ยีราฟ มหัศจรรย์สัตว์ป่าตัวสูงคอยาว สัตว์ในดวงใจของใครหลายคน ด้วยความน่ารัก ความใจดี ดูไม่มีพิษภัยกับใครในป่าธรรมชาติ เพราะเป็นสัตว์กินพืช ร่างกายสูงใหญ่ พบมากในทุ่งหญ้าสะวันนา ประจำทวีปแอฟริกา และที่เราเห็นกันในสวนสัตว์ พามาเรียนรู้ชีวิต พฤติกรรม วิวัฒนาการ และข้อเท็จจริงอีกมากมาย
ยีราฟตัวโตเต็มวัย สามารถมีความสูงได้ถึง 4.3 – 5.7 เมตร โดยเพศผู้จะสูงกว่าเพศเมีย และมีน้ำหนักเฉลี่ย 1,192 กิโลกรัม ซึ่งมีคอยาวมาก 2.4 เมตร เอียงคอได้ 50 – 60 องศา แต่ลำตัวสั้น มีเขา ผิวหนังเป็นสีเทา หรือสีแทน มีความหนาของผิวหนัง 20 มิลลิเมตร ปลายหางสีเข้มยาว 80 – 100 เซนติเมตร สำหรับป้องกันแมลง
ขนของยีราฟ เป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว มีจุดเข้มอาจเป็นสีส้ม หรือสีน้ำตาล ล้อมรอบด้วยขนอ่อนสีขาวครีม โดยลวดลายของยีราฟ เหมือนกับลายนิ้วมือ มีไว้สำหรับพรางตัว ตามแสงและเงาของป่าไม้สะวันนา และสามารถใช้ป้องกันปรสิต ที่อาจก่อให้เกิดกลิ่นตัวได้ด้วย ซึ่งยีราฟเพศผู้ จะมีกลิ่นตัวแรงกว่าเพศเมีย
การดำรงชีวิตอยู่รวมกันเป็นฝูง 15 – 20 ตัว เป็นสัตว์กินพืช ทั้งหญ้าตามพื้น และผลไม้ รวมถึงพุ่มไม้ประเภท มีหนามแหลม รสชาติฝาด และมีพิษ เพราะมีลิ้นที่หนาและสาก ทนทานต่อสารพิษได้ดี โดยจะกินอาหารเฉลี่ย 20 – 30 กิโลกรัม / วัน และกินอาหารร่วมกับสัตว์กินพืชอื่น อย่างเช่น ม้าลาย หรือ นกกระจอกเทศ
การนอนหลับ ยีราฟจะหลับในท่ายืน เพียงแค่ 2 นาที – 2 ชั่วโมง / วัน และหลับในท่านอนราบ เฉพาะเวลากลางคืน ประมาณ 4.6 ชั่วโมง หากต้องการดื่มน้ำ จะกางขาสองข้างออก พร้อมก้มตัวลง เป็นช่วงที่ยีราฟไม่คล่องตัวมากที่สุด จึงมักถูกโจมตีได้ง่าย ทั้งนี้ยังสามารถวิ่งได้เร็วถึง 60 กิโลเมตร / ชั่วโมง อีกด้วย
สัตว์ป่าสูงใหญ่แห่งสะวันนา รู้หรือไม่ว่ามี “วันยีราฟโลก” ในวันที่ 21 มิถุนายน ของทุกปี ก่อตั้งโดยองค์กร Giraffe Conservation Foundation เพื่อฉลองให้แก่สัตว์บกตัวสูงที่สุด ซึ่งในป่าทางแอฟริกาตะวันตก เหลือประชากรเพียง 600 ตัว และสายพันธุ์อื่นทั่วโลก ในป่าธรรมชาติ ประมาณ 117,000 ตัว เท่านั้น
การศึกษาวิจัยของนักบรรพชีวินวิทยา จากสถาบัน CAS เปิดเผยผลการวิเคราะห์ว่า ซากฟอสซิลกระดูกสัตว์ ที่มีอายุเก่าแก่มานานกว่า 17 ล้านปี คือ สัตว์ในตระกูลยีราฟ ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยมีขนาดตัวเล็ก เทียบเท่ากับขนาดของแกะ ลำคอสั้น และมีกะโหลกหนา เหมือนกับหมวกนิรภัย สำหรับใช้ชนต่อสู้กัน
นับว่าเป็นญาติในยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งในปัจจุบัน สัตว์ตระกูลยีราฟ มีวิวัฒนาการให้มีกะโหลกแข็ง และหนาเป็นพิเศษ มีลำคอยาวมากขึ้น ถูกใช้เป็นอาวุธสำหรับต่อสู้ แย่งชิงอาณาเขต และคู่ผสมพันธุ์ โดยใช้คอเหวี่ยงฟาด จุดอ่อนตรงลำคอของคู่ต่อสู้ หากมีคอยาวมากเท่าไหร่ จะทำให้ได้เปรียบมากขึ้นด้วย [2]
รวมข้อเท็จจริงน่ารู้ เกี่ยวกับชีวิตของยีราฟ บางเรื่องที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ดังต่อไปนี้
ที่มา: 21 มิถุนายน ‘วันยีราฟโลก’ [3]
ยีราฟ สัตว์ป่าผู้แสนดีและเงียบขรึม แห่งทุ่งสะวันนาแอฟริกา สัตว์กินพืชชนิดเดียว ที่มีความสูงและขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พฤติกรรมพักผ่อนน้อย และดื่มน้ำน้อยมาก มักถูกโจมตีจากสัตว์นักล่า โดยมีสถานะการอนุรักษ์ เป็นสัตว์ป่าเข้าข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย