ปลาออเรนจ์โชว์เดอร์ ปลาเลี้ยงง่ายกินเก่ง นิสัยดี

ปลาออเรนจ์โชว์เดอร์

ปลาออเรนจ์โชว์เดอร์ (Orange Shoulder Tang / Acanthurus olivaceus) หนึ่งในกลุ่ม ปลาน้ำเค็ม ที่มีความน่ารับเลี้ยงไม่น้อย มักมีลำตัวลึก และมีรูปร่างเป็นวงรีด้านข้าง ยาวกว่าลำตัวถึงสองเท่า สำหรับปลาชนิดนี้ ตอนโตแล้วค่อนข้างกินยากซักหน่อย และสามารถปรับตัวได้ดี รวมถึงพวกมันโตเต็มที่สีสันสวยมาก

ซึ่งในวันนี้ เราจะพาคนชื่นชอบปลา ทั้งหลายมาทำความรู้จัก อย่างละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะของปลาพันธุ์ดังกล่าว รวมถึงความเป็นมาหรือที่มา ลักษณะทางกายภาพ ข้อมูล พร้อมราคาต่างๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้น

ประวัติ ปลาออเรนจ์โชว์เดอร์

ปลาออเรนจ์โชว์เดอร์ และมีชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่า Acanthurus olivceus Bloch & Schneider, 1801 สำหรับปลาชนิดนี้ เป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับ ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) และสามารถพบในน่านน้ำเขตร้อนของ อินโด-แปซิฟิก ทางตะวันตก 

นอกจากนี้ พวกมันเป็นปลาได้รับการยอมรับ อย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อในปี 2344 โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน ที่มีชื่อว่า Marcus Elieser Bloch และ Johann Gottlob Theaenus Schneider 

โดยมีการระบุว่า ปลาชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดเป็นตาฮีตี ในหมู่เกาะโซไซเอตี สปีชีส์นี้มีความใกล้ชิดกับ Marquesas surgeonfish (A. reversus) ซึ่งเป็นปลาที่จำกัดขอบเขต การแพร่พันธุ์ และเมื่อรวมกันแล้ว taxa เหล่านี้ก็ก่อตัว เป็นกลุ่มสปีชีส์ภายในสกุล Acanthurus [1]

ราคา ปลาออเรนจ์โชว์เดอร์

สำหรับราคาปลาพันธุ์นี้ในไทย มีขายทั้งลักษณะทั่วไป ราคาตกอยู่ลาสายพันธุ์นี้ ขายเริ่มต้นที่ 2,495.49 บาทขึ้นไป [2] และหากใครที่สนใจจริงๆ แล้วละก็ ทุกคนสามารถเข้าไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Orange Shoulder Tang

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับปลา

  • วงจรชีวิต : โดยปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีพฤติกรรมชอบอยู่กันเป็นคู่ หรือเป็นฝูง ชอบอาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อน ของมหาสมุทรอินโด-แปซิฟิก ทางตะวันตก โดยมีความลึกระหว่าง 9 ถึง 46 เมตร (30 ถึง 150 ฟุต) แต่ปลาวัยอ่อนจะพบได้ในน้ำตื้น บริเวณที่กำบังเป็นกลุ่มเล็กๆ และตามแนวปะการัง
  • การขยายพันธุ์ : สำหรับปลาชนิดนี้ สามารถพบการขยายพันธุ์ค่อนข้างง่าย ในมหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกในเขตร้อน และมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตก มีอาณาเขตตั้งแต่ เกาะคริสต์มาส และหมู่เกาะโคโคส (คีลิง) ไปจนถึงญี่ปุ่นตอนใต้ ออสเตรเลียตะวันตก ตอนเหนือ หรือตะวันออก ของอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และฮาวาย เป็นต้น

นิสัย ปลาออเรนจ์โชว์เดอร์

ปลาออเรนจ์โชว์เดอร์

สำหรับปลาสายพันธุ์นี้ ที่มีอุปนิสัยดี รักสงบ ไม่เป็นอันตรายต่อเพื่อนร่วมตู้ และ สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี หรือเป็นปลาประเภทปลาเดียวกัน พวกมันยังเป็นปลายอดนิยม อีกชนิดหนึ่ง อีกทั้ง ปลาชนิดนี้ยังมี กลยุทธ์การป้องกันตัวเอง คือ ปลาชนิดนี้จะขยายส่วนหาง ที่แข็งแกร่งของมันออกไป เพื่อโจมตีนักล่าที่เข้ามาใกล้ หรือ ในอาณาเขตของพวกมัน

ลักษณะ ปลาออเรนจ์โชว์เดอร์

โดยรูปร่างทั่วไป ปลาสายพันธุ์นี้ เป็นปลากลุ่มน้ำเค็ม และมีราคาค่อนข้างแพง ซึ่งปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีสีสันและลวดลายสวยงาม มีรูปร่างแถบสีเหลืองอมส้ม เป็นปลาที่มีลำตัวลึก และมีลักษณะเป็นรูปไข่ มีความยาวมากกว่า ลำตัวลึกถึงสองเท่า โดยมีความยาวสูงสุด 35 ซม. (14 นิ้ว) แม้ว่าความยาวทั่วไป จะอยู่ที่ 25 ซม. (10 นิ้ว)

ครีบหลังและครีบก้นทั้งสอง ข้างยาวและต่ำ ทอดยาวไปถึงก้านหาง ครีบหลังมีหนามแหลม 9 อัน และก้านอ่อน 23 ถึง 25 อัน ในขณะที่ครีบก้นมีหนามแหลม 3 อันและก้านอ่อน 22 ถึง 24 อัน ครีบหางเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว [3]

โดยปลายแหลมจะยาวขึ้น เมื่อปลาโตขึ้น ปลาที่โตเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลเทา เส้นแนวตั้งที่แหลม มักจะแยกส่วนหน้าของปลา ที่มีสีซีดกว่าออกจากส่วนหลัง ที่มีสีเข้มกว่า มีแถบสีส้มที่โดดเด่น ล้อมรอบด้วยขอบสีม่วงดำ

ภาพรวมสายพันธุ์ ออเรนจ์โชว์เดอร์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ต้นกำเนิด : สามารถพบในทวีป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามแม่น้ำโขง และแม่น้ำสาขา
  • สัดส่วน : ความยาวได้สูงสุด 35 เซนติเมตร (13.77 นิ้ว)
  • อาหาร : กินพืชเป็นอาหารหลัก หรือกินเนื้อได้บ้าง ได้แก่ สิ่งมีชีวิต, กุ้ง, ปลา, ปู และ สาหร่าย เป็นต้น
  • ระดับการดูแล : ค่อนข้างง่าย
  • คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 8.1 – 8.4
  • อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 22 – 28 องศา ไม่ควรเกิน 32 องศา
  • การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นไข่

สรุป ปลาออเรนจ์โชว์เดอร์ “Orange Shoulder Tang”

ปลาสายพันธุ์ ออเรนจ์โชว์เดอร์ จัดเป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม ในตระกูลปลาขี้ตังเบ็ด เมื่อตอนยังเล็กอยู่ ลำตัวของพวกมันจะเป็นสีเหลืองอมส้ม หลังจากนั้นก็ค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นสีเทา เมื่อปลาตัวโตขึ้น เอกลักษณ์ของมัน คือแถบสีส้มล้อมด้วยวงรี รูปเกือกม้าสีน้ำเงิน บริเวณหลังแผ่นปิดเหงือก เมื่อปลาปลาโตเต็มที่

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง