รีวิว ปลาผีเสื้อเซมิ ปลาทะเลที่มีราคาแพงมาก

ปลาผีเสื้อเซมิ

ปลาผีเสื้อเซมิ (Bluecheek butterflyfish) หนึ่งในกลุ่มปลาสวยงามน้ำเค็ม ที่มีความน่ารับเลี้ยงไม่น้อย เหมือนกันกับ ปลาผีเสื้อพระจันทร์ เป็นปลาทะเลที่มีครีบเป็นก้านยาว ซึ่งอยู่ในตระกูล Chaetodon ซึ่งปลาสายพันธุ์นี้เป็นปลาผีเสื้อแก้มน้ำเงิน เป็นหนึ่งในปลาไม่กี่สายพันธุ์ ที่มีคู่ครองในระยะยาว

ซึ่งในวันนี้ เราจะพาคนชื่นชอบปลา ทั้งหลายมาทำความรู้จัก อย่างละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะของปลาพันธุ์ดังกล่าว รวมถึงความเป็นมาหรือที่มา ลักษณะทางกายภาพ ข้อมูล พร้อมราคาต่างๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้น

ประวัติ ปลาผีเสื้อเซมิ

ปลาผีเสื้อเซมิ และมีชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่า Chaetodon semilarvatus (Cuvier, 1831) สำหรับปลาชนิดนี้ เป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับ ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) และสามารถพบในมหาสมุทรอินโด-แปซิฟิก อย่างแพร่หลาย พวกมันโตเต็มที่ความยาวสูงสุด 23 เซนติเมตร (9.1 นิ้ว) ถึงแม้ว่าความยาวโดยทั่วไป จะอยู่ที่ 15 เซนติเมตร (5.9 นิ้ว)

อีกทั้ง ปลาสายพันธุ์ดังกล่าว ได้รับการยอมรับ เป็นทางการครั้งแรก เมื่อในปี 2374 โดยนักกายวิภาคชาวฝรั่งเศสชื่อ Georges Cuvier โดยมีสถานที่ระบุ เป็นทะเลแดง ณ เมือง Massawain ประเทศเอริเทรีย และ Al-Luhayya ประเทศเยเมน พวกมันจัดอยู่ในสกุลย่อย Rabdophorus ซึ่งอาจรับประกันการจำแนก เป็นสกุลที่แตกต่าง

ซึ่งปลาผีเสื้อสายพันธุ์นี้ ดูเหมือนจะใกล้เคียง กับกลุ่มที่มีปลาผีเสื้อหลังดำ (C. melannotus) ปลาผีเสื้อคอจุด (C. oxycephalus) หรือปลาผีเสื้อลิ่มดำ (C. falcula) แม้ว่าสายพันธุ์ปัจจุบัน จะไม่มีลำตัวสีขาว มีสีดำที่หลังและก้านหาง และไม่มีแถบตาแบบตระกูล Chaetodon ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว [1]

ราคา ปลาผีเสื้อเซมิ

สำหรับราคาปลาพันธุ์นี้ในไทย มีขายทั้งลักษณะทั่วไป ราคาตกอยู่ลาสายพันธุ์นี้ ขายเริ่มต้นที่ 12,333.65 บาทขึ้นไป [2] และหากใครที่สนใจจริงๆ แล้วละก็ ทุกคนสามารถเข้าไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Bluecheek butterflyfish

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับปลา

  • วงจรชีวิต : โดยปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีพฤติกรรมชอบอยู่กันเป็นคู่ หรือเป็นเล็กๆ ออกหากินเวลากลางคืน ซึ่งปลาที่โตเต็มวัย จะกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อยู่ตามพื้นทะเล แต่ยังกินสาหร่ายได้เหมือนกัน ที่ความลึกประมาณ 1 ถึง 20 เมตร (3.3 ถึง 65.6 ฟุต) และโดยทั่วไปที่พบได้ ในพื้นที่ที่มีปะการังเติบโต อย่างอุดมสมบูรณ์
  • การขยายพันธุ์ : สำหรับปลาชนิดนี้ สามารถพบการขยายพันธุ์ค่อนข้างง่าย พบในมหาสมุทรอินเดีย ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งพบได้ในทะเลแดง และอ่าวเอเดน ไปจนถึงชายฝั่งโอมาน ทางด้านตะวันออก

นิสัย ปลาผีเสื้อเซมิ

ปลาผีเสื้อเซมิ

สำหรับปลาสายพันธุ์นี้ ที่มีนิสัยไม่ดุร้าย ต่อปลาชนิดอื่น และมักพบเป็นคู่ หรือเป็นฝูงไม่ใหญ่มาก อย่างที่ทราบกันดีว่าพวกมัน มักจะลอยนิ่งๆ อยู่เป็นเวลานานใต้แนวหิน หรือปะการัง นอกจากนี้ ปลาสายพันธุ์ดังกล่าววางไข่ และจะจับคู่กัน เมื่อช่วงฤดูกาลวางไข่ โดยปกติแล้ว จะเป็นตอนกลางวัน และปลาจะออกมาหากิน ในเวลากลางคืน

ลักษณะ ปลาผีเสื้อเซมิ

โดยรูปร่างทั่วไป ปลาสายพันธุ์นี้ เป็นปลากลุ่มน้ำเค็ม และมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งปลาสายพันธุ์ดังกล่าว ปลาผีเสื้อแก้มน้ำเงิน มีลำตัวสีเหลืองสดใส มีเส้นแนวตั้งสีแดงบางๆ ด้านหลังดวงตามีปื้นสีเทา ในขณะที่ปลาชนิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่มีแถบตา ครีบหลัง ครีบก้น ครีบเชิงกราน และครีบหางมีสีเหลือง

ซึ่งพวกมันเป็นปลาผีเสื้อ สายพันธุ์ค่อนข้างใหญ่ สำหรับปลาโตเต็ม ที่มีความยาวสูงสุด 23 เซนติเมตร (9.1 นิ้ว) ถึงแม้ว่าความยาวโดยทั่วไป จะอยู่ที่ 15 เซนติเมตร (5.9 นิ้ว) และเป็นปลาเฉพาะถิ่น ของทะเลแดง และอ่าวเอเดน [3]

ภาพรวมสายพันธุ์ ผีเสื้อเซมิ

  • อาณาจักร : Animalia
  • ต้นกำเนิด : สามารถพบในทวีปมหาสมุทรอินโด – แปซิฟิก
  • สัดส่วน : ความยาวได้สูงสุด 23 เซนติเมตร (9.05 นิ้ว) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ราว 15 ซม. (5.90 นิ้ว)
  • อาหาร : กินพืชเป็นอาหารหลัก หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่มี กระดูกสันหลังขนาดเล็ก ได้แก่ กุ้ง, ปลา, ปู และ สาหร่าย เป็นต้น
  • ระดับการดูแล : ค่อนข้างง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไป
  • คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 8.0 – 8.3
  • อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 23 – 28 องศา
  • การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นไข่

สรุป ปลาผีเสื้อเซมิ “Bluecheek butterflyfish”

ปลาสายพันธุ์ ผีเสื้อเซมิ จัดเป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม ในตระกูลปลาผีเสื้อ และเป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่ง นับว่าเลี้ยงได้ยากเลย การเลี้ยงพวกมันให้เอารอดได้ในระยะนาน นั่นก็คือ สภาพของปลาที่มาในตอนแรก และตู้ที่มีระบบคุณภาพน้ำที่ดี มีนิสัยรักสงบ และตกใจง่าย ยอมกินอาหารสำเร็จรูปได้ไม่ยาก เขตการกระจายพันธุ์ ในทะเลแดง และอ่าวเอเดน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง