พังพอน สัตว์ป่ากินเนื้อตัวเล็ก ผู้กล้าหาญและชำนาญ ในการล่างูพิษ เรียกว่าเป็น คู่ปรับกันมายาวนาน หลายคนน่าจะเคยเห็นกันบ้าง ในสารคดีสัตว์โลก ถึงแม้ว่าจะตัวเล็ก แต่ใจสู้ไม่เล็กเหมือนตัวแน่นอน โดยเฉพาะเวลาสู้กับงูเห่า ซึ่งเป็นอาหารอันแสนอร่อย ของเจ้าพังพอนเลยก็ว่าได้
พังพอน (Mongoose) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก จัดอยู่ในวงศ์ Herpestidae อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ถิ่นกำเนิดจากทวีปยุโรปตอนใต้ ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย ประกอบด้วย 23 สายพันธุ์ โดยมีชีวิตถือกำเนิดมาตั้งแต่ ประมาณ 3.6 ล้านปีก่อน ซึ่งได้รับการเสนอสายพันธุ์ ในปี ค.ศ. 1845 จากนักธรรมชาติวิทยา ชาวฝรั่งเศส [1]
พังพอนขนาดเล็ก ที่มีใบหน้าและลำตัวเรียวยาว หูกลมเล็ก ขาสั้นแข็งแรง กรงเล็บแหลม และหางยาว โดยขนส่วนมาก เป็นลายเสือสีเทา หรือสีน้ำตาล มีความยาวของลำตัว ประมาณ 24 – 58 เซนติเมตร และน้ำหนัก 320 กรัม – 5 กิโลกรัม โดยมีความใกล้ชิด กับสัตว์กินเนื้อมาดากัสการ์ ชะมด และ อีเห็นอีกด้วย
พฤติกรรมพังพอน จะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง เป็นครอบครัว หรืออาจอยู่เพียงลำพัง แหล่งอาศัยกระจายหลากหลายภูมิประเทศ ตามป่าดิบทึบ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย และ พื้นที่เกษตรกรรม มักออกหากินเวลากลางคืน กินทั้งสัตว์ขนาดเล็กและพืช อย่างเช่น งูพิษ แมงมุม แมงป่อง กิ้งก่า แมลง ลูกไม้ และผลไม้
โดยเป็น สัตว์บก ที่มีความว่องไว ปราดเปรียว หลอกล่อเหยื่อเก่ง สามารถพองขน ขู่ศัตรูที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งจะเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ เมื่ออายุครบ 2 ปี ซึ่งเพศเมียตั้งท้องนาน 9 เดือน ออกลูก 10 – 24 ตัว / ครั้ง และมีอายุขัยตามธรรมชาติ ประมาณ 10 ปี แต่หากถูกเลี้ยง อยู่ในสถานที่ดูแล อาจมีอายุมากถึง 17 ปี
ตามการศึกษาอนุกรมวิธาน ในปัจจุบันพังพอน พบในประเทศไทย เพียง 2 ชนิด คือ พังพอนเล็ก (Small Asian Mongoose) หรือเรียกว่า พังพอนธรรมดา และ พังพอนกินปู (Crab-Eating Mongoose) หรือเรียกว่า พังพอนยักษ์ ซึ่งช่วยในการกำจัดสัตว์มีพิษ หรือสัตว์อันตรายให้กับมนุษย์ อยู่ทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้
แน่นอนอย่างที่เราทราบกันว่า พังพอนกินงูมีพิษได้ ซึ่งเป็นอาหาร ที่ชอบมากที่สุดอีกด้วย หากหลายคนกำลังสงสัย แล้วพิษจากงู ทำไมไม่ส่งผลอันตราย แล้วต่อสู้กันใครจะเป็นฝ่ายชนะ รวมคำตอบทั้งหมดไว้ ดังนี้
ที่มา: Mongoose Vs Cobra: Who Would Win? [2]
พังพอนนับว่าเป็นสัตว์ป่า ที่มีการถูกล่าเยอะ ซึ่งพวกมันชอบอยู่ ในป่าใกล้หมู่บ้าน บริเวณตามพุ่มไม้ของทุ่งนา พบเห็นได้ง่ายกว่าสัตว์ชนิดอื่น บางครั้งอาจสร้างความเสียหาย ต่อพื้นที่การเกษตร โดยมีการค้าขายผิดกฎหมายในไทย เปิดเผยราคารับซื้อ ประมาณ 200 บาท / กิโลกรัม หรือมีราคาสูงถึง 7,500 บาท / คู่ [3]
สถานภาพการอนุรักษ์ จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2535 และอยู่ในสถานะ สัตว์เป็นที่น่ากังวลน้อยที่สุด (Least Concern) โดยประชากรทั่วโลก ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แต่คาดว่ามีอัตราส่วน ประมาณ 36 – 50% และ ควบคุมประชากรงูเห่าได้เป็นอย่างดี
พังพอน สัตว์นักสู้ขนาดเล็ก ประจำผืนป่าทวีปยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ประกอบด้วยหลากหลายสายพันธุ์ ทักษะคล่องตัว ว่องไว คู่ปรับตลอดกาลกับงูพิษ สามารถต้านทานพิษได้ดี และอัตราการต่อสู้ชนะค่อนข้างสูง หนึ่งในสัตว์ป่าคุ้มครอง มักถูกล่านำไปค้าขาย แบบกฎหมายในไทย