รีวิว ปลาผีเสื้อเกล็ดมุก ชอบอาศัยอยู่อย่างสันโดษ

ปลาผีเสื้อเกล็ดมุก

ปลาผีเสื้อเกล็ดมุก (Chaetodon xanthurus / Pearlscale butterflyfish) หนึ่งในกลุ่มปลาสวยงามน้ำเค็ม ที่มีความน่าเลี้ยงไม่น้อย เหมือนกันกับ ปลาผีเสื้อลายไหว้ ท้ายเหลือง ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกับ Chaetodon เป็นปลาที่มีนิสัยสงบ และมักพบอยู่ตามลำพัง เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ ในธรรมชาติ ปลาชนิดนี้มีอาณาเขตที่ใกล้เคียงกับ ปลาชนิดเดียวกัน เป็นปลาตู้ที่ได้รับความนิยม อีกด้วย

ซึ่งในวันนี้ เราจะพาคนชื่นชอบปลา ทั้งหลายมาทำความรู้จัก อย่างละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะของปลาพันธุ์ดังกล่าว รวมถึงความเป็นมาหรือที่มา ลักษณะทางกายภาพ ข้อมูล พร้อมราคาต่างๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้น

ประวัติ ปลาผีเสื้อเกล็ดมุก

ปลาผีเสื้อเกล็ดมุก และมีชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่า Chaetodon xanthurus Bleeker, 1857 สำหรับปลาชนิดนี้ เป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม และจัดเป็นปลาทะเลที่มีครีบยาวชนิดหนึ่ง เป็นปลาผีเสื้อที่อยู่ในวงศ์ Chaetodontidae สามารถเติบโตได้ยาวถึง 15 เซนติเมตร (5.9 นิ้ว) สามารถพบเห็นได้ส่วนใหญ่ ในมหาสมุทรอินโด-แปซิฟิก

ซึ่งปลาชนิดนี้หากินเวลากลางวันและมักพบที่ความลึก 20 ฟุต พบได้ในบริเวณชายฝั่งที่โล่ง ไปจนถึงแนวสันทรายด้านนอก และบริเวณที่ลาดชัน มักพบในบริเวณปะการังเขากวาง Acropora ปลาสายพันธุ์ดังกล่าวมีนิสัยสงบ และมักพบอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่

แม้ว่าบางครั้งพวกมัน อาจจะมีนิสัยก้าวร้าว แต่บางทีมันก็มีรักสงบ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีปลาในตู้ เพื่อเลี้ยงไว้ในตู้ปลา ปลาชนิดนี้อาจเข้ากันได้ดีกับ ปลาผีเสื้อชนิดอื่น ที่มีลวดลายสีที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ไม่มีการรับประกันว่า ความสัมพันธ์ของพวกมัน จะราบรื่นเสมอไป เมื่อเพิ่มปลาผีเสื้อมากกว่าหนึ่งชนิดในตู้ปลา [1]

ราคา ปลาผีเสื้อเกล็ดมุก

สำหรับราคาปลาพันธุ์นี้ในไทย มีขายทั้งลักษณะทั่วไป ราคาตกอยู่ลาสายพันธุ์นี้ ขายเริ่มต้นที่ 2,371.26 ($69.99) บาทขึ้นไป [2] และหากใครที่สนใจจริงๆ แล้วละก็ ทุกคนสามารถเข้าไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Chaetodon xanthurus

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับปลา

  • วงจรชีวิต : โดยปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีพฤติกรรมชอบอยู่ตามลำพัง หรือเป็นคู่ พวกมันเป็นสัตว์กินพืชและสัตว์ รวมถึงกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก สาหร่ายทุกชนิด แต่พวกมันยังเป็นสัตว์กินปะการัง โดยธรรมชาติเป็นหลัก
  • การขยายพันธุ์ : สำหรับปลาพันธุ์นี้ พบได้ในหรือรอบแนวปะการังของ ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกตอนกลาง ตั้งแต่อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ทางตอนเหนือไปจนถึง หมู่เกาะรีวกีว เป็นสายพันธุ์ที่หากินเวลากลางวัน และมักพบที่ความลึกกว่า 6 เมตร (20 ฟุต)

นิสัย ปลาผีเสื้อเกล็ดมุก

ปลาผีเสื้อเกล็ดมุก

สำหรับปลาสายพันธุ์นี้ ที่มีนิสัยค่อนข้างรักสงบกับปลาชนิดอื่น แต่ก็อาจจะรบกวนปลาที่มีลักษณะคล้ายคลึง ถือเป็นปลาผีเสื้อที่เลี้ยงได้ง่าย และสามารถปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างดี พวกมันชอบอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่ 

ในแหล่งที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย ตั้งแต่บริเวณน้ำใสของชายฝั่ง ไปจนถึงแนวปะการังด้านนอก และบริเวณที่ลาดชัน ในตู้ปลา พวกมันควรเลี้ยงไว้เพียงตัวเดียว เว้นแต่จะซื้อคู่ที่พิสูจน์แล้วว่า เข้ากันได้ดีนั่นเอง

ในธรรมชาติ ปลาผีเสื้อชนิดนี้จะกินสาหร่าย โพลิบปะการังอ่อน และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล อีกทั้ง พวกมันอาจจะสร้างความเสียหาย ให้กับปะการังในตู้ปลาได้ เมื่อรวมกับปลา Chaetodon ที่กินปะการังชนิดอื่นๆ ควรให้อาหารที่หลากหลาย ให้แก่พวกมัน เช่น กุ้งน้ำเค็ม สาหร่ายสไปรูลินา และอาหารที่มีสาหร่ายเป็นส่วนประกอบ

ลักษณะ ปลาผีเสื้อเกล็ดมุก

โดยรูปร่างทั่วไป ปลาสายพันธุ์นี้ เป็นปลากลุ่มน้ำเค็ม โดยไม่มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัด ระหว่างตัวผู้และตัวเมีย ลำตัวเป็นสีขาวมุก และเกล็ดมีขอบสีดำ ทำให้ด้านข้างมีลวดลายไขว้กัน แทนที่จะเป็นลายเฉียงแบบใส ในสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง 

และมีส่วนหลังเป็นสีเหลืองส้ม โคนครีบหางเป็นสีขาว หัวมีสีเข้มกว่าลำตัว และมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของมัน ประกอบด้วยแถบสีดำ เป็นแนวตั้งที่ตา และจุดสีดำที่กระหม่อมมีขอบสีขาว สายพันธุ์นี้สามารถเติบโตได้ยาวสูงสุด 15 เซนติเมตร [3]

ภาพรวมสายพันธุ์ ผีเสื้อเกล็ดมุก

  • อาณาจักร : Animalia
  • ต้นกำเนิด : สามารถพบในทวีปมหาสมุทรอินโด – แปซิฟิก
  • สัดส่วน : ความยาวได้สูงสุด 15 เซนติเมตร (5.90 นิ้ว)
  • อาหาร : กินพืชเป็นอาหารหลัก หรือกินเนื้อได้บ้าง ได้แก่ กุ้ง, หอย, ปู, ปลา
  • ระดับการดูแล : ง่าย
  • คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 8.2 – 8.4
  • อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 22 – 28 องศา
  • การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นไข่

สรุป ปลาผีเสื้อเกล็ดมุก “Chaetodon ulietensis”

สรุป ปลาสายพันธุ์ ผีเสื้อเกล็ดมุก จัดเป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม และมีอุปนิสัยค่อนข้างรักสงบ กับปลาชนิดอื่น แต่ก็อาจรบกวนปลาที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยปกติแล้ว พวกมันจะอาศัยอยู่ตามลำพังหรือเป็นคู่ ในแหล่งที่อยู่อาศัยที่หลากหลาย พวกมันสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ และสัตว์ไม่มีกระดูกหลังขนาดเล็ก และสาหร่ายทุกชนิด

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง