ข้อมูลน่ารู้ ลิงมาโมเสท สัตว์เลี้ยงขนาดจิ๋วที่สุดในโลก

ลิงมาโมเสท

ลิงมาโมเสท ตัวเล็กน่ารักสเปกใคร? หลายคนน่าจะเคยเห็นกันมาบ้าง กับเจ้าลิงแคระ ขนาดจิ๋วเท่านิ้วมือ น้ำหนักเบายิ่งกว่า ลูกแอปเปิลเสียอีก พามารู้จักกับสายพันธุ์ลิง ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก สามารถพบได้ทั่วไปตามลุ่มน้ำแอมะซอน และประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ จะน่ารักโดนใจขนาดไหนมาดูกัน

ลิงมาโมเสท สำรวจโลกเจ้าลิงแคระแห่งอเมริกาใต้

ลิงมาโมเสท (Marmoset) หรือที่เรียกกันว่า “ลิงแคระ หรือ ลิงจิ๋ว” กลุ่มลิงโลกใหม่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็กที่สุดในโลก อยู่ในวงศ์ Callitrichidae แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตร้อน ของประเทศอเมริกาใต้ โดยเป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ

มีความยาวของลำตัว เฉลี่ยเพียง 20 เซนติเมตร และน้ำหนักตัว ประมาณ 500 – 700 กรัม [1] มีอายุที่ค่อนข้างสั้นกว่าลิงทั่วไป ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ จะมีอายุประมาณ 12 ปี และหากเป็นสัตว์เลี้ยงในกรง สามารถมีอายุได้นานถึง 15 ปี

ลักษณะพฤติกรรมโดยทั่วไป

พฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยทั่วไปแล้ว จะชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีความอยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา โดยจะออกหากิน ในเวลากลางวัน และนอนพักผ่อน ในเวลากลางคืน มักใช้เวลาส่วนมากอยู่บนต้นไม้ เลือกใช้การสื่อสารระหว่างกัน ด้วยการเปล่งเสียงร้องออกมา ทั้งยังมีกลิ่นเฉพาะตัวอีกด้วย

ซึ่งถ้าหากรู้สึกว่าถูกคุกคาม หรือมีอันตรายเข้ามาใกล้ พวกมันจะพยายามปกป้องตัวเอง ด้วยการกัดศัตรู จนถึงขั้นติดเชื้อได้ เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ ที่ไม่มีทางเลือกเท่านั้น เพราะตามธรรมชาติแล้ว มาโมเสทไม่ใช่ลิงก้าวร้าว หรือดุร้ายเลย แต่จะค่อนข้างตกใจ เครียด หรือวิตกกังวลง่าย

รวมสายพันธุ์ ลิงมาโมเสท

Marmoset มีอยู่ด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ สามารถแบ่งออกเป็น 4 สกุล ดังต่อไปนี้

  • Callithrix : กลุ่มมาโมเสทจากป่าแอตแลนติก ไม่ว่าจะเป็น มาโมเสทธรรมดา มาโมเสทกระจุกดำ มาโมเสทหูดำ มาโมเสทหัวขาว มาโมเสทหัวควาย และ มาโมเสทหูขาว
  • Mico : กลุ่มมาโมเสทจากป่าแอมะซอน อย่างเช่น มาโมเสทสีเงิน มาโมเสทสีขาว มาโมเสทหัวดำ มาโมเสทหางดำ และ มาโมเสทสีขาวทอง เป็นต้น
  • Callibella : กลุ่มมาโมเสทรูสมาเลนส์ ถิ่นกำเนิดในป่าแอมะซอน จากทางตะวันออก ของแม่น้ำมาเดราตอนล่าง และทางตะวันตก ของแม่น้ำอาริปัวนา คือ มาโมเสทแคระมงกุฎดำ
  • Cebuella : กลุ่มมาโมเสทแคระ ขนาดเล็กที่สุดในโลก แหล่งกำเนิดในป่าแอมะซอน และทางตะวันตกของอเมริกาใต้ คือ ปิกมีมาโมเสท

ลิงมาโมเสท สัตว์เลี้ยงแสนรักของคนรวย

ลิงมาโมเสท

ทำไมลิงน้อยมาโมเสท ถึงกลายเป็นสัตว์เลี้ยง สำหรับคนมีเงิน แน่นอนว่าสัตว์ขนาดเล็กที่สุด จากเขตป่าลุ่มน้ำแอมะซอน ย่อมต้องการความเอาใจใส่ และการดูแลเป็นพิเศษ ต่างจากลิงชนิดอื่น ๆ ทั้งยังเป็นสัตว์คุ้มครอง ต้องได้รับการอนุญาตส่งออก หรือนำเข้าเท่านั้น พามาดูวิธีการเลี้ยง และราคาซื้อขายกันต่อเลย

วิธีการเลี้ยงลิงสำหรับมือใหม่

การเลี้ยงมาโมเสทเบื้องต้น ควรเลือกกรงขนาดกว้าง และมีพื้นที่สูง สำหรับใช้ปีนป่าย หรือกระโดดเคลื่อนไหวอย่างอิสระ โดยต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น เหมือนในป่าดิบชื้นเขตร้อน เพราะลิงมีความไว ต่อการเปลี่ยนของอุณหภูมิ และควรมีกิ่งไม้ หรือวัตถุ ไว้สำหรับการปีน จับ และทรงตัวด้วย

อาหารมาโมเสท เป็นสัตว์กินพืชและสัตว์เล็ก จำพวกผัก (ผักกาดหอม ผักโขม พริกหยวก แครอท) ผลไม้ (แอปเปิล กล้วย มะม่วง มะละกอ) แมลง (จิ้งหรีด หนอนใยอาหาร ไก่สุก) และน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ โดยต้องให้อาหารที่หลากหลาย ควรได้รับสารอาหารเท่าที่จำเป็น รวมถึงมีน้ำจืด ใกล้กับที่พักอาศัยตลอดเวลา

ด้านสุขภาพและการดูแล ต้องการให้เลี้ยงดูเป็นอย่างดี ตั้งแต่สภาพแวดล้อม ความสะอาด ความสบาย อาหารหลากหลายครบถ้วน รวมถึงโอกาสในการเล่น และสำรวจพื้นที่ หากมีความใส่ใจ ให้เวลากับเจ้าลิงตัวน้อยเป็นอย่างมาก จะทำให้มีสุขภาพดี และอายุยืนยาวมากขึ้น [2]

ตลาดราคาซื้อขายลิง มาโมเสท

ลิงตัวเล็กจิ๋ว หนึ่งในสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย โดยหากทำการซื้อขาย หรือการนำเข้าประเทศ จะต้องมีใบรับรอง การส่งออกและนำเข้า จากประเทศถิ่นกำเนิดเท่านั้น ซึ่งในประเทศญี่ปุ่น ราคาขายประมาณ 400,000 – 700,000 เยน / ตัว โดยตัวลูกลิง จะมีราคาแพงกว่าลิงโต

และเพศเมีย จะมีราคาค่อนข้างแพงกว่าเพศผู้ ซึ่งถ้าหากเป็นราคาขายในประเทศไทย จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 90,000 – 120,000 บาท / ตัว ส่วนถ้าเป็นลิง มาโมเสทหูขาว จะมีราคาถูกกว่า ตั้งแต่ราคา 30,000 บาท เป็นต้นไป ขึ้นอยู่กับความสวยงาม และสุขภาพความแข็งแรง ด้วยเช่นกัน [3]

สรุป ลิงมาโมเสท “Marmoset”

ลิงมาโมเสท สัตว์เลี้ยงน่ารักขี้เล่น เหมาะสำหรับคนที่ต้องการ เลี้ยงลิงขนาดเล็ก พร้อมด้านการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะส่งตรงมาจากแถบอเมริกาใต้ มีด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ ส่วนราคานั้นมีตั้งแต่หลักหมื่น ไปจนถึงหลักแสน ค่าตัวแพงพอ ๆ กับเจ้า เม่นแคระ สัตว์เลี้ยงที่ใครได้เห็น ก็ต่างตกหลุมรักแน่นอน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง