ปลาปักเป้า ปลาในภาพจำที่คนมักจะเห็น ตอนพองลม ตัวอ้วนกลม และมีหนามเต็มไปหมด มองดูแล้วอาจจะน่ารัก เมื่ออยู่ในอุ้งมือของเรา แต่ใครจะรู้ว่า? พวกมันกำลังตกใจกลัวอย่างสุดขีด และรู้สึกไม่ปลอดภัยอย่างมาก ความจริงแล้วไม่ใช่ปลาพองลมตลอดเวลา ทั้งยังมีพิษทั่วร่างกายอีกด้วย
ปลาปักเป้า (Pufferfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีอยู่ประมาณ 100 สายพันธุ์ โดยเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีพิษมาก เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก กบลูกศรพิษ (หรือเรียกว่ากบพิษสีทอง) แหล่งอาศัยพบส่วนมาก ในน้ำทะเลเขตร้อน และกึ่งเขตร้อน ของมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และ มหาสมุทรอินเดีย [1]
สำหรับชื่อทางวิทยาศาสตร์ Tetraodontiformes หมายถึงฟันขนาดใหญ่ ทั้งหมด 4 ซี่ แบบเชื่อมต่อกันเป็นแผ่น ระหว่างแผ่นบนกับแผ่นล่าง มีหน้าที่สำหรับ การบดเปลือกกุ้งและหอย เหยื่อตามธรรมชาติที่ชอบกิน ทั้งนี้ยังมีสายพันธุ์ ตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ คือ “ปลาซิกโนอิคทิส” ที่ใกล้เคียงกันมากอีกด้วย
ลักษณะปลาปัก มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำตัวกลม สีสันหลากหลาย มีลายจุดแตกต่างกัน หัวขนาดโต ดวงตาเล็ก ฟันแหลมคม ส่วนครีบและหางค่อนข้างเล็ก และจะพองตัวออกมากถึง 2 เท่า ของขนาดตัวปกติ เหมือนกับลูกโป่ง ในบางชนิดมีหนามแหลมด้วย เกิดขึ้นเมื่อถูกภัยคุกคาม หรือตกใจเป็นอย่างมาก
ระบบการป้องกันตัว ของปลาปักเป้า เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งช่วยในการชดเชย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ขณะว่ายน้ำที่ค่อนข้างช้า โดยมาจากการขยับของครีบอก ครีบหลัง ครีบทวาร และครีบหาง ทำให้ตกเป็นเป้าหมาย ของการถูกล่าอย่างง่ายมาก
สำหรับในส่วนของหางเสือ มักใช้ในการหลบหลีก ด้วยความเร็วการพุ่ง แบบกะทันหัน พร้อมกับสายตาที่แม่นยำมาก จึงเป็นระบบป้องกันตัวขั้นแรก จากนั้นกลไกป้องกันตัวขั้นที่สอง จะประสบผลสำเร็จ ด้วยการเติมน้ำลงกระเพาะ จนมีขนาดใหญ่ขึ้น และพองเป็นทรงกลม
ดังนั้นหากนักล่าผู้หิวโหย กำลังเผชิญหน้ากับปลา ที่มีตัวกลมแถมมีหนาม แทนที่จะได้กินเป็นอาหาร นักล่าเหล่านั้นอาจจะต้องเปลี่ยนใจทันที หรือนักล่าที่ไม่สนใจความน่ากลัวนี้ อาจเสียชีวิตได้ จากการสำลักปลาปักเป้า และกระเพาะของพวกมัน จะเต็มไปด้วยสารพิษ Tetrodotoxin ที่ส่งผลต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง
สัตว์น้ำตัวน้อยน่ารัก ที่ดูไม่เป็นภัยกับใคร หากพวกมันไม่ถูกคุกคามก่อน แน่นอนว่าการพองตัว พร้อมกับหนามแหลม ไม่ใช่สิ่งที่พวกมันทำเป็นประจำ นั่นเป็นเพราะมันรู้สึกถึงอันตราย ตกใจมาก และต้องการเอาตัวรอด ซึ่งการพองลมนาน ๆ อาจทำให้การใช้ชีวิตลำบาก หรือบางตัวตกใจ จนถุงลมแตกตายก็มีเช่นกัน
แม้ว่าปลาปักเป้าเป็น สัตว์มีพิษ แต่ในบางประเทศ ทั้งญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ก็นำเนื้อมาบริโภค เป็นอาหารพิสดาร และกินจนเสียชีวิตอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิต มาจากพิษของปักเป้า โดยพิษมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ Tetrodotoxin (พิษปลาปักเป้าน้ำเค็ม) และ Saxitoxin (พิษปลาปักเป้าน้ำจืด) [2]
สารพิษที่พบมาก จะอยู่ในส่วนของไข่ ตับ น้ำดี ลำไส้ กระเพาะ รวมถึงหนังปลา และเนื้อปลาด้วย โดยหากรับประทาน จะส่งผลต่อการทำลายเซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อ ในระยะเวลา 10 – 15 นาที หรืออาจนานเป็น 4 ชั่วโมง แล้วแต่ปริมาณการรับสารพิษ สำหรับผู้ป่วยจะมีด้วยกัน 4 ระยะ ดังนี้
ที่มา: พิษร้ายปลาปักเป้า [3]
รวมคำถามน่าสงสัย เกี่ยวกับชีวิตของปักเป้า และการอนุรักษ์สายพันธุ์ต่าง ๆ
ปลาปักเป้า ปลาทะเลมีพิษ แหล่งอาศัยในมหาสมุทรเขตร้อน และมหาสมุทรกึ่งเขตร้อนทั่วโลก สัตว์ที่มีกลไกการป้องกันตัว ด้วยการพองลม และมีหนามแหลม ชอบกินกุ้งและหอยเป็นอาหาร ไม่นิยมสำหรับการบริโภค หรือเลี้ยงเพื่อความสวยงาม เพราะส่วนในร่างกายปักเป้า มีพิษอย่างรุนแรงถึงแก่ชีวิต