มดบลูด็อก เป็นเรื่องธรรมดามาก ที่มดเหล่านี้จะดูน่ากลัว และ ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ เพราะแหล่งอาศัย อยู่ในออสเตรเลีย มดสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ สีสันแดงอมส้มผสมดำ ทั้งยังมีเขี้ยวแหลมคม แต่ทว่าฟังดูแล้ว น่ากลัวไม่น้อย พวกมันไม่ได้กินเนื้อ เป็นอาหารหลัก แต่ทำไมถึงเป็นมดอันตราย พามาหาคำตอบกัน
มดบลูด็อก (Australian Bulldog Ants) มดขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์ย่อย Myrmeciinae ประกอบด้วยสายพันธุ์ มากกว่า 93 สายพันธุ์ ถิ่นอาศัยในออสเตรเลีย และ ตามเกาะชายฝั่ง โดยพบเป็นจำนวนมาก ทางตะวันออกของออสเตรเลีย และ แทสเมเนีย มักถูกเรียกว่า มดกระทิง หรือมดกระโดด [1]
การค้นพบซากฟอสซิล มาตั้งแต่ 100 – 110 ล้านปีก่อน พวกมันอาศัยรวมกัน เป็นอาณาจักรใต้ดิน สามารถขยายอาณาเขตได้ไกลหลายเมตร โดยรองรับการอยู่อาศัย มากกว่า 3,000 ตัว ตามโครงสร้างทางสังคม ซึ่งมดงานทั่วไปจะมีอายุค่อนข้างสั้น ส่วนมดราชินี สามารถมีอายุขัยได้นาน 15 ปี
รูปร่างเด่นชัด เป็นมดขนาดใหญ่ ขนาดลำตัว 14 – 23 มิลลิเมตร และสามารถยาวได้มากถึง 40 มิลลิเมตร ลำตัวสีแดงผสมดำ หรือสีเหลืองผสมดำ มีไรขนสีทอง สังเกตง่ายจากขากรรไกร ยาวและแหลม ประกอบกับดวงตาใหญ่ มองเห็นอย่างยอดเยี่ยม และเหล็กในทรงพลัง เหมาะสำหรับการฆ่าเหยื่อ
จัดว่าเป็นมดขนาดใหญ่ อันดับ 2 ของโลก รองจาก มดอเมริกาใต้ หรือเรียกว่า มดยักษ์แอมะซอน โดยในปัจจุบัน มีวิวัฒนาการ เป็นมดเข้าดักแด้ ที่มีกระบวนเดียวกับหนอนผีเสื้อ ต้องผ่านการเปลี่ยนรูปร่าง เพื่อเติบโตเป็นผีเสื้อสวยงาม โดยจะมีสีอ่อนกว่า มดตัวโตเต็มวัยเล็กน้อย
พฤติกรรมเป็นนักล่าผู้โดดเดี่ยว ไม่มีเส้นทางฟีโรโมน แบบมดทั่วไป และไม่ชักจูงมดตัวอื่น ให้มาหาอาหารด้วย ซึ่งออกหากินเวลากลางวัน ตามพื้นดิน หรือตามพืชเตี้ย โดยการหาอาหาร อัตรามด 65% ใช้เวลาออกจากรังเพียง 40 – 60 นาที ในขณะที่มดงาน 60% จะกลับรังในช่วงพลบค่ำ อาศัยจุดสังเกตรอบตัว ในการนำทิศทาง
อาหารมดบลูด็อกตัวโตเต็มวัย จะกินน้ำหวาน และ สารหวานต่าง ๆ พบมากในใบไม้ หรือสารตกค้าง มาจากแมลงชนิดอื่น แต่มดตัวอ่อน เลือกกินเนื้อเป็นหลัก ทั้งแมลง และ สัตว์ขาปล้องหลายชนิด อย่างเช่น หนอนผีเสื้อ ด้วง ผึ้ง แมลงสาบ ไส้เดือน กบ จิ้งจก เป็นต้น
โดยมดงานและมดราชินี มีศักยภาพในการใช้เหล็กใน สามารถต่อยซ้ำได้หลายครั้ง แบบไม่เป็นอันตรายกับตัวเอง ทั้งยังมีต่อมพิษ เชื่อมกับถุงพิษ เพื่อฉีดเข้าไปในร่างกายเหยื่อ ซึ่งมีลักษณะยาว ประมาณ 6 มิลลิเมตร และวัดอัตราการเจ็บปวดอย่างรุนแรง อยู่ในระดับ 2 – 3 จากมาตราทั้งหมด 4 ระดับ
หนึ่งในมดอันตราย มากที่สุดในโลก พอกับมดทหาร มดวัว มดคันไฟอินวิคต้า และ มดกระสุน โดยบันทึกจาก Guinness World Record ตัวใหญ่จัมโบ้ และค่อนข้างน่ากลัว ด้วยขนาดฟัน และกรามใหญ่เป็นพิเศษ บวกกับนิสัยก้าวร้าว ดุร้าย หากพบเห็นในออสเตรเลีย แนะนำว่าห้ามเข้าใกล้ อย่างเด็ดขาด
จากคุณสมบัติ และทักษะของมดบลูด็อก เป็นมดเพชฌฆาตเงียบ ที่สามารถสังหาร สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ให้บาดเจ็บและเสียชีวิตได้ ภายในเวลาไม่นาน โดยความอันตราย คือ ขากรรไกรที่แข็งแรงมาก จัดอยู่ในประเภท สัตว์ฟันแข็งแรง และใช้เหล็กใน จู่โจมเนื้อของสิ่งมีชีวิต อย่างรวดเร็วหลายครั้ง
สำหรับพิษของเหล็กใน เป็นกรดฟอร์มิก ฉีดตรงเข้าสู่รอยแผล โดยฉีดออกมาจากส่วนท้อง และอวัยวะใช้ในการวางไข่ ซึ่งพิษมีความร้ายแรงมาก เทียบเท่ากับพิษของตัวต่อ และหากคนโดนกัดเพียง 30 รอย ก็สามารถเสียชีวิตได้ภายใน 15 นาที เพราะพิษจะซึมเข้าสู่กระแสเลือด จนเกิดอาการแพ้รุนแรง เสียชีวิตในที่สุด [2]
แน่นอนว่ามดบลูด็อก เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ของเหล่านักท่องเที่ยวตั้งแคมป์ และนักเดินป่า แถบออสเตรเลีย ซึ่งพวกมันทำร้ายคน ก็ต่อเมื่อคนบุกรุกพื้นที่ หรือเข้าใกล้รังของมัน จากสายตาอันยอดเยี่ยม พวกมันสามารถ ระบุตำแหน่งของศัตรู หรือผู้บุกรุกได้อย่างแม่นยำ ต่างจากมดทั่วไป ที่การมองเห็นค่อนข้างแย่ [3]
มดบลูด็อก มดกระทิง แห่งป่าออสเตรเลีย อาศัยอยู่ในอาณาจักรใต้ดิน เป็นอาณานิคม ลักษณะเด่นเป็นเอกลักษณ์ ด้วยลำตัวขนาดใหญ่กว่ามดทั่วไป และมีขากรรไกรยาว เขี้ยวแหลมคม หนึ่งในสัตว์อันตรายที่สุดในโลก แม้ตัวจะเล็กเดินอยู่ตามพื้นดิน แต่พิษช่างรุนแรง และเจ็บปวด จนสามารถเสียชีวิตได้ง่าย ๆ