สงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ของไทยเรา วัฒนธรรมประจำชาติที่งดงาม อยู่คู่กับชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ล้วนแตกต่างไปตามภูมิภาค เต็มไปด้วยบรรยากาศ ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และความกตัญญู โดยการสาดน้ำ หรือรดน้ำดำหัว เป็นสื่อกลางสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน
สงกรานต์ (Songkran) ประเพณีเก่าแก่ของไทย สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยึดถือเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับวันขึ้นปีใหม่ของไทย วัฒนธรรมประจำชาติอันดีงาม เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี (มหาสงกรานต์) วันที่ 14 เมษายน (เนา) และ วันที่ 15 เมษายน (เถลิงศก)
ความหมาย “วันสงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต คือการเคลื่อนย้าย มีความเชื่อว่า เป็นช่วงเวลาการเคลื่อนจักรราศี หรือเปลี่ยนผ่านดวงดาว จึงทำให้คนไทยโบราณ ยึดถือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 นับแต่นั้นมา จนในปี พ.ศ. 2484 ถูกปรับเปลี่ยนเป็นวันที่ 1 มกราคม ตามแบบสากลนิยม [1]
ตามตำนานโบราณกล่าวว่า ท้าวกบิลพรหม คือ เทพชั้นพรหม ที่แพ้พนันการทายปัญหาของ ธรรมบาลกุมาร ด้วยปัญหา 3 ประการ “ช่วงเวลาเช้า เที่ยง และเวลาค่ำ มนุษย์มีราศีอยู่ที่ใด” เมื่อทายผิดจึงต้องตัดเศียร ตามข้อตกลงกันไว้ ส่งผลให้นางสงกรานต์ คือ นางฟ้าบนสวรรค์ ชั้นจาตุมหาราช
โดยเป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม (ท้าวมหาสงกรานต์) มีหน้าที่ในการเวียนแห่เศียร ของท้าวกบิลพรหม รอบเขาพระสุเมรุ เพราะหากวางเศียรไว้ที่ใดก็ตาม จะเกิดภัยพิบัติ เมื่อวันสงกรานต์ ตรงกับวันใดในปีนั้น จะมีนางสงกรานต์ ประจำวันมาทำหน้าที่ แบ่งเป็นนางทั้ง 7 วัน ได้แก่
นางทุงษเทวี (ประจำวันอาทิตย์), นางโคราดเทวี (ประจำวันจันทร์), นางรากษสเทวี (ประจำวันอังคาร), นางมัณฑาเทวี (ประจำวันพุธ), นางกิริณีเทวี (ประจำวันพฤหัสบดี), นางกิมิทาเทวี (ประจำวันศุกร์) และ นางมโหทรเทวี (ประจำวันเสาร์)
วันสงกรานต์ของไทย มักแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม พิธีกรรม และความเชื่อโบราณ ตามภูมิภาคต่อไปนี้
วันที่ 13 (วันสังขารต์ล่อง) วันเก่าผ่านไป วันสังขารร่างกายแก่ไปอีกปี ทำกิจกรรมสวมเสื้อสีแดง ล่องแพนำสิ่งชั่วร้ายมาตามน้ำ และชาวบ้านจะจุดประทัด ขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไป ทั้งยังสรงน้ำพระพุทธรูป ด้วยน้ำอบ และน้ำขมิ้นส้มป่อย
วันที่ 14 (วันเน่า) ห้ามทะเลาะหรือพูดคำหยาบ ทำกิจกรรมช่วงเช้า เตรียมอาหารและสิ่งของ สำหรับทำบุญในวันพญาวัน ช่วงบ่ายขนทรายเข้าวัด และปักธงตุงตามเจดีย์ทราย และ วันที่ 15 (วันพญาวัน) วันเริ่มศักราชใหม่ นิยมทำบุญตักบาตร และทำทานขันข้าว
วันที่ 13 (มื้อสงกรานต์ล่อง) วันสังขารต์ล่อง วันแรกของการทำกิจกรรมปีใหม่ ส่วนวันที่ 14 (มื้อเนา) ชาวบ้านแต่งกายงดงาม ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรูป และจัดกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ ช่วงกลางคืนร่วมกัน สวดมนต์ฟังธรรม และ วันที่ 15 (มื้อสงกรานต์ขึ้น) ฉลองเทศกาล 7 – 15 วัน เพื่อเป็นการรวมญาติ และทำบุญอัฐิของบรรพบุรุษ (สักอนิจจา)
กิจกรรมประกอบพิธีกรรม ทางศาสนาเป็นหลัก นิยมสรงน้ำพระพุทธรูป ทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เพื่อแสดงถึงความกตัญญู และการจัดขบวนแห่นางสงกรานต์
ประเพณีขึ้นปีใหม่ นับเป็นวันว่างจากการทำงาน ตามความเชื่อกล่าวว่า ห้ามตัดผม ห้ามตัดเล็บ หรือห้ามมีการฆ่าสัตว์ ทั้งยังเป็นโอกาส ในการแสดงความกตัญญูต่อผู้อาวุโส นิยมทำกิจกรรมจัดหาผ้าใหม่ การอาบน้ำสระหัว และการขอพร วันที่ 13 (วันส่งเจ้าเมืองเก่า) ทำความสะอาดบ้าน และพิธีสะเดาะเคราะห์
วันที่ 14 (วันว่าง) วันไม่มีเทวดารักษาเมือง ชาวบ้านจะหยุดทำงาน และไปทำบุญตักบาตรแทน และ วันที่ 15 (วันรับเจ้าเมืองใหม่) หรือวันเบญจา เป็นวันรับเทวดาองค์ใหม่ มาดูแลบ้านเมือง มักสวมเสื้อผ้ากับเครื่องประดับชุดใหม่ และพิธีรดน้ำดำหัว
ที่มา: เรื่องเล่าตำนาน “วันสงกรานต์” กับ “ประเพณีสงกรานต์” [2]
กิจกรรมสาดน้ำในประเทศไทย ถือว่าเป็นประเพณีอันดีงาม ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยได้รับการขึ้นบัญชีตัวแทนมรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษย์ จากองค์กร UNESCO และต่างเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ต่างชาติชื่นชอบที่จะมาสัมผัส บรรยากาศประเพณีของไทย เป็นจำนวนมากในทุกปี
หลายคนอาจยังไม่เคยทราบมาก่อนว่า ประเพณีเล่นน้ำสงกรานต์ ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทย ซึ่งแตกต่างกันไปแต่ละวัฒนธรรม มีรายละเอียดดังนี้
ที่มา: เทศกาลสงกรานต์มีกี่ประเทศ [3]
กิจกรรมสำคัญในวันสงกรานต์ แน่นอนว่ายังคงสืบสาน วัฒนธรรมของไทย นอกจากการทำบุญตักบาตร ตามประเพณีท้องถิ่นแล้ว ยังสนุกกับการเล่นสาดน้ำ ส่วนใหญ่เป็นสถานที่สำคัญ และตามท้องถนน ทั้งยังมีกิจกรรมอีกมากมาย อย่างงานคอนเสิร์ต หรืองานปาร์ตี้โฟม เป็นต้น
นอกจากนั้นใครที่ไม่อยากเปียก หรือไม่อยากออกนอกบ้าน ยังสามารถร่วมกิจกรรม สาดน้ำออนไลน์ ได้ผ่านทางเว็บต่าง ๆ หรือเล่นเกม Songkran Splash เกมสล็อตจากค่าย PGSLOT มอบเงินรางวัลสูงสุด x5000 เท่า และมาพร้อมกับ อัตราการจ่าย 96.69%
สงกรานต์ ประเพณีประจำชาติ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถูกจัดขึ้นในวันที่ 13 – 15 เดือนสี่ สำหรับการพักผ่อนเล่นน้ำ วันแห่งการรวมญาติ และการทำบุญตักบาตร เริ่มต้นศักราชใหม่ของไทย ทั้งยังเปิดโอกาสให้หนุ่มสาว ได้เจอหน้าพบปะกัน เพื่อเล่นสาดน้ำคลายร้อน ในเดือนเมษายนของทุกปี