รีวิว ปลาหมอมาลาวีคละแบบ หลากหลายสี

ปลาหมอมาลาวีคละแบบ

ปลาหมอมาลาวีคละแบบ (Malawi Cichlids) หนึ่งในกลุ่มปลาสวยงามน้ำจืด ที่มีความน่าเลี้ยงไม่เป็นรอง ปลาจาคอปแดง ซึ่งอยู่ในตระกูล Aulonocara ปลาสายพันธุ์นี้ มีลำตัวสีแดงสวยงาม เป็นปลาประจำถิ่นของ ทะเลสาบมาลาวี มีหลากหลายสี ไม่ว่าจะเป็น สีน้ำเงิน, เผือก, สีเหลือง, เป็นต้น นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ซึ่งในวันนี้ เราจะพาคนเลี้ยงปลาสวยงาม ทั้งหลายมาทำความรู้จัก อย่างรายละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะของปลาพันธุ์ดังกล่าว รวมไปถึงความเป็นมาหรือประวัติ ลักษณะทางกายภาพ ข้อมูล พร้อมราคาต่างๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้น

ประวัติ ปลาหมอมาลาวีคละแบบ

ปลาหมอมาลาวีคละแบบ และมีชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่า Aulonocara stuartgranti สำหรับปลาชนิดนี้ เป็นปลาสายพันธุ์น้ำจืด จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับ Cichlidae เป็นปลาเฉพาะถิ่นของ ทะเลสาบมาลาวี ที่มีหลากหลายสี โดยทั่วไปสามารถเติบโตได้ยาวประมาณ 13 ซม. 

จัดเป็นปลาหมอสี สายพันธุ์ดั้งเดิม ที่เป็นที่รู้จักของคนเลี้ยงปลา มาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นสายพันธุ์แรกๆของปลาหมอมาลาวี ที่ถูกนำมาจำหน่ายทั่วโลก และในเมืองไทย ปัจจุบันมักใช้ชื่อทางการค้า คือบลูพีค็อก ซึ่งมีลักษณะเด่นสามสี และเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก สามารถแพร่กระจายในทวีปแอฟริกา [1]

ราคา ปลาหมอมาลาวีคละแบบ

สำหรับราคาปลาพันธุ์นี้ในไทย มีขายอยู่ทั่วไป ราคาตกอยู่ลาสายพันธุ์นี้ ขายเริ่มต้นที่ 140 บาทขึ้นไป ซึ่งส่วนมาก จะแบ่งเป็นเกรดต่างๆ และมักขายแบบเป็นเซท 2 ตัว, 5 ตัว และ 12 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดตัว [2] และหากใครที่สนใจจริงๆ แล้วละก็ ทุกคนสามารถเข้าไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Lake Malawi Cichlids

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับปลา

  • วงจรชีวิต : โดยปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีพฤติกรรมชอบอยู่กันเป็นฝูง และมักพบเห็นได้ในบริเวณที่เรียกว่าโซนกลาง ของทะเลสาบมาลาวี ซึ่งชายฝั่งหินเปลี่ยนเป็นพื้นทราย ที่มีหินกระจัดกระจาย เมื่อเข้าใกล้ขอบเขตทางเหนือ ของอาณาเขต พบว่าปลาชนิดนี้ชอบถ้ำ และซอกหินต่างๆ
  • การขยายพันธุ์ : สำหรับปลาชนิดนี้ สามารถผสมพันธุ์ได้ง่าย ในทวีปแอฟริกา โดยพบเฉพาะทางตอนใต้ ของทะเลสาบเท่านั้น เป็นปลาแม่พันธุ์ ที่ฟักไข่ในปาก โดยตัวเมียจะดูแลไข่ และลูกปลา ระยะเวลาฟักไข่ โดยเฉลี่ยคือ 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นตัวเมีย จะปล่อยลูกปลาไป

นิสัย ปลาหมอมาลาวีคละแบบ

ปลาหมอมาลาวีคละแบบ

สำหรับปลาสายพันธุ์นี้ ที่นิสัยกึ่งก้าวร้าว โดยทั่วไปไม่รักสงบ หวงอาณาเขตในช่วงวางไข่ ชอบอาศัยในทะเลสาบ และเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว ไม่มีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ จากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน แถมยังปลาหมอสีอาศัยอยู่ในน้ำจืด และสามารถทนต่อน้ำเค็มได้ดี

และพวกมันก็ไม่ค่อยเข้ากับ ประเภทนักล่าตัวใหญ่เช่นเดียวกัน การปล่อยให้พวกมัน ว่ายไปมาเหนือน้ำ อาจทำให้เครียดเกินไปได้ นอกจากนี้ ปลาหมอสีมีอวัยวะพิเศษ ที่สามารถเก็บกัก ปริมาณออกซิเจนได้นาน ทำให้ไม่ต้องโผล่:6บน้ำบ่อยๆ และลูกปลาวัยอ่อนสามารถอยู่ในน้ำ ที่มีออกซิเจนต่ำ

รูปร่าง ปลาหมอมาลาวีคละแบบ

โดยรูปร่างทั่วไป ปลาสายพันธุ์นี้ เป็นปลากลุ่มน้ำจืด และมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งปลาสายพันธุ์ดังกล่าว อยู่ในตระกูลปลาหมอสี เป็นปลาที่มีลำตัวสีสันสวยงาม แถมยังมีลวดลายหลายสี อาทิเช่น น้ำเงิน เผือก และสีเหลือง พวกมันสามารถอยู่ในตู้ปลาได้ดี อาศัยอยู่ในพื้นที่ทราย ของทะเลสาบมาลาวี 

โดยที่ขอบนอกสุดของ ครีบหลังมีสีขาว ครีบหางมีลายเส้นสีเหลือง หรือบางตัวไม่ปรากฎ ปัจจุบันสายพันธุ์แท้ ที่เป็นสีน้ำเงินล้วนนั้น หาได้ยาก เพราะถูกนำมาพัฒนาสายพันธุ์ จนมีสีน้ำเงินท้องเหลือง หรือ สีอื่นปน สามารถเลี้ยงรวมเป็นฝูง กับปลาหมอมาลาวี สายพันธุ์อื่นได้ดี และจะเติบโตจนโตเต็มวัย โดยมีความยาวอย่างน้อย 13 ซม. [3]

ภาพรวมสายพันธุ์ หมอมาลาวีคละแบบ

  • อาณาจักร : Animalia
  • ต้นกำเนิด : สามารถพบในทวีปแอฟริกา
  • สัดส่วน : ความยาวได้สูงสุด 5 นิ้ว (12.7 เซนติเมตร)
  • อาหาร : กินพืช หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่มี กระดูกสันหลังขนาดเล็ก ได้แก่ หอยทาก, กุ้งฝอย และหนอนแดง เป็นต้น
  • ระดับการดูแล : ค่อนข้างง่าย
  • คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 7.5 – 9.0
  • อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 25 – 29 องศา
  • การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นไข่

สรุป ปลาหมอมาลาวีคละแบบ “Malawi Cichlids”

สรุป ปลาสายพันธุ์ หมอมาลาวีคละแบบ จัดเป็นปลาสายพันธุ์น้ำจืด ในตระกูลปลาหมอสี และเป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่ง ซึ่งสีสันที่สดใสของพวกมัน ทำให้เราอยากเลี้ยงพวกมันลงในตู้ และเป็นปลาที่มีนิสัยกึ่งก้าวร้าว หวงอาณาเขตในช่วงวางไข่ ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นทราย และซอกหิน มีถิ่นกำเนิดส่วนใหญ่ ในประเทศมาลาวี นั่นเอง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง