พะยูน หมูน้ำน่ารักแห่งท้องทะเล เราเรียกกันว่าพะยูน “ไม่ใช่ปลาพะยูน” เหมือนที่หลายคนเข้าใจ เพราะพวกมันเป็นสัตว์เลือดอุ่น หายใจทางปอด โดยตามความเชื่อตั้งแต่ 55 ล้านปีก่อน เชื่อกันว่าพะยูน เคยเป็นสัตว์บก และมีวิวัฒนาการ ปรับตัวลงไปอยู่ในน้ำ มาจนถึงทุกวันนี้
พะยูน (Dugong) สัตว์ทะเลน้ำจืดขนาดใหญ่ จัดอยู่ในอันดับ Sirenia มักถูกเรียกกันว่า หมูน้ำ หรือวัวทะเล โดยเป็นญาติใกล้ชิดที่สุดกับ วัวทะเลสเตลเลอร์ (ถูกล่าจนสูญพันธุ์ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18) แหล่งอาศัยในน่านน้ำ เขตอบอุ่น และเขตหญ้าทะเล มากกว่า 40 แห่ง ทั่วภูมิภาคอินโดนีเซีย และ แปซิฟิกตะวันตก [1]
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดใหญ่ รูปร่างทรงกระสวยคล้ายกับ โลมา มีครีบเหมือนใบพายด้านหน้า หางแฉก ริมฝีปากมีเส้นขนโดยรอบ มีสีของลำตัวเป็นสีเทา หรือสีน้ำตาล เพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้
โดยมีขนาดความยาว ประมาณ 2 – 3 เมตร และน้ำหนัก 200 – 300 กิโลกรัม เคยพบพะยูนขนาดใหญ่มากที่สุด ในประเทศอินเดีย ที่มีน้ำหนักมากถึง 1,016 กิโลกรัม และ อายุขัยเฉลี่ยอยู่ในช่วง 45 – 70 ปี
พะยูนเป็นสัตว์สังคม แต่ตามปกติแล้ว พวกมันเลือกที่จะอยู่ตัวเดียว หรือเป็นคู่ นิสัยค่อนข้างขี้อาย ไม่กล้าเผชิญหน้า พฤติกรรมหายใจทุก ๆ 1 – 2 นาที โดยหัวต้องอยู่เหนือน้ำ ทั้งยังสามารถดำน้ำลึกได้สูงสุด 39 เมตร และใช้ชีวิตอยู่ในน้ำ ความลึกไม่เกิน 10 เมตร
อาหารของพะยูน เป็นสัตว์กินพืช โดยกินหญ้าทะเลเป็นหลัก และสาหร่ายในบางครั้ง ซึ่งมีส่วนประกอบของ ไฟเบอร์ต่ำ ไนโตรเจนสูง และค่อนข้างย่อยง่าย พวกมันต้องอาศัยการ เคลื่อนตัวไปตามพื้นทะเล และเดินด้วยครีบอก เป็นการว่ายน้ำอย่างช้า ๆ ประมาณ 10 กิโลเมตร / ชั่วโมง เพื่อหาอาหารที่ต้องการ
การกระจายสายพันธุ์ พบมากตามแนวชายฝั่งยาว 140,000 กิโลเมตร ของเส้นศูนย์สูตร โดยมีแนวโน้มประชากรลดลงทั่วโลก ร้อยละ 20% ตลอดในช่วง 90 ปีผ่านมา แหล่งอาศัยในแต่ละภูมิภาค ดังนี้
น้องหมูน้ำที่หลายคนเรียกกัน นับว่าเป็นสัตว์ที่สามารถชี้วัด ความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศทางทะเล และทางชายฝั่งไทยได้เป็นอย่างดี ซึ่งช่วยหมุนเวียนแร่ธาตุ สารอาหารตามแนวหญ้าทะเล ทั้งยังมีบทบาทสำคัญ ในการรักษาสมดุล และความหลากหลาย ของแนวหญ้าทะเลอีกด้วย
ปัจจุบันจำนวนประชากร พะยูนในไทย จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2565 พบจำนวนประมาณ 273 ตัว โดยกระจายอยู่ในพื้นที่อ่าวไทย ประมาณ 31 ตัว และ พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ประมาณ 242 ตัว ซึ่งพบการเสียชีวิต ของพะยูนเกยตื้น มากถึง 18 ตัว / ปี [2]
สถานภาพของพะยูน จัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์ป่าสงวนและสัตว์คุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2535 ของประเทศไทย และอยู่ในบัญชี CITES 1 โดยพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก ทั้งบริเวณอ่าวไทย ของจังหวัดระยอง และชายฝั่งทะเลอันดามัน ของจังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล [3]
สาเหตุของพะยูน ที่มีจำนวนลดลงทั่วโลก เป็นเพราะถูกล่าเป็นอาหาร ติดกับเครื่องมือประมง และน้ำมันเชื้อเพลิงรั่วไหล ประกอบกับเป็นประเภท สัตว์น้ำ ที่มีการแพร่พันธุ์ช้ามาก ทั้งนี้มลพิษมากมาย ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ทำลายแหล่งอาหารหญ้าทะเล จึงน่าเป็นกังวลเกี่ยวกับ การสูญพันธุ์ในอนาคต
พะยูน สัตว์ทะเลหน้าตาน่ารัก ที่เรียกกันว่าเจ้าหมูน้ำ หรือวัวทะเล สัตว์ขนาดใหญ่ สีเทาหรือสีน้ำตาล อาศัยและหากินในน่านน้ำเขตอบอุ่น ตามแหล่งหญ้าทะเลเป็นหลัก พบได้ทั้งในทะเลอ่าวไทย ทะเลอันดามัน รวมถึงทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และแอฟริกาตะวันออก