รีวิว ปลาผีเสื้อสองตอน ผู้เจริญโตได้อย่างรวดเร็ว

ปลาผีเสื้อสองตอน

ปลาผีเสื้อสองตอน (Chaetodon ulietensis) หนึ่งในกลุ่มปลาสวยงามน้ำเค็ม ที่มีความน่ารับเลี้ยงไม่น้อย เหมือนกันกับ ปลาไหลสวนจุดดำ ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกับ Chaetodon เป็นปลาแนวปะการังที่น่าดึงดูดใจ มีสีสันที่สดใส และลวดลายที่โดดเด่น โดยมีขนาดสูงสุดที่ยาวได้ถึง 20 ซม. มีลำตัวประดับด้วยสีเหลือง ขาว และดำผสมผสานกันอย่างลงตัว

ซึ่งในวันนี้ เราจะพาคนชื่นชอบปลา ทั้งหลายมาทำความรู้จัก อย่างละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะของปลาพันธุ์ดังกล่าว รวมถึงความเป็นมาหรือที่มา ลักษณะทางกายภาพ ข้อมูล พร้อมราคาต่างๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้น

ประวัติ ปลาผีเสื้อสองตอน

ปลาผีเสื้อสองตอน และมีชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่า Chaetodon ulietensis (Cuvier, 1831) สำหรับปลาชนิดนี้ เป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับ Chaetodontidae และเจริญเติบโตได้ดี ในสภาพแวดล้อม หรือแนวปะการังอุดมสมบูรณ์ ในบริเวณตอนกลางของอินโด-แปซิฟิก 

ซึ่งปลาชนิดนี้มีอาณาเขต ตั้งแต่หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) ไปจนถึงหมู่เกาะตูอามูตู และทางเหนือไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น โดยปกติจะพบได้ตั้งแต่ผิวน้ำที่มีความลึกถึง 20 เมตร และมักพบได้ในบริเวณน้ำตื้น ที่มีกระแสน้ำแรง นอกจากนี้ สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เป็นอาหารหลัก [1]

ราคา ปลาผีเสื้อสองตอน

สำหรับราคาปลาพันธุ์นี้ในไทย มีขายทั้งลักษณะทั่วไป ซึ่งหากอิงราคาจากร้านทั่วไป สายพันธุ์นี้ จะมีราคาเริ่มต้น ที่ 3,306.91 ($98.00) บาทขึ้นไป [2] และหากใครที่สนใจจริงๆ แล้วละก็ ทุกคนสามารถเข้าไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Chaetodon ulietensis

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับปลา

  • วงจรชีวิต : โดยปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีพฤติกรรมชอบอยู่ตามลำพังเป็นส่วนใหญ่ บางครั้ง ก็มักจะเห็นอยู่เป็นกลุ่มบ้าง ซึ่งจะอาศัยอยู่ในแนวปะการังที่เงียบสงบ และมีชีวิตชีวา ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก แนวปะการังเหล่านี้ เป็นแหล่งพักพิงของสัตว์ทะเล มีลักษณะเด่นคือน้ำใสราวกับคริสตัล แนวปะการังที่หลากหลาย และแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์
  • การขยายพันธุ์ : สำหรับปลาพันธุ์นี้ สามารถพบ การขยายพันธุ์ ของพวกมันได้ง่าย เป็นปลาพื้นเมือง ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก โดยเฉพาะในน่านน้ำรอบๆ อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะโซโลมอน ที่มีระบบนิเวศ แนวปะการังอันสดใส เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ตามธรรมชาติของมัน ซึ่งสามารถพบได้จำนวนหลากหลายตัว

นิสัย ปลาผีเสื้อสองตอน

ปลาผีเสื้อสองตอน

สำหรับปลาสายพันธุ์นี้ ที่มีนิสัยรักสงบ และพวกมันมีขนาดใหญ่ ถือเป็นปลาผีเสื้อ ที่เลี้ยงได้ง่าย และโตได้ค่อนข้างรวดเร็ว พื้นที่เลี้ยง จึงต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร ระบบน้ำต้องมีการหมุนเวียนที่ดี เลี้ยงรวมเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มได้ แต่อาจมีการทะเลาะกันบ้างเล็กน้อย

 

ฉะนั้นแล้ว แม้จะเป็นปลาที่แม้จะเป็นมือใหม่ ก็สามารถเลี้ยงได้ แต่หากเป็นผู้ที่ต้องการเลี้ยง ปลาชนิดนี้จริงๆ ก็ควรจะมีการศึกษา ทั้งแนวทางการเลี้ยง วิธีการดูแลต่างๆ ไปจนถึงรายละเอียดของปลา ที่จำเป็นต้องรู้ด้วยเช่นกัน แม้จะอยากเลี้ยงเพื่อความสวยงาม แต่หากไม่ชำนาญ หรือไม่รู้ความรู้เฉพาะทาง ก็อาจจะทำให้เกิดอันตราย ต่อตัวปลาได้นั่นเอง

ลักษณะ ปลาผีเสื้อสองตอน

โดยรูปร่างทั่วไป ปลาสายพันธุ์นี้ เป็นปลากลุ่มน้ำเค็ม และมีราคาค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ซึ่งปลาสายพันธุ์ดังกล่าว ลำตัวเป็นสีขาว มีเส้นแนวตั้งสีดำบางๆ ตามแนวลำตัว มีอานสีดำสองอัน ที่ส่วนหน้าและส่วนหลัง ซึ่งค่อยๆ ไล่ระดับเป็นสีพื้นหลัง แบบไล่ระดับตามหาง ทันทีหลังจากอานส่วนหลัง

ส่วนลำตัวและหาง จะมีสีเหลืองสดใส มีจุดสีดำที่ส่วนหาง ครีบหลังมีแถบสีเหลือง ตั้งแต่ส่วนหัวถึงหาง เช่นเดียวกับปลาผีเสื้อส่วนใหญ่ สายพันธุ์นี้แสดงแถบตาสีดำ เหมือนหน้ากาก และพวกมันมีความยาวสูงสุด 8 นิ้ว (20 ซม.) พบทั่วไปในมหาสมุทรแปซิฟิก และบางส่วนของมหาสมุทรอินเดีย [3]

ภาพรวมสายพันธุ์ ผีเสื้อสองตอน

  • อาณาจักร : Animalia
  • ต้นกำเนิด : สามารถพบใน ทวีปมหาสมุทรอินโด – แปซิฟิก
  • สัดส่วน : ความยาวได้สูงสุด 20 เซนติเมตร (7.87 นิ้ว)
  • อาหาร : กินพืชเป็นอาหารหลัก หรือกินเนื้อได้บ้าง ได้แก่ กุ้ง, ปลาขนาดเล็ก, ปู, ไร่ทะเล และ สาหร่าย เป็นต้น
  • ระดับการดูแล : ง่าย
  • คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 8.0 – 8.4
  • อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 22 – 28 องศา
  • การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นไข่ 

สรุป ปลาผีเสื้อสองตอน “Chaetodon ulietensis”

สรุป ปลาสายพันธุ์ ผีเสื้อสองตอน จัดเป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม และเป็นปลาแนวปะการัง ที่มีความน่าสนใจ เพราะขึ้นชื่อ ในเรื่องสีสันสดใส และลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยขนาดสูงสุด 8 นิ้ว จึงทำให้ปลาชนิดนี้ ดูโดดเด่นและสะดุดตาในตู้ปลาทุกตู้ รวมถึงมีการเจริญเติบโตได้ดี แม้จะในตู้ปลา แต่ต้องได้รับการดูแลอย่างดี มีสภาพน้ำที่คงที่ มีการให้อาหารพอประมาณ และมีเพื่อนร่วมตู้ที่เหมาะสม อีกด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง