ปลาปิรันยา ปลาฟันแหลมน่ากลัว ที่หลายคนเคยเห็นกัน ในภาพยนตร์ชื่อดังมากมาย เข้าใจว่าพวกมันกินคนทั้งเป็นจริงหรือ สัตว์น้ำที่มีฉายานักล่าเนื้อ อันตรายที่สุดในบรรดาปลาน้ำจืด สามารถพบเห็นได้ง่าย ตามแม่น้ำแอมะซอน ความจริงแล้วพวกมันชอบกินอะไร มีแรงกัดมากแค่ไหน และเลี้ยงได้หรือไม่?
ปลาปิรันยา (Piranha) ปลาน้ำจืดพื้นเมือง จัดอยู่ภายใต้วงศ์ Serrasalmidae แหล่งอาศัยในลุ่มน้ำแอมะซอน (ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 35%) และทะเลสาบ ของทวีปอเมริกาใต้ ขยายพันธุ์หลากหลายชนิด มากกว่า 40 สายพันธุ์ โดยพบหลักฐานฟอสซิล บรรพบุรุษของปิรันยา เคยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ มาตั้งแต่ 25 ล้านปีก่อน [1]
ลักษณะของปิรันยา สามารถเติบโตมีความยาวลำตัว ระหว่าง 12 – 35 เซนติเมตร หรือมากกว่านั้น โดยระบุสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปิรันยาท้องแดง (Red-Bellied) และ ปิรันยาซานฟรานซิสโก (Francisco Piranhas) ที่มีความยาวมากถึง 50 – 60 เซนติเมตร น้ำหนักราว 3 กิโลกรัม และอายุขัยยาวนาน 10 ปี
ความโดดเด่นของฟัน เป็นเอกลักษณ์จดจำง่าย ด้วยฟันที่แหลมคม เรียงกันเป็นแถวแน่น และประสานกัน ลักษณะเป็นฟัน 3 แฉก คล้ายกับใบมีด สำหรับเจาะหรือเฉือนเนื้ออย่างรวดเร็ว พร้อมกับกล้ามเนื้อ บริเวณกระพุ้งแก้ม ค่อนข้างแข็งแรง ทำให้สามารถกัดลึก ถึงกระดูกสันหลังของเหยื่อได้ทันที
การกัดของปิรันยา จัดอยู่ในประเภท สัตว์ฟันแข็งแรง ที่มีแรงกัดมหาศาลที่สุด ในอาณาจักรปลา หากเทียบกับน้ำหนักตัว แรงกัดค่อนข้างรุนแรง และอันตราย จากกล้ามเนื้อขากรรไกร ขนาดใหญ่พิเศษ ส่งผลต่อการกัดแรงและเร็ว โดยพบว่าปลาปิรันยาดำ สามารถมีแรงกัด มากกว่าขนาดตัว 30 เท่า หรือประมาณ 320 นิวตัน
ทักษะการโจมตีเหยื่อ พวกมันอาศัยรวมกันเป็นฝูง กินทั้งเนื้อและพืช โดยเน้นกินปลาเป็นหลัก เลือกล่าเหยื่อที่มีชีวิต สัตว์ที่ตื่นตกใจ อยู่ในภาวะบาดเจ็บอ่อนแอ หรือซากสัตว์ ซึ่งจับสังเกตจาก เสียงตูมตามของน้ำ หรือการกระเพื่อม ทั้งยังสามารถตรวจจับกลิ่นเลือดได้ดี เพียง 1 หยด / น้ำ 200 ลิตร เหมือนกับ ฉลามขาว อีกด้วย
ปลาที่หลายคนได้ยินแล้ว ไม่อยากสัมผัสหรือเข้าใกล้แน่นอน ซึ่งถ้าหากเทียบลักษณะ กับปลาของไทย จะค่อนข้างคล้ายกับ ปลาโคก เพราะมีเกร็ดสวยแวววาว ระยิบระยับเป็นสีทอง แต่ถึงอย่างไรพวกมัน มีฟันที่แหลมคม และอันตรายอย่างมาก สามารถกัดกินปลาเล็กปลาน้อย ได้เกือบทุกชนิดเลย
ที่มา: 6 Facts You Need to Know About Piranhas [2]
ปิรันยา หนึ่งในสัตว์น้ำจืดธรรมชาติ และเป็นปลาอันตราย สำหรับการเลี้ยงในประเทศไทย ยังถือว่าผิดกฎหมาย ห้ามมีการนำเข้ามาแบบมีชีวิต ห้ามครอบครอง และห้ามแพร่พันธุ์ หรือขยายพันธุ์ลงสู่แหล่งน้ำ โดยอาจนิยมเลี้ยง ในกลุ่มเลี้ยงสัตว์แปลก ค่อนข้างมีราคาสูง ประมาณ 5,000 – 10,000 บาท / ตัว [3]
ในบางประเทศ ปิรันยาสามารถเลี้ยง เป็นปลาสวยงามได้ หรือทำเป็นอาหารแช่แข็ง นิยมบริโภคในร้านอาหาร และภัตตาคาร อย่างในประเทศญี่ปุ่น ชาวประมงจะจับกินเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ฟันของปิรันยา ยังถูกนำมาเป็นเครื่องมือต่าง ๆ ของชนเผ่าอเมริกาใต้ ทั้งการแกะสลักไม้ และการลับลูกดอก
ปลาปิรันยา ปลาลวดลายสวยงาม เกร็ดแวววาว แต่ฟันแหลมคมอันตราย ถิ่นฐานอาศัยในแม่น้ำแอมะซอน และทะเลสาบ แห่งทวีปอเมริกาใต้ ขึ้นชื่อว่าเป็นปลาดุร้าย และมีแรงกัดอย่างรุนแรง เข้าลึกถึงกระดูกสันหลังในไม่กี่วินาที โดยเราสามารถบริโภคเนื้อของพวกมันได้ แต่ไม่แนะนำให้เลี้ยงหรือครอบครอง