ปลาสอดมอลลี่ส้มยักษ์ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ปลาสอดมอลลี่ส้มยักษ์

ปลาสอดมอลลี่ส้มยักษ์ (Xiphophorus Hellerii) หนึ่งในกลุ่มปลาสวยงามในตู้ ที่มีความน่ารับเลี้ยงไม่น้อย เหมือนกันกับ ปลากระดี่บลูนีออน ซึ่งอยู่ในตระกูล Poecilia ปลาสายพันธุ์นี้ เป็นปลาไซส์ใหญ่พิเศษ เพราะว่ามีลักษณะ ลำตัวมีสีส้มทั่วทั้งตัว ดูแล้วน่าสนใจ แถมยังเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ซึ่งในวันนี้ เราจะพาคนชื่นชอบปลา ทั้งหลายมาทำความรู้จัก อย่างละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะของปลาพันธุ์ดังกล่าว รวมถึงความเป็นมาหรือที่มา ลักษณะทางกายภาพ ข้อมูล พร้อมราคาต่างๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้น

ประวัติ ปลาสอดมอลลี่ส้มยักษ์

ปลาสอดมอลลี่ส้มยักษ์ และมีชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่า Poecilia latipinna สำหรับปลาชนิดนี้ เป็นปลาสายพันธุ์น้ำจืด จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับ ปลาสอด (Poeciliida) และสามารถพบในภูมิภาคอเมริกาเหนือ และอเมริกากลาง ที่ทอดยาวจากเมืองเวรากรูซ ของประเทศเม็กซิโก ไปจนถึงฮอนดูรัส ทางตะวันตกเฉียงเหนือ [1]

ราคา ปลาสอดมอลลี่ส้มยักษ์

สำหรับราคาปลาพันธุ์นี้ในไทย มีขายทั้งลักษณะทั่วไป ราคาตกอยู่ลาสายพันธุ์นี้ ขายเริ่มต้นที่ 120 บาทขึ้นไป ซึ่งส่วนมาก จะแบ่งเป็นเกรดต่างๆ และมักขายแบบเป็นเซท 2 ตัว, 5 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดตัว [2] และหากใครที่สนใจจริงๆ แล้วละก็ ทุกคนสามารถเข้าไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Xiphophorus Hellerii

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับปลา

  • วงจรชีวิต : โดยปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีพฤติกรรมชอบอยู่กันเป็นคู่ หรือเป็นฝูง โดยปกติจะเติบโตได้ดีและให้ลูกได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในระดับอุณหภูมิอย่างต่ำที่สุด 22 องศา และอุณหภูมิที่ 24 องศา โดยปลาจะให้ลูกได้ดีที่สุด เมื่ออยู่ในอุณหภูมิ 23 องศา ปลาตัวเมียที่มีสุขภาพสมบูรณ์ จะออกลูกทุกสี่ สัปดาห์ ปกติจะออกลูกคราวละ 2 ถึง 200 ตัว แต่โดยเฉลี่ยแล้ว จะออกลูกคราวละ 20 ตัว
  • การขยายพันธุ์ : สำหรับปลาชนิดนี้ สามารถพบการขยายพันธุ์ค่อนข้างง่าย หากมีสภาพแวดล้อมในตู้เหมาะสม และมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย การสืบพันธุ์จะเกิดขึ้น โดยไม่ต้องมีการแทรกแซง ตัวเมียทุกตัว ที่มาจากตู้ผสมเพศ มักจะตั้งท้องเมื่อมาถึง ทำให้เกิดประชากรในการผสมพันธุ์ เมื่อลูกปลาโตเต็มวัย เมื่ออายุประมาณสามเดือน

นิสัย ปลาสอดมอลลี่ส้มยักษ์

ปลาสอดมอลลี่ส้มยักษ์

สำหรับปลาสายพันธุ์นี้ ที่มีนิสัยดี และไม่รังแกต่อปลาชนิดอื่น หรือปลาส่ยพันธุ์เดียวกัน มักพบเป็นคู่ หรือเป็นฝูง แต่อาจจะค่อนข้างที่จะตกใจได้ง่าย เมื่อเลี้ยงรวมกันเป็นฝูง ซึ่งพวกมันชอบว่ายอยู่รวมกัน เป็นกลุ่มประมาณ 3 – 4 ตัว หรือมากกว่านั้น 

ปลาสายพันธุ์ดังกล่าว เป็นปลาที่คุ้นเคยกันดี และเป็นปลาประจำของทุกบ้าน เลยก็ว่าได้ ด้วยประโยชน์ที่สีสันน่าสนใจ มีราคาย่อมเยา ที่ใครก็สามารถเลี้ยงได้ไม่ยาก และเป็นที่นิยมเลี้ยงอย่างแพร่หลาย เมื่อพูดถึงปลาสวยงามแล้ว พวกมันจัดได้ว่าเป็นปลาสวยงาม อันดับต้นๆ ที่ใครหลายคน ก็ต้องนึกถึงแน่นอน

ลักษณะ ปลาสอดมอลลี่ส้มยักษ์

โดยรูปร่างทั่วไป ปลาสายพันธุ์นี้ เป็นปลากลุ่มน้ำจืด และมีราคาไม่สูงมาก ซึ่งปลาสายพันธุ์ดังกล่าว อยู่ในตระกูลปลาสอด มีลำตัวสีส้มทั่วทั้งตัว ที่สะดุดตาและสีสดใส ทว่าความนิยมของพวกมันนั้น ไม่ได้หยุดอยู่แค่ในประเทศเราเท่านั้น แถมยังเป็นปลาสวยงาม ยอดนิยมในต่างประเทศ อีกด้วย 

ซึ่งปัจจุบันจัด เป็นปลาที่มีสีสันงดงาม ไม่แพ้ปลาชนิดอื่น พวกมันเป็นปลาที่ค่อนข้างรักสงบ และเหมาะสำหรับที่จะเลี้ยงไว้ ในตู้ปลาที่มีต้นไม้ หรือระบบน้ำที่มีคุณภาพสูง สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย และเลี้ยงเป็นงานอดิเรกได้เป็นอย่างดี [3]

ภาพรวมสายพันธุ์ สอดมอลลี่ส้มยักษ์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ต้นกำเนิด : สามารถพบในทวีปอเมริกาเหนือ และอเมริกากลาง และตามแม่น้ำทั่วประเทศไทย
  • สัดส่วน : ความยาวได้สูงสุด 5 – 6 เซนติเมตร (1.96 – 2.36 นิ้ว)
  • อาหาร : กินพืช หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่มี กระดูกสันหลังขนาดเล็ก ได้แก่ กุ้ง, หอย, หนอนเลือด และไร้น้ำ เป็นต้น
  • ระดับการดูแล : ค่อนข้างง่าย
  • คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 6.8 – 8.0
  • อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 18 – 27 องศา
  • การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นตัว
  • เพื่อนร่วมตู้ : สามารถอยู่ร่วมได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ดานิโอ้, ปลาหางนกยูง, ปลานีออน, ปลาซิวข้างขวาน, ปลาสอดชนิดอื่นๆ, ปลาเรนโบว์, ปลากระดี่, ซัคเกอร์ Bristlenose เป็นต้น

สรุป ปลาสอดมอลลี่ส้มยักษ์ “Xiphophorus Hellerii”

ปลาสายพันธุ์ สอดมอลลี่ส้มยักษ์ จัดเป็นปลาสายพันธุ์น้ำจืด ในตระกูลปลาสอด และเป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่ง ปลาสายพันธุ์นี้มีลำตัวสีส้มทั่วทั้งตัว และเป็นปลาที่รักสงบ ปลาในวงศ์นี้ ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม ที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะเด่น คือ เป็นปลาที่ว่ายหากินเป็นฝูง บริเวณผิวน้ำ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง