นากทะเล สัตว์ป่าหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู ที่หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าคือ บีเวอร์ เพราะมองผิวเผินแล้วคล้ายกัน โดยเจ้านากทะเลตัวน้อย สามารถพบเห็นได้ เฉพาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ต่างจากนากแม่น้ำจืดทั่วไป ทั้งยังมีพฤติกรรมที่ซับซ้อน และการดำรงชีวิตค่อนข้างสำคัญ กับระบบนิเวศเป็นอย่างมาก
นากทะเล (Sea Otter) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล จัดอยู่ในวงศ์ของเพียงพอน Mustelidae อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง ของมหาสมุทรแปซิฟิกทางเหนือ และทางตะวันออก โดยมีวิวัฒนาการมาจาก นากแม่น้ำยักษ์ มีความหลากหลายรวมกว่า 13 สายพันธุ์ พบหลักฐานฟอสซิล ถูกจัดสายพันธุ์มาแล้ว ประมาณ 2 ล้านปีก่อน [1]
นากทะเลในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างกัน ดังต่อไปนี้
ลักษณะของนากทะเล โดยนากทะเลเอเชีย เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด ซึ่งขนาดทั่วไปของเพศผู้ จะมีความยาวลำตัว 1.2 – 1.5 เมตร และมีน้ำหนัก 22 – 45 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียมีขนาดลำตัว 1 – 1.4 เมตร และน้ำหนักเพียง 14 – 33 กิโลกรัม ทั้งยังมีขนหนาเป็นพิเศษ ประมาณ 150,000 เส้น / ตารางเซนติเมตร
นับว่าเป็นสัตว์ที่มีขนหนาแน่นที่สุด สำหรับป้องกันขนชั้นใน กันน้ำให้แห้งอยู่เสมอ และช่วยกักเก็บความร้อนในร่างกาย เพื่อดำรงชีวิตในอากาศหนาว สีขนเป็นสีน้ำตาลเข้ม พร้อมกับจุดสีเทาเงิน หรืออาจมีขนเป็นสีน้ำตาลเทา จนถึงเกือบเป็นสีดำ อีกทั้งมีหางหนา และเท้าเป็นพังผืด สำหรับการว่ายน้ำ และลอยตัวในน้ำ
การดำรงชีวิตของนากทะเล เป็นสัตว์กินเนื้อ หากินตอนกลางวัน แต่นากทะเลตัวเมีย มีแนวโน้มในการหากินตอนกลางคืน ซึ่งใช้ระยะเวลา 24 – 60% ในการหาของแต่ละวัน และพวกมันยังใช้เวลาไปกับ การทำความสะอาดขน ถูขน บีบน้ำออกจากขน และสามารถคลานในน้ำ เพื่อล้างเศษอาหาร ออกจากขนได้ด้วย
วิธีการหาอาหาร พวกมันจะดำน้ำลงไป ในพื้นทะเลช่วงสั้น ๆ สามารถกลั้นหายใจได้นาน 5 นาที ซึ่งพวกมันจะยกและพลิกหินใต้น้ำ เพื่อใช้อุ้งเท้าค้นหาเหยื่อ ส่วนใหญ่จะกินหอยทากและปลา รวมถึง เม่นทะเล โดยใช้ฟันกรามที่แข็งแรงกัดเปลือกออก และต้องการกินอาหาร 25 – 38% ของน้ำหนักตัวในแต่ละวัน
โครงสร้างทางสังคม โดยทั่วไปมักอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนแพ ประมาณ 10 – 100 ตัว หรืออาจมากถึง 2,000 ตัว ซึ่งพวกมันชอบห่อตัวเอง ด้วยสาหร่ายทะเล สำหรับป้องกันไม่ให้ ลอยออกทะเลไปไกล นอกจากนั้นตัวผู้จะมีหน้าที่ปกป้องอาณาเขต คอยตรวจตราอาณาเขต และการต่อสู้ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
สัตว์ป่าที่ปรับตัวได้ดีทั้งบนบกและในน้ำ หนึ่งในกลุ่ม สัตว์เขตหนาว ที่ใช้ชีวิตอยู่ในทะเลเป็นส่วนมาก และต้องขึ้นมาบนพื้นน้ำแข็ง เพื่อให้กำเนิดลูกนากทะเล วิวัฒนาการคล้ายกับ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แต่ค่อนข้างปรับตัวได้ดีกว่า และอาศัยอยู่บนบกได้นานกว่าอีกด้วย
นากทะเลอาศัยอยู่ส่วนมาก บริเวณแถบชายฝั่ง ของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยประชากรนากทะเล อาจมีอัตราค่อนข้างน้อย จนถึงเข้าข่ายเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ โดยการอยู่อาศัยของนากทะเล มีบทบาทสำคัญต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ดังนี้
สำรวจประชากรนากทะเล คาดว่ามีจำนวน 3,000 ตัว ในป่าธรรมชาติ ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยสาเหตุของการลดจำนวน มาจากการรุกรานป่า สูญเสียที่อยู่อาศัย และมลพิษในแหล่งน้ำ ซึ่งในปัจจุบันนากทะเล สามารถครอบครอง พื้นที่อาศัยกว่า 75% กลับคืนมาได้ แต่ก็ยังจัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง [2]
นากทะเลถือว่าเป็นสัตว์ป่า ที่มีหน้าตาน่ารัก แต่ใครจะรู้ว่าพฤติกรรมทั่วไปนั้น ไม่ได้น่าเอ็นดูอย่างที่คิด โดยนากไม่ใช่สัตว์ที่สามารถเลี้ยงได้ ซึ่งตามธรรมชาติ นากตัวเต็มวัยจะมีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว เล่นแรงกัดจมเขี้ยว ส่งเสียงร้องดัง และมีอุจจาระ กับปัสสาวะกลิ่นเหม็น
โดยจัดอยู่ในชนิด สัตว์สงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2535 และเป็นสัตว์นักล่าในธรรมชาติ ต้องต่อสู้ป้องกันตัวเอง เพื่อความอยู่รอด จึงไม่สามารถครอบครอง หรือค้าขายได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งนากทะเล หรือนากแม่น้ำ ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมแก่การเลี้ยง [3]
นากทะเล นากขนปุยขนาดเล็ก แหล่งอาศัยบริเวณชายฝั่ง ของมหาสมุทรแปซิฟิก พฤติกรรมชอบนอนลอยน้ำ กินหอยเป็นอาหารหลัก แม้ว่าจะมีหน้าตาน่ารักมากแค่ไหน แต่นิสัยค่อนข้างดุร้ายและก้าวร้าว จึงไม่ควรเลี้ยงหรือครอบครอง ทั้งยังเหมาะสมที่จะอยู่ในธรรมชาติ เพื่อรักษาสมดุล ของระบบนิเวศทางทะเลอีกด้วย