รีวิว ปลาเหยี่ยวหน้าจุด มีจุดกระจายเล็กทั่วหน้า

ปลาเหยี่ยวหน้าจุด

ปลาเหยี่ยวหน้าจุด (Freckled Hawkfish) หนึ่งในกลุ่มปลาสวยงามน้ำเค็ม ที่มีความน่ารับเลี้ยงไม่น้อย เหมือนกันกับ ปลาผีเสื้อพังตาโต้ ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกับ Paracirrhites เป็นปลาที่มีสีค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สีส้ม แดง และสีน้ำตาล รวมถึงใบหน้ามีจุดกระจายเล็กๆ

ซึ่งในวันนี้ เราจะพาคนชื่นชอบปลา ทั้งหลายมาทำความรู้จัก อย่างละเอียดเกี่ยวกับ ลักษณะของปลาพันธุ์ดังกล่าว รวมถึงความเป็นมาหรือที่มา ลักษณะทางกายภาพ ข้อมูล พร้อมราคาต่างๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจกันให้มากยิ่งขึ้น

ประวัติ ปลาเหยี่ยวหน้าจุด

ปลาเหยี่ยวหน้าจุด และมีชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่า Paracirrhites forsteri (Schneider, 1801) สำหรับปลาชนิดนี้ เป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับ ปลาเหยี่ยว (Cirrhitidae) และสามารถพบได้ในแนวปะการัง ทั้งในมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิก พบได้ในบางครั้งในธุรกิจตู้ปลา และมีความสำคัญเล็กน้อย ต่อการประมงเชิงพาณิชย์ในท้องถิ่น

อีกทั้ง ปลาสายพันธุ์ดังกล่าว สามารถได้รับการยอมรับ อย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อในปี 2344 โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อโยฮันน์ ก็อตต์ล็อบ ธีอานุส ชไนเดอร์ โดยระบุถิ่นกำเนิดไปในตาฮูซูเมอดัง บนเกาะตาฮัวตา และในหมู่เกาะมาร์เคซัส 

ชื่อสายพันธุ์นี้ถูกตั้งขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่ โยฮันน์ ไรน์โฮลด์ ฟอร์สเตอร์ นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน ที่เกิดในประเทศโปแลนด์ ซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยาบนเรือ HMS Resolution ลำที่สองของเจมส์ คุก และได้ระบุสายพันธุ์นี้ว่า “Perca taeniatus” ในต้นฉบับที่ไม่ได้เผยแพร่ออกไป [1]

ราคา ปลาเหยี่ยวหน้าจุด

สำหรับราคาปลาพันธุ์นี้ในไทย มีขายทั้งลักษณะทั่วไป ราคาตกอยู่ลาสายพันธุ์นี้ ขายเริ่มต้นที่ 2,740.66 บาทขึ้นไป [2] และหากใครที่สนใจจริงๆ แล้วละก็ ทุกคนสามารถเข้าไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ The Freckled Hawkfish

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับปลา

  • วงจรชีวิต : โดยปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีพฤติกรรมชอบอยู่ตามลำพัง หรือเป็นคู่ สามารถพบได้ในบริเวณแนวปะการัง และในทะเลสาบ ที่มีพื้นนิ่มที่ความลึก 30 เมตร (100 ฟุต) ขึ้นไปโดยพวกมันกินสาหร่ายที่อยู่ตามปะการัง เป็นอาหารหลัก และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด ที่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล
  • การขยายพันธุ์ : สำหรับปลาชนิดนี้ สามารถพบการขยายพันธุ์ค่อนข้างง่าย พบได้ทั่วไปในมหาสมุทรอินโด-แปซิฟิก ของทะเลเขตร้อน และกึ่งเขตร้อน มีอาณาเขตตั้งแต่ แอฟริกาตะวันออก และทะเลแดง ไปจนถึง ประเทศญี่ปุ่น นิวแคลิโดเนีย และออสตราเลเซีย เป็นต้น

นิสัย ปลาเหยี่ยวหน้าจุด

ปลาเหยี่ยวหน้าจุด

สำหรับปลาสายพันธุ์นี้ ที่มีนิสัยรักสงบ และพวกมันมีขนาดใหญ่ ต้องเลือกสถานที่เลี้ยง และสิ่งที่ปลอดภัยสำหรับพวกมัน พวกมันไม่เพียงแต่ จะกินปลาตัวเล็กเท่านั้น แต่ยังกินปลาขนาดกลางได้เช่นเดียวกัน ซึ่งได้แก่ ปลาสลิดหิน ปลากะพงขาว ปลาโกบี้  ปู กุ้ง และปลาชนิดอื่น เป็นต้น

ปลาสายพันธุ์นี้ มักจะหายไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน และยังก้าวร้าว ดังนั้น การเลี้ยงพวกมันในตู้ปลา จึงไม่ใช่ความคิดที่ดีเลย ควรเลี้ยงปลาเหล่านี้ ในตู้ปลาขนาดใหญ่ หรือร่วมกับปลาขนาดใหญ่ชนิดอื่น ที่สามารถดูแลตัวเองได้ดี อีกด้วย

ลักษณะ ปลาเหยี่ยวหน้าจุด

โดยรูปร่างทั่วไป ปลาสายพันธุ์นี้ เป็นปลากลุ่มน้ำเค็ม และมีราคาค่อนข้างแพง ซึ่งปลาสายพันธุ์ดังกล่าว มีครีบหลังมีหนาม 10 อัน และก้านอ่อน 11 อัน ในขณะที่ครีบก้นมีหนาม 3 อัน และก้านอ่อน 6 อัน สีสันของปลาจะแตกต่างกันมาก ทั้งในตัวเต็มวัย จากการเปลี่ยนแปลง ในระหว่างการเจริญเติบโต สีหลักมักจะเป็นสีเหลือง แต่มีแถบด้านข้างสีดำ หรือน้ำตาลเข้มกว้างๆ 

โดยส่วนใหญ่อยู่ครึ่งหลังของลำตัว ด้านข้างของหัว และด้านหน้าของลำตัว เป็นสีขาวหรือสีเทา มีจุดสีแดง ในทวีปเอเชีย ปลาที่ยังไม่โตอาจมีสีแดงที่หลัง ปลาจะมีส่วนบนเป็นสีเขียวทอง และส่วนล่างเป็นสีขาว และพวกมันชอบอาศัยตามแนวปะการัง ที่หลบตามซอกหินได้ดี สายพันธุ์นี้มีความยาวสูงสุด 9 นิ้ว [3]

ภาพรวมสายพันธุ์ เหยี่ยวหน้าจุด

  • อาณาจักร : Animalia
  • ต้นกำเนิด : สามารถพบในทวีปมหาสมุทรอินโด – แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้ ตามทะเลอันดามัน
  • สัดส่วน : ความยาวได้สูงสุด 23 เซนติเมตร (9.05 นิ้ว) / อายุขัย 7 ปี
  • อาหาร : กินพืชเป็นอาหารหลัก หรือกินเนื้อได้บ้าง ได้แก่ สิ่งมีชีวิต, กุ้ง, ปลา, ปู, ไร่ทะเล และ สาหร่าย เป็นต้น
  • ระดับการดูแล : ง่าย
  • คุณภาพน้ำ : ค่า pH ควรอยู่ที่ 8.1 – 8.4
  • อุณหภูมิ : อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 24 – 28 องศา
  • การผสมพันธุ์ : ออกลูกเป็นไข่

สรุป ปลาเหยี่ยวหน้าจุด “Freckled Hawkfish”

สรุป ปลาสายพันธุ์ เหยี่ยวหน้าจุด จัดเป็นปลาสายพันธุ์น้ำเค็ม ในตระกูลปลาเหยี่ยว และปลาชนิดนี้จะเติบโตเต็มที่ประมาณ 23 ซม. สีสันสวยงามที่ดูแปลกตา ชอบกินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า มักนอนอยู่เฉยๆ ในแนวปะการัง เลี้ยงได้ง่าย แนะนำคนที่คิดจะเลี้ยง ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลา ที่มีขนาดเล็กกว่า นั่นเอง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง