ปลาเขียวพระอินทร์ (Moon wrasse) จัดเป็นกลุ่มปลาทะเลสวยงาม เช่นเดียวกันกับ ปลาเลียวพาร์ดแรส และจัดเป็นปลาที่อยู่ในสกุล Thalassoma มีลำตัวแบนเรียวยาว ครีบหลังทั้งสองตอนเชื่อมต่อกัน ครีบหูเป็นรูปใบพาย ครีบทวาร เป็นแผ่นหั้นเริ่มจากกลางท้อง ไปจรดโคนหางครีบหาง เป็นแฉกตรง กลางเว้าเป็นรูปโค้งวงพระจันทร์ มีความยาวสูงสุดถึง 30 เซนติเมตร
โดยบทความนี้ เราจะพาคนที่นิยมรับเลี้ยงปลาทะเลทั้งหลาย ไปทำความรู้จัก หรือข้อมูลขั้นต้นของพวกมันกันดีกว่า ว่าจะมีอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ที่มาหรือความเป็นมา รวมไปถึงลักษณะ ภาพรวม และราคาต่างๆ เพื่อให้คนที่อยากเลี้ยง หรือมีความสนใจได้อ่านกัน
ปลาเขียวพระอินทร์ และมีชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่า Thalassoma lunare (Linnaeus, 1758) และจัดอยู่ในวงศ์ Labridae หรือที่รู้จักกันในชื่อปลาหมอจันทร์เสี้ยว หรือปลาหมอลายหางยาว พวกมันเป็นปลาพื้นเมือง ของมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ชอบอาศัยอยู่ในแนวปะการัง ความลึกราวประมาณ 1 ถึง 20 เมตร (3.3 ถึง 65.6 ฟุต)
อีกทั้ง พวกมันเป็นสัตว์กินเนื้อ และมักจะล่าไข่ปลา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล สายพันธุ์นี้สามารถยาวได้ถึง 30 ซม. (11.8 นิ้ว) ไม่ค่อยมีความสำคัญต่อ อุตสาหกรรมการประมงเชิงพาณิชย์ในท้องถิ่น และยังพบได้ในธุรกิจตู้ปลา อีกด้วย [1]
สำหรับราคาปลาสายพันธุ์ดังกล่าว ในประเทศไทย หรือต่างประเทศนั้น ปกติแล้วราคาขายปลา จะตกอยู่ที่ราวประมาณ 2,245.02 ($ 69.25) บาทขึ้นไป [2] และหากใครอยากเลี้ยงปลาแล้ว คนรักปลาทั้งหลาย สามารถเข้าไปหาอ่าน ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Moon Wrasse
สำหรับนิสัยของปลาชนิดนี้ มีอุปนิสัยรักสงบ เป็นปลาที่มีความกระตือรือร้น เคลื่อนไหวตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ ปลาที่ชอบหวงอาณาเขต กัด ไล่ และรังควานปลาที่ขวางทาง เนื่องจากเป็นปลาหากินเวลากลางวัน จึงมีการมองเห็นที่ชัดเจน แม้ว่าจะมีประสาทรับกลิ่นดีก็ตาม ในเวลากลางคืน พวกมันจะพักผ่อน ในซอกหินหรือปะการัง หากจำเป็นปลาชนิดอาจขุดช่องว่างใต้หิน โดยว่ายผ่านหินซ้ำๆ จนกว่าจะพอตัว
นอกจากนี้ สามารถพบอยู่ตัวเดียว หรือบางครั้งอยู่เป็นฝูงเล็กๆ ที่เคลื่อนไหวในเวลากลางวัน โดยถอยหนีไปยังแนวปะการัง และปะการังที่แตกกิ่งก้าน ในเวลากลางคืน เช่นเดียวกับปลาหมอทะเลหลายชนิด ครีบอกใช้ช่วยขับเคลื่อนขณะว่ายน้ำ กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล และไข่ปลา พวกมันว่างไข่เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ
โดยทั่วไปแล้วของพวกมัน เป็นปลาที่มีรูปร่างยาวรี แบนข้าง พื้นลำตัวเป็นสีเขียว ตลอดทั้งตัว มีริ้วสีน้ำเงินพาดขวางตัว ส่วนหัวมีแถบลวดลาย มีสีม่วงปนแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบน และล่างเป็นสีแดง ปลาวัยอ่อนจะมีพื้นสีน้ำตาลอมแดง ที่บริเวณกลางครีบหลัง และโคนครีบหาง มีจุดกลมใหญ่สีดำ
ส่วนด้านหน้าของปลาชนิดนี้ มีลายเป็นสีชมพู ครีบมีสีชมพูขอบฟ้า หรือสีน้ำเงิน ตามขอบของครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีชมพูอมน้ำเงิน ปลายหางมีสีเหลืองรูป พระจันทร์เสี้ยว สายพันธุ์นี้สามารถยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร (11.8 นิ้ว) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 25 เซนติเมตร (9.8 นิ้ว) [3]
สรุป ปลาสายพันธุ์ เขียวพระอินทร์ ปลาที่มีสีสันสวยงาม ที่พบเห็นได้ทั่วไป ตามแนวปะการังเขตร้อนของ มหาสมุทรอินโด-แปซิฟิก ลำตัวมีสีเขียว พร้อมแถบสีน้ำเงินที่ด้านข้าง และเส้นสีแดงอมม่วง ที่หัวและแถบสีเดียวกัน ที่บริเวณตรงกลางครีบอก ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของปลาชนิดนี้ ชื่อของมันมาจาก แถบสีเหลืองสดใส ตรงกลางครีบหาง ซึ่งทำให้ดูเหมือนพระจันทร์เสี้ยว