สัตว์น้ำสวยงามน้ำจืด มีหลากหลายสายพันธุ์ ที่ได้รับการยอมรับ ไม่ว่าจะเป็น ปลาเรดเทลแคทฟิช, ปลาหมอม้าลาย, ปลากระทิงไฟ, ปลากระดี่มุก และ ปลาเสือตอลายเล็ก ที่ได้รวบรวมมาจากหลายที่ หลายแห่ง อีกทั้ง สามารถพบเห็นได้ยากหรือง่าย วันนี้เราจะมานำเสนอ ความสำคัญของปลาสวยงาม แนวทางอนุรักษ์ หรือข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ให้ผู้เลี้ยงปลาทั้งหลายได้ทราบกัน
สำหรับ สัตว์น้ำสวยงามน้ำจืด หรือ ปลาน้ำจืด (Freshwater Beautiful Fish) มีสัตว์เลี้ยงบางชนิด สามารถพบเจอได้ยาก หรือเหลือน้อย ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยเป็นปลาที่ใช้ชีวิตบางส่วน หรือทั้งหมดในแหล่งน้ำจืด ได้แก่ แม่น้ำ ทะเลสาบ และพื้นที่ชุ่มน้ำภายในแผ่นดิน
ซึ่งมีความเค็มน้อยกว่า 1.05% สภาพแวดล้อมเหล่านี้ แตกต่างจากแหล่ง ที่อยู่อาศัยในทะเลในหลายด้าน โดยเฉพาะความแตกต่าง ของระดับความเข้มข้น ของออสโมลาริตี เพื่อความอยู่รอดในน้ำจืด และปลาต้องปรับตัวตามธรรมชาติต่างๆ
โดยร้อยละ 41.24% ของสายพันธุ์ปลา ที่รู้จักทั้งหมดพบได้ในน้ำจืด สาเหตุหลักมาจากการที่แหล่ง ที่อยู่อาศัยกระจัดกระจาย ทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อต้องจัดการกับบ่อน้ำ และทะเลสาบ อาจใช้แบบจำลองพื้นฐาน ของการแยกตัวแบบเดียวกันกับ เมื่อศึกษาทางด้านชีวภูมิศาสตร์ ของแม่น้ำนั่นเอง [1]
ต้องบอกเลยว่าตอนนี้ ประเทศเรามีปลาน้ำจืดหลากหลายชนิด ที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือปริมาณลดลงกว่าเดิม ทำให้ต้องมีการปล่อยพันธุ์ ปลาลงในแหล่งน้ำที่จัดขึ้น ปัจจุบันปลาสวยงาม ของประเทศไทย ได้รับการยอมรับ ในตลาดโลกเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านความหลากหลายของสายพันธุ์ ความสวยงาม แปลกใหม่ ราคาไม่แพงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
อีกทั้ง ประเทศไทยยังมีการผลักดันให้ ผู้เพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด เข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม เพื่อควบคุมคุณภาพ และการกักกันโรคของปลา ในการส่งออกให้เป็นที่ชื่นชอบ และได้รับความเชื่อมั่น จากผู้ค้าทั่วโลกมากยิ่งขึ้น อันจะเห็นได้ จากมูลค่าการส่งออก ในแต่ละปีที่มากกว่า 700 ล้านบาท โดยประเทศของเรา เป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 5 ของโลก มีส่วนแบ่งในตลาดโลกร้อยละ 7.38
นอกจากนี้ ด้านการอนุรักษ์ กรมประมงสามารถพัฒนาเทคนิคการเพาะขยายพันธุ์ปลาสวยงามพื้นเมืองของไทยได้เป็นผลสำเร็จหลากหลายสายพันธุ์ อาทิ ปลาปล้องอ้อย ปลาซิวข้างขวาน ปลาก้างพระร่วง ปลารากกล้วย เป็นต้น
และมีนโยบายในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงให้เกษตรกรได้มีการเพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เพื่อผลักดันธุรกิจปลาสวยงามควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยการปลูกสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สัตว์น้ำพื้นเมืองของไทยไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติ [2]
การอนุรักษ์ปลาสวยงามนั้น นับว่าเป็นความจำเป็น ของปลาหลากหลายชนิดทั่วโลก ซึ่งมีความพร้อมในการพัฒนา และการอนุรักษ์ กรมประมงสามารถพัฒนาเทคนิค การเพาะขยายพันธุ์ ปลาสวยงามพื้นเมืองของไทย ที่ได้เป็นผลสำเร็จหลากหลายสายพันธุ์ อาทิ ปลาปล้องอ้อย ปลาซิวข้างขวาน ปลาก้างพระร่วง ปลารากกล้วย เป็นต้น
จึงทำให้กรมประมง มีนโยบาย ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทางด้านการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม ให้เกษตรกรได้มีการเพาะเลี้ยง เพื่อการส่งออก ไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เพื่อผลักดันธุรกิจปลาสวยงามควบคู่ ไปกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยการปลูกสร้างจิต สำนึกในการอนุรักษ์ สัตว์น้ำพื้นเมืองของไทย ไม่ให้สูญพันธุ์ไป จากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก [3]
สำหรับปลาน้ำจืด เป็นหนึ่งในการค้าส่งออก ที่มีขยายตัวในตลาดโลก อย่างรวดเร็ว ซึ่งประเทศเรานั้น ถือว่ามีปัจจัยพื้นฐาน ที่ได้เปรียบประเทศ คู่แข่งขันหลายด้าน ทั้งในเรื่องความพร้อม ทางศักยภาพของเกษตรกร เทคนิคการเพาะเลี้ยง การพัฒนาสายพันธุ์ ลักษณะภูมิประเทศ และภูมิภาคอากาศที่เหมาะสม ฯลฯ
ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญ ที่ผลักดันให้ประเทศเรา อย่างก้าวหน้า ขึ้นอยู่ในระดับประเทศ ผู้ส่งออกปลาน้ำจืด ที่สำคัญอันดับต้นๆ ของโลก โดยกรมประมง ได้เห็นถึงความสำคัญ ทางด้านการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด ในเชิงพาณิชย์ควบคู่ไปกับ การอนุรักษ์พันธุ์ปลาพื้นเมือง
สำหรับสิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึง ดังต่อไปนี้
ประเภทของปลา พบเจอได้ง่าย และยากทั้งในไทย และอีกหลายประเทศ มีดังต่อไปนี้
ปลาน้ำจืด จัดเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง และเป็นสัตว์เลี้ยงที่หลายท่านชื่นชอบ อีกหนึ่งชนิดของคนทุกวันนี้ เนื่องจากเป็นปลาที่มีสีสันน่าหลงใส เลี้ยงได้ง่าย แถมยังสามารถเสริมสิ่งมงคลต่างๆ ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงนิยมเลี้ยงปลา เพื่อความสวยงาม หรือดูน่าประทับใจ โดยพวกมันจะมีหลากหลายราคา มีราคาซื้อขายเพียงไม่กี่บาทเท่านั้น