ปลาอมไข่ครีบยาว ตัวเล็ก รูปร่างดูแปลกตา

ปลาอมไข่ครีบยาว

ปลาอมไข่ครีบยาว (Banggai cardinalfish) หนึ่งในกลุ่มปลาน้ำเค็ม และเป็นปลาอมไข่ชนิดหนึ่ง ในสกุล Pterapogon ที่ค่อนข้างนิยมเลี้ยงเหมือนกันกับ ปลาเพอเพิลแทงก์ โดยปัจจุบันนิยมเลี้ยง ปลาสายพันธุ์นี้กลายเป็น ปลาทะเลสวยงามไป ที่เรียบร้อยแล้ว 

ซึ่งในบทความนี้ เราจะพาคนชื่นชอบปลาสวยงาม ทุกท่านมาทำความรู้จัก อย่างละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะของปลาพันธุ์ดังกล่าว รวมถึงความเป็นมา ลักษณะทางกายภาพ ข้อมูล พร้อมราคาต่างๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้น

ที่มา ปลาอมไข่ครีบยาว

ปลาอมไข่ครีบยาว และมีชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์ว่า Pterapogon kauderni สำหรับปลาชนิดนี้ เป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับ Apogonidae และพบการขยายพันธุ์ในวงกว้าง สามารถพบกระจายพันธุ์ ในทะเลแถบอินโด – แปซิฟิก แต่ไม่พบในน่านน้ำไทย แต่จะพบมากที่เกาะบังไก ของประเทศอินโดนีเซีย

และปลาสายพันธุ์ดังกล่าว จัดเป็นปลาที่ได้รับการยอมรับ อย่างเป็นทางการครั้งแรก ในปี 2005 พบมีประชากรอยู่ประมาณ 2.4 ล้านตัว แต่ถูกจับไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ถึงปีละ 700,000 – 900,000 ตัวต่อปี โดยอายุขัยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ราวประมาณ 2.5 ปี โดยพบที่อายุยืนสูงสุดถึง 4 – 5 ปีเลยทีเดียว [1]

ราคา ปลาอมไข่ครีบยาว

สำหรับราคาปลาพันธุ์นี้ในไทย มีขายทั้งลักษณะทั่วไป ราคาตกอยู่ลาสายพันธุ์นี้ ขายเริ่มต้นที่ 50 บาทขึ้นไป [2] และหากใครที่สนใจจริงๆ แล้วละก็ ทุกคนสามารถเข้าไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Banggai Cardinalfish Tank Bred

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับปลา

  • วงจรชีวิต : โดยปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีพฤติกรรมชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม หรือรวมกันเป็นฝูง ตั้งแต่ไม่กี่ตัว จนถึงหลายร้อยตัว อยู่ในแนวปะการัง ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอย่างอื่น พวกมันตอนวัยรุ่น มักหลบซ่อนตามหญ้าทะเล, สาหร่าย, ดาวขนนก และ ปะการัง โดยใช้เป็นที่ซ่อนภัยจากผู้ล่า อาศัยอยู่ในความลึกตั้งแต่ 0.5 – 6 เมตร
  • การกระจายพันธุ์ : สำหรับปลาชนิดนี้ ในการผสมพันธุ์ ของปลาสายพันธุ์ดังกล่าว สามารถพบในกระจายพันธุ์ แถวทะเลแถบอินโด – แปซิฟิก โดยปลาชนิดนี้มีประชากรเพียง 2.4 ล้านตัว เมื่อเทียบกับจำนวนปลาชนิดอื่น หรือปลาทะเลสวยงามละ เจ็ดแสนถึงเก้าแสนตัว (Allen and Donalson, 2007) 

นิสัย ปลาอมไข่ครีบยาว

ปลาอมไข่ครีบยาว

สำหรับปลาสายพันธุ์นี้ ที่มีอุปนิสัยรักสงบ ไม่เป็นอันตรายต่อเพื่อนร่วมตู้ เป็นปลาที่ว่ายน้ำที่โดดเด่น การเป็นของตัวเอง มีลักษณะ ว่ายน้ำไปข้างหน้าแล้วหยุด ไม่เคลื่อนที่มากเมื่อสภาวะปกติ และพวกมันมีสีสันไม่ฉูดฉาดมากนัก มีรูปร่างดูแปลกตา ไม่ดุร้ายกับปลาชนิดอื่น แต่นิสัยไม่ดี กับปลาประเภทเดียวกัน เป็นบางครั้งเท่านั้น เป็นปลาที่หากินทั้งกลางวัน และกลางคืน บางชนิดเพาะพันธุ์ได้ง่าย อีกด้วย

ลักษณะ ปลาอมไข่ครีบยาว

โดยรูปร่างทั่วไป ปลาสายพันธุ์นี้ เป็นปลากลุ่มน้ำเค็ม และมีราคาที่ค่อนข้างสูง อีกหนึ่งชนิดเลยทีเดียว ซึ่งปลาสายพันธุ์ดังกล่าว ครีบหางยาวเป็นรูปส้อมชัดเจน ลำตัวมีสีขาวเงิน มีแถบสีดำพาดขวางผ่านลำตัว 3 แถบ และครีบหางทั้งด้านบน และด้านล่าง มีจุดสีขาวกระจายทั่วลำตัว และครีบต่างๆ ยกเว้นครีบอก ที่มีลักษณะโปร่งแสง 

อีกทั้ง ปลาชนิดนี้ การเกิดจุดสีขาว ของพวกมัน จะแตกต่างกันไป เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งพวกมันจะมีขนาด โตเต็มที่อยู่ราวประมาณ 8 เซนติเมตร พวกมันชอบอาศัยอยู่ ตามกันเป็นฝูง ตั้งแต่ไม่กี่ตัว จนถึงหลายร้อยตัว ในแนวปะการัง ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอย่างอื่น [3]

ภาพรวมสายพันธุ์ อมไข่ครีบยาว

  • อาณาจักร : Animalia
  • ต้นกำเนิด : สามารถพบในทะเลแถบอินโด – แปซิฟิก แต่ไม่พบในน่านน้ำไทย แต่จะพบมากที่เกาะบังไก ของประเทศอินโดนีเซีย
  • สัดส่วน : ความยาว 8 เซนติเมตร (3.93 นิ้ว) หรือขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป คือ 4 – 5 เซนติเมตร
  • อาหาร : กินพืชเป็นอาหารหลัก หรือกินเนื้อได้บ้าง ได้แก่ สิ่งมีชีวิต และ สาหร่าย
  • ระดับการดูแล : ง่าย
  • คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 7.0 – 8.5
  • อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 27 – 28 องศา
  • การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นไข่

สรุป ปลาอมไข่ครีบยาว “Banggai cardinalfish”

ปลาสายพันธุ์อมไข่ครีบยาว จัดเป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับปลาชนิดอื่น ในวงศ์เดียวกันปลาอมไข่ ที่ได้รับความนิยมในตู้ และจัดเป็นปลาที่เลี้ยงได้ง่าย แต่มีราคาไม่แพงมากนัก เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดประมาณ 8 เซนติเมตร หรือขนาดโดยเฉลี่ยทั่วไป คือ 4 ถึง 5 เซนติเมตร แต่มักพบในความลึกประมาณ 1.5 – 2.5 เมตร

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง