ส่องสัตว์ทะเล วาฬสีน้ำเงิน เจ้าสมุทรชอบกินแพลงก์ตอน

วาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงิน เจ้าบ้านผู้ใจดีแห่งมหาสมุทร ครองตำแหน่งวาฬ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นักอพยพและมีถิ่นอาศัย กระจายไปทั่วหลายทวีป ซึ่งพบน้อยมาก ในมหาสมุทรอันดามัน บริเวณประเทศไทย อาจมีโอกาสเห็น เพียงแค่ 3 ครั้ง / ปี เท่านั้น เราจะพามาทำความรู้จัก กันให้มากกว่าเดิม

รู้จักกับ วาฬสีน้ำเงิน สัตว์ทะเลขนาดมหึมา

วาฬสีน้ำเงิน (Blue Whale) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดใหญ่ จัดอยู่ในวงศ์ Balaenopteridae แหล่งอาศัยเคยกระจายอยู่ทั่วมหาสมุทร เกือบทั้งหมดของโลก แต่ปัจจุบันพบเห็นส่วนมาก ในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และ มหาสมุทรอินเดีย โดยมีอายุขัยยืนยาว 80 – 90 ปี และ พบมีอายุสูงสุดได้ถึง 110 ปี [1]

วาฬ สีน้ำเงิน ลักษณะเป็นอย่างไร?

วาฬเป็นสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ ที่มีลำตัวเรียวยาว ครีบยาว และ มีหัวกว้างเป็นรูปตัว U โดยขนาดที่ใหญ่ที่สุด ค้นพบว่าเป็นวาฬโบราณยุคแรก “Perucetus” ที่มีขนาดใหญ่ ใกล้เคียงกับวาฬสีน้ำเงิน ซึ่งมีน้ำหนักเฉลี่ย 180 ตัน ในขณะที่วาฬสีน้ำเงินทั่วไป มีน้ำหนัก ประมาณ 80 – 170 ตัน และความยาวลำตัวเฉลี่ย 21 – 30 เมตร

พฤติกรรมการสื่อสาร และแหล่งอาหาร

พฤติกรรมของวาฬเป็น สัตว์น้ำ อพยพระหว่างแหล่งหากิน ตลอดทั้งปี อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ไม่มีสังคมชัดเจน นอกจากความสัมพันธ์ของแม่ลูก โดยสื่อสารกันผ่านคลื่นเสียง ระดับความถี่ 8 – 25 Hz แต่หากมีคลื่นเสียงสูงอย่าง วาฬบาลีน 52 Hz จะกลายเป็นวาฬ ที่โดดเดี่ยวที่สุด เพราะตัวอื่นไม่สามารถ รับรู้ถึงการมีอยู่ได้

ทักษะในการดำน้ำลึก ของวาฬสีน้ำเงิน สามารถลึกได้ถึง 315 เมตร ระยะเวลา ประมาณ 15 – 31 นาที โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจ ลดลงเหลือเพียง 2 bpm / นาที และเมื่อโผล่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำ อาจเพิ่มขึ้นถึง 37 bpm ทั้งยังมีความเร็วในการเดินทาง ระหว่าง 5 – 30 กิโลเมตร / ชั่วโมง

อาหารวาฬสีน้ำเงิน เน้นกินคริลล์ และ แพลงก์ตอนเป็นหลัก โดยวาฬจะว่ายน้ำ ด้วยความเร็วสูง พร้อมอ้าปากกลืนได้ 220 ตันเมตริก ภายในครั้งเดียว ซึ่งพวกมันต้องกินคริลล์ มากกว่า 100 ตัว / ลูกบาศก์เมตร เพื่อเก็บรักษาพลังงานในแต่ละวัน ซึ่งจะได้รับพลังงาน ประมาณ 8,312 – 457,141 กิโลแคลอรี

ความรู้สำหรับการอนุรักษ์ วาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงิน

วาฬสีน้ำเงินถือเป็นสัตว์ใหญ่ ที่มีความสำคัญ ต่อระบบนิเวศทางทะเล หนึ่งในนักล่าอันดับต้น ๆ ของห่วงโซ่อาหารแห่งมหาสมุทร หากเกิดการสูญเสีย หรือเกิดการสูญพันธุ์ในอนาคต อาจส่งผลกระทบร้ายแรง และ นำไปสู่ปัญหาทางทะเลได้ ซึ่งสมควรที่จะได้รับความสำคัญ จากนานาประเทศทั่วโลก

สำรวจภัยคุกคามทางทะเล

วาฬในมหาสมุทร นับว่าเป็นสัตว์ที่ถูกล่าอย่างมาก ตั้งแต่ในช่วง ปี ค.ศ. 1900 โดยการล่าวาฬเพื่อแสวงหา “น้ำมันปลาวาฬ” จนทำให้เกือบสูญพันธุ์ มาจนถึง ปี ค.ศ. 1960 ซึ่งพบรายงานการถูกสังหาร ประมาณ 360,000 ตัว และต่อมาจึงได้รับการคุ้มครอง จากคณะกรรมการล่าปลาวาฬ ทำให้ฟื้นตัวได้อีกครั้ง [2]

นอกจากนี้อัตราการเสียชีวิต ยังมาจากการโจมตี ของฉลาม วาฬเพชฌฆาต การชนของเรือใหญ่ ที่แล่นด้วยความเร็วสูง การติดอยู่ในเครื่องมือประมง การเสื่อมโทรมของแหล่งอาศัย มลพิษทางทะเล และ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ โดยจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี

สถานะและประชากร วาฬสีน้ำเงิน

สถานภาพวาฬสีน้ำเงิน จัดอยู่ในประเภท สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ตามบัญชีแดงของ IUCN โดยมีแนวโน้มของประชากรเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้รับการคุ้มครอง [3]

สำรวจพบประชากรทั่วโลก ในปี 2018 คาดมีประมาณ 10,000 – 25,000 อัตรา ซึ่งมีจำนวนน้อยลง เมื่อเทียบกับปี 1926 ที่มีอย่างน้อย 140,000 อัตรา ในปัจจุบัน จำนวนประชากรวาฬสีน้ำเงิน ของแถบซีกโลกใต้ ค่อนข้างมีน้อยมาก โดยพบหลักฐานประชากร เพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 2% / ปี

สรุป วาฬสีน้ำเงิน “Blue Whale”

วาฬสีน้ำเงิน ผู้ครองผืนน้ำ ในมหาสมุทรเกือบทั่วโลก แม้ว่าจะมีขนาดตัวใหญ่มหึมา แต่ชอบกินเพียงแค่ สัตว์น้ำขนาดเล็กจิ๋ว อย่างคริลล์และแพลงก์ตอนเป็นอาหาร มีความสามารถในการพุ่งตัวเหนือน้ำ การดำน้ำลึก และว่ายน้ำอย่างรวดเร็ว สัตว์ทะเลที่มักตกเป็นเหยื่อ ของสัตว์ทะเลนักล่า และเสียชีวิตจาก กิจกรรมของมนุษย์

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง