รีวิว ปลาเบบี้แทงก์ นิสัยไม่ดุร้าย ปรับตัวได้ดี

ปลาเบบี้แทงก์

ปลาเบบี้แทงก์ (Sailfin Tang) หนึ่งในกลุ่มปลาสวยงามน้ำเค็ม ที่มีความน่ารับเลี้ยงไม่น้อย เหมือนกันกับ ปลาอคิลลิสแทงค์ เป็นปลาทะเลที่มีครีบเป็นก้านยาว ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกับ Zebrasoma ปลาชนิดนี้สามารถเลี้ยงได้ง่าย มีสีสันสวยงาม และไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเพื่อนร่วมตู้ตัวอื่น ยกเว้นแต่สายพันธุ์เดียวกัน

ซึ่งในวันนี้ เราจะพาคนชื่นชอบปลา ทั้งหลายมาทำความรู้จัก อย่างละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะของปลาพันธุ์ดังกล่าว รวมถึงความเป็นมาหรือที่มา ลักษณะทางกายภาพ ข้อมูล พร้อมราคาต่างๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้น

ประวัติ ปลาเบบี้แทงก์

ปลาอคิลลิสแทงค์ และมีชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่า Zebrasoma veliferum (Bloch 1795) สำหรับปลาชนิดนี้ เป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับ ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) และสามารถพบในน่านน้ำเขตร้อน และกึ่งเขตร้อนของ มหาสมุทรอินโด-แปซิฟิก โดยสามารถยาวได้สูงสุด 40 เซนติเมตร

อีกทั้ง ปลาสายพันธุ์ดังกล่าว ได้รับการระบุอย่างเป็นทางการครั้งแรก ที่มีชื่อว่า Acanthurus velifer ในปี 1795 โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน อย่าง Marcus Elieser Bloch และระบุตำแหน่งต้นกำเนิดเป็น Tranquebar และ Bloch and Schneider ในปี 1801 [1]

ราคา ปลาเบบี้แทงก์

สำหรับราคาปลาพันธุ์นี้ในไทย มีขายทั้งลักษณะทั่วไป ราคาตกอยู่ลาสายพันธุ์นี้ ขายเริ่มต้นที่ 4,807.26 บาทขึ้นไป [2] และหากใครที่สนใจจริงๆ แล้วละก็ ทุกคนสามารถเข้าไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ Tropics Sailfin Tang

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับปลา

  • วงจรชีวิต : โดยปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีพฤติกรรมชอบอยู่กันเป็นคู่ หรือเป็นฝูง สามารถอาศัยอยู่ในน้ำ ที่มีความลึกตั้งแต่ 3 ฟุต ถึง 200 ฟุตขึ้นไป โดยธรรมชาติแล้ว ลูกปลาจะอาศัยอยู่ตามลำพัง และมักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ ซ่อนตัวอยู่หลังก้อนหิน ปะการัง และแนวปะการังขุ่น พวกมันชอบบริเวณปะการัง ที่มีกระแสน้ำแรงไหลผ่าน
  • การขยายพันธุ์ : สำหรับปลาชนิดนี้ สามารถพบการขยายพันธุ์ค่อนข้างง่าย พบในมหาสมุทรแปซิฟิก พบได้ทางตะวันตกสุด ในบริเวณเกาะคริสต์มาส และมหาสมุทรอินเดียตะวันออก และชายฝั่งตะวันออกของอินโดจีน ทอดไปทางตะวันออก ในมหาสมุทรแปซิฟิก ไปจนถึงหมู่เกาะพิตแคร์น และฮาวาย ทางเหนือจนถึงญี่ปุ่น ทางใต้จนถึงออสเตรเลีย และราปาอิตี เป็นต้น

นิสัย ปลาเบบี้แทงก์

ปลาเบบี้แทงก์

สำหรับปลาสายพันธุ์นี้ ที่มีนิสัยรักสงบ ไม่เป็นอันตรายต่อเพื่อนร่วมตู้ และสามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ยกเว้นเป็นปลาประเภทปลาเดียวกัน หรือปลาสายพันธุ์แทงก์เหมือนกัน ในตู้ปลาเลี้ยงพวกมันได้เพียงหนึ่งตัวเท่านั้น

หากใครที่คิดจะเลี้ยงมากกว่า ควรที่จะเลี้ยงเอาไว้เป็นฝูง มากกว่า 10 ตัวขึ้นไป จึงสามารถเลี้ยงร่วมกันได้พวกมันยังเป็นปลายอดนิยม อีกชนิดหนึ่ง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อีกทั้ง ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็ว และต้องการพื้นที่กว้าง สำหรับการว่ายน้ำ ดังนั้นตู้ปลาจะต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ

ลักษณะ ปลาเบบี้แทงก์

โดยรูปร่างทั่วไป ปลาสายพันธุ์นี้ เป็นปลากลุ่มน้ำเค็ม และมีราคาสูงมาก ซึ่งปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีสีสันและลวดลายสวยงาม มีลำตัวจะมีสีน้ำตาลปานกลาง มีลายทางสีเหลืองสดใส โดยมีสีเหลืองสดใสกระจายอยู่ทั่วครีบ หาง และจมูก เมื่ออยู่ในระยะโตเต็มวัย ลำตัวจะมีสีน้ำตาลอมเขียว และลายทางสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดพร้อมหางสีเหลืองทอง 

มีลำตัวเป็นรูปจานประกอบ ด้วยครีบก้นขนาดใหญ่ ครีบหลังที่ยกขึ้น และปากที่ยื่นออกมา ฟันคอหอยมีจำนวนน้อยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่าปลาชนิดอื่นๆ ในสกุล Zebrasoma มีมีดผ่าตัดที่มีโครงสร้าง คล้ายกระดูกสันหลังแหลมคม อยู่ทั้งสองข้างของก้านหาง โครงสร้างเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นกลไกป้องกันตัว และช่วยให้ปลาครองอำนาจได้ มีดผ่าตัดจะพับไว้ในร่อง เมื่อไม่ได้ใช้งาน สายพันธุ์นี้มีความยาวสูงสุด 16 นิ้ว [3]

ภาพรวมสายพันธุ์ เบบี้แทงก์

  • อาณาจักร : Animalia
  • ต้นกำเนิด : สามารถพบในทวีปมหาสมุทรอินโด – แปซิฟิก
  • สัดส่วน : ความยาวได้สูงสุด 40 เซนติเมตร (15.74 นิ้ว) / อายุขัย 5 – 7 ปี
  • อาหาร : กินพืชเป็นอาหารหลัก หรือกินเนื้อได้บ้าง ได้แก่ สิ่งมีชีวิต, กุ้ง, ปลา, ปู และ สาหร่าย เป็นต้น
  • ระดับการดูแล : ปานกลาง
  • คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 8.1 – 8.4
  • อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 25 – 28 องศา
  • การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นไข่

สรุป ปลาเบบี้แทงก์ “Sailfin Tang”

ปลาสายพันธุ์ เบบี้แทงก์ จัดเป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม ในตระกูลปลาขี้ตังเบ็ด และเลี้ยงได้ค่อนข้างง่าย มีสีสันสะดุดตา นอกจากนี้ ปลาที่ต้องเลี้ยงเป็นฝูง และต้องเลือกปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกัน เนื่องจากในช่วงแรก จะมีการต่อสู้กันเป็นประจำ หากฝ่ายใดตัวเล็กจะเป็นอันตรายได้ อาหารหลักจะเป็นพวกพืช และสาหร่ายทะเล

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง