริกา ยุโรป และเอเชีย โดยเป็นแร้งทำรัง และวางไข่อยู่บนต้นไม้ หรือบนหน้าผาสูง มีพฤติกรรมการหาอาหาร ด้วยการบินวนไปมาบนท้องฟ้า พร้อมกับใช้สายตา มองลงมาจากที่สูง
  • แร้งโลกใหม่ : จัดอยู่ในวงศ์ของ Cathartidae พบได้ในเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ โดยทั่วไปเรียกกันว่า แร้งคอนดอร์ (Condor) ซึ่งมีสีสันมากกว่า แต่ไม่ใช่แร้งทำรัง เลือกวางไข่บนพื้นดิน และพฤติกรรมการหาอาหาร จากการดมกลิ่นเท่านั้น

สำหรับสายพันธุ์แร้ง ที่พบเจอในประเทศไทย จะมีเพียง 5 ชนิด ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มแร้งอพยพ : แร้งดำหิมาลัย แร้งน้ำตาลหิมาลัย
  • กลุ่มแร้งประจำถิ่น : แร้งน้ำตาล แร้งเทาหลังขาว พญาแร้ง

ที่มา: รู้หรือไม่ ประเทศไทยเคยมี ‘แร้ง’ อยู่ในธรรมชาติด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด [2]

โดยแร้งทั้งหมดในไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ทุกชนิด ในปัจจุบันกลุ่มแร้งประจำถิ่น ได้รับการฟื้นฟูประชากร ครอบคลุมอยู่ในพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง พร้อมกับมีร้านอาหารแร้ง (Feeding Station) จากการนำซากสัตว์ปลอดสาร วางอยู่ในแหล่งหาอาหาร และสำหรับกลุ่มแร้งอพยพ

เรื่องน่ารู้ นกแร้ง สัตว์สำคัญของป่าเอเชีย

นกแร้ง

รวมเรื่องน่ารู้เจ้าแร้งหัวโล้น ฉายาที่หลายคน อาจไม่เคยรู้มาก่อน คือ “สัตว์รักเดียวตลอดชีวิต” ไม่ต่างจาก นกเงือก นับว่าเป็นตัวอย่างความรัก ความซื่อสัตย์ และความทุ่มเทเสมอ มีคู่เดียวไปตลอดช่วงชีวิต ซึ่งถ้าหากมีแร้งตัวอื่น เข้ามายุ่งวุ่นวายในชีวิตคู่ พวกมันทั้งสอง จะคอยช่วยกันไล่ตะเพิด จนไม่กล้าเข้ามาใกล้อีกเลย

นกแร้ง การวางไข่และเอาชีวิตรอด

สัตว์ป่านักกำจัดซาก รู้หรือไม่ว่า? นกแร้งวางไข่ฟองเดียว โดยตามธรรมชาติของนก จะสามารถวางไข่ได้ครั้งละหลายฟอง แต่แร้งเป็นนกที่วางไข่ เพียงแค่ 1 ฟอง / รัง เท่านั้น ซึ่งใช้เวลาในการฟักไข่ 40 – 60 วัน

สำหรับสาเหตุ การออกไข่ฟองเดียว เป็นวิวัฒนาการ ที่อาจปลอดภัยมากกว่า เพราะอาหารที่นกแร้งกิน จะต้องใช้เวลารอให้ตายเป็นซาก และมีอยู่อย่างจำกัด จึงมีการแข่งขันแย่งอาหาร ซึ่งหากจะลดการต่อสู้ และลดการแย่งทรัพยากรได้ ก็คือการควบคุม จำนวนประชากรแร้ง เพื่อให้เพียงพอต่ออาหารนั่นเอง

นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มอัตราการมีชีวิตรอด ของลูกแร้งตัวเดียวในรัง ที่ไม่เป็นจุดสนใจของนักล่า ส่งผลทำให้ไม่เกิดการถูกจับกิน สามารถเอาตัวรอด ในสภาพแวดล้อมต่อไปได้ง่าย ทั้งนี้ลูกนกแร้ง ใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะบินเองได้ พ่อและแม่แร้ง จึงมีเวลาและพลังงานมากพอ ที่จะดูแลให้เติบโตสมบูรณ์ได้ดี

บทบาทสำคัญของแร้งในธรรมชาติ

อีแร้งเป็นสัตว์ที่สามารถชี้วัด ความอุดมสมบูรณ์ของป่าได้ เพราะหากมีแร้งอาศัยอยู่ หมายความว่า ผืนป่านั้นมีผู้ล่า อย่างเช่น เสือโคร่ง ทำให้มีซากสัตว์หลงเหลือ จากผู้ล่าจำนวนมาก ซึ่งแร้งก็มีบทบาทสำคัญ ต่อระบบนิเวศ โดยการกำจัดซากสัตว์เน่าเสีย ช่วยป้องกันและยับยั้ง การแพร่ระบาดของโรค

โดยอัตราประชากรแร้ง ในทวีปเอเชียรวมถึงในไทย มีอัตราการเสียชีวิตสูง ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 – 2000 จำนวนนกแร้งหลายสายพันธุ์ ในแถบเอเชียใต้ ลดลงมากกว่า 900% จากภาวะไตวาย เพราะกินซากสัตว์อาบยาพิษ และการใช้ยาแก้ปวด แก้อักเสบในปศุสัตว์

แต่ในปัจจุบันปี พ.ศ. 2567 มีการฟื้นฟูประชากรแร้ง จากการเพาะเลี้ยงพญาแร้ง ในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ใช้เวลาร่วมกว่า 2 ปี สามารถผสมพันธุ์ได้สำเร็จ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน ปี 2566 และหลังจากนั้นมีการผสมพันธุ์อีก 3 ครั้ง เกิดลูกพญาแร้งเป็นครั้งแรก นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญ ทางธรรมชาติของไทย [3]

สรุป นกแร้ง “Vulture”

นกแร้ง นกนักล่าเหยื่อ ที่ไม่เคยล่าเหยื่อมีชีวิตแม้แต่ตัวเดียว หนึ่งใน สัตว์ปีกหายาก จากหลากหลายทวีป สำคัญต่อระบบนิเวศ มีความเสี่ยงเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เพราะการกระทำของมนุษย์ จำเป็นต่อการตระหนักถึงคุณค่าอีแร้ง พร้อมกับการอนุรักษ์ ให้อยู่ร่วมผืนป่าได้อย่างยาวนาน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง