สำรวจ นกแว่นตาขาว นกร้องเพลงพบเจอในไทย

นกแว่นตาขาว

นกแว่นตาขาว สัตว์ปีกตัวเล็ก สีสวยงาม ที่น้อยคนนักจะรู้จัก และอย่าเพิ่งเข้าใจผิด คิดว่าเป็น นกใส่แว่นตาสีขาว แค่ลักษณะคล้ายเท่านั้น โดยเป็นหนึ่งในนกป่า หลากหลายสายพันธุ์ และ กระจายอยู่ในหลายประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย จะมีความน่ารัก สีสันสวยงามแค่ไหน สามารถเลี้ยงได้หรือไม่? ติดตามกันเลย

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับ นกแว่นตาขาว

นกแว่นตาขาว (Swinhoe’s White-Eye) หรือที่เรียกกันว่า “นกตาขาวของสวินโฮ” นกขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ของ Zosteropidae พบแหล่งอาศัยหลัก ในประเทศจีน ไต้หวัน เวียดนาม คาบสมุทรไทย – มาเลย์ เกาะสุมาตรา และ เกาะบอร์เนียว ทั้งยังกระจายสายพันธุ์ อยู่ในภูมิภาคแคลิฟอร์เนีย ทางตอนใต้

ได้รับการอธิบายสายพันธุ์ ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1861 โดยนักธรรมชาติวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้ เป็นนกที่จัดอยู่ในชนิดย่อยของ นกตาขาวญี่ปุ่น (Zosterops Japonicus) และถูกยกระดับขั้น ให้เป็นสายพันธุ์นก โดยสมบูรณ์ สามารถพบเห็นได้ ในป่าโปร่งเขตอบอุ่น และ มีหลากหลายสายพันธุ์ [1]

อธิบายชนิดย่อย นกแว่น ตาขาว

รายละเอียดสายพันธุ์ ของนกแว่นตาขาว แบ่งออกเป็น 5 ชนิดย่อยหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  • Simplex : พบแหล่งอาศัย ในประเทศจีน ทางตะวันออก ประเทศไต้หวัน และประเทศเวียดนาม ทางตะวันออกเฉียงเหนือ
  • Hainanus : อาศัยเฉพาะพื้นที่ เกาะไหหลำ อยู่นอกชายฝั่ง ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศจีน
  • Erwini : กระจายสายพันธุ์ตาม คาบสมุทรไทย – มาเลย์ พื้นที่ราบลุ่ม ของเกาะสุมาตรา หมู่เกาะเรียว เกาะบังกา หมู่เกาะนาตูนา และพื้นที่ราบลุ่ม ทางตะวันตก ของเกาะบอร์เนียว
  • Williamsoni : พบเฉพาะในบริเวณ ชายฝั่งอ่าวไทย และประเทศกัมพูชา ทางตะวันตก
  • Salvadorii : อาศัยแค่ในพื้นที่ เกาะเอนกาโน (ห่างจากเกาะสุมาตราตะวันตก) ของประเทศอินโดนีเซีย

ลักษณะเด่น และพฤติกรรม

ลักษณะทางกายภาพทั่วไป เป็นนกขนาดเล็ก โดยมีขนาดลำตัวสั้นป้อม ประมาณ 10 – 11 เซนติเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับใบไม้) ขนด้านบนสีเหลืองเขียว ขนปีกมีสีดำแทรกเล็กน้อย หางสีเหลืองเขียว ค่อนข้างสั้น ปากสีดำขนาดเล็ก มีวงรอบดวงตาเป็นสีขาว ส่วนอกกับท้อง เป็นสีเทา และขาเป็นสีเทา

พฤติกรรมอยู่อาศัย เป็นหลักแหล่ง ชอบส่งเสียงร้องเพลง และชอบอยู่รวมกัน เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 5 – 6 ตัว ในขณะออกหาอาหาร โดยเริ่มการผสมพันธุ์ ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ตั้งแต่ช่วง เดือนเมษายน – เดือนมิถุนายน สร้างรังเป็นรูปถ้วย จากใยแมงมุม หญ้า และตะไคร่น้ำ ซึ่งเพศเมียวางไข่ เพียง 3 – 5 ฟอง / ครั้ง [2]

อาหารของนกแว่นตาขาว เน้นกินน้ำหวานจากดอกไม้ เกสรดอกไม้ อย่างเช่น ดอกคามิเลีย ดอกซากุระ ดอกบ๊วย และแมลงขนาดเล็ก รวมทั้งผลไม้บางชนิดอีกด้วย อย่างเช่น ส้มเขียวหวาน หรือ แอปเปิล ซึ่งมักปรากฏตัวให้เห็น ในช่วงฤดูหนาว และ ช่วงฤดูใบไม้ผลิของทุกปี

นกแว่นตาขาว นกท้องถิ่นในไทย

นกแว่นตาขาว

นกตัวเล็กสีเหลือง จัดอยู่ในกลุ่ม นกประจำถิ่น พบในประเทศไทย เพียง 4 ชนิด จากทั้งหมด 84 ชนิด ทั่วโลก คือ แว่นตาขาวสีทอง แว่นตาขาวสีเหลืองปักษ์ใต้ แว่นตาขาวข้างแดง และ แว่นตาขาวหลังเขียว (ชนิดเดียวที่เป็นกลุ่ม นกอพยพ) ส่วนมากพบเห็นใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ [3]

สถานภาพและการชม นกแว่นตาขาว

นกแว่น ตาขาว มีสถานภาพความน่ากังวลน้อยที่สุด LC (IUCN, 2019) ต่อการถูกคุกคามของโลก เป็นนกที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ในป่าธรรมชาติ และในสถานที่จัดแสดง อย่างเช่น สวนสัตว์เชียงใหม่ พื้นที่แสดงจังหวัดน่าน จังหวัดตาก จังหวัดเชียงราย รวมถึงพื้นที่บนดอย ช่วงดอกนางพญาเสือโคร่งเบ่งบาน

ความนิยมสำหรับสัตว์เลี้ยง

สำหรับการนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง สายพันธุ์นกแว่นตาขาว จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก สามารถเลี้ยงได้ เฉพาะแค่บางสายพันธุ์ และ บางประเทศเท่านั้น คือ นกตาขาวญี่ปุ่น มีราคาขาย ในตลาดต่างประเทศ 190 – 380 ดอลลาร์ (คิดอัตราเงินไทย ประมาณ 6,700 – 13,400 บาท / ตัว) เป็นนกเลี้ยงในบ้าน ดูเพื่อความสวยงาม

สรุป นกแว่นตาขาว “Swinhoe’s White-Eye”

นกแว่นตาขาว นกสีเหลืองเขียวเฉพาะถิ่น ในทวีปเอเชีย โดดเด่นด้วยลักษณะ ขอบรอบดวงตาสีขาว เสียงร้องแหลมเป็นเอกลักษณ์ พบเจอได้ทั่วไป ตามป่าเขตอบอุ่น นิยมเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน แค่บางสายพันธุ์ และบางประเทศ สำหรับในประเทศไทย สามารถชมนกได้ ทางภาคเหนือ ในช่วงฤดูหนาวดีที่สุด

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง