แหล่งรวม สัตว์ปีกหายาก นกชนิดใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก

สัตว์ปีกหายาก

สัตว์ปีกหายาก นกหลากหลายสายพันธุ์ ที่ได้รับผลกระทบมากมาย จากกิจกรรมของมนุษย์ จนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งสัตว์ปีกประเภท นก ไก่ เป็ด และ ห่าน รวมทุกชนิดจากหลายทวีป สามารถพบเห็นได้ยาก แนะนำความสำคัญ ของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ แนวทางอนุรักษ์ และ สัตว์ปีกหายากอีก 6 ชนิด

เรียนรู้เรื่องของ สัตว์ปีกหายาก

สัตว์ปีกหายาก (Rare Poultry) สัตว์ป่าหรือสัตว์เลี้ยงบางชนิด พบเจอได้ยาก หรือมีประชากร หลงเหลือน้อย ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยเป็นสัตว์ปีกใกล้สูญพันธุ์ ที่มีความสวยงามเฉพาะตัว ซึ่งถูกรบกวนวิถีชีวิตทางธรรมชาติ จากนายพรานล่าสัตว์ การบุกรุกถิ่นอาศัย และ การค้าขายสัตว์ป่า แบบผิดกฎหมาย

นกใกล้สูญพันธุ์ สำคัญอย่างไร?

หากถามว่า นกเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ มีความสำคัญอย่างไร ทำไมเราต้องอนุรักษ์ และปกป้องนก เพื่อไม่ให้กลายเป็นสัตว์หายาก เนื่องจากว่าสัตว์ทุกสายพันธุ์ มีความเชื่อมโยงกันในธรรมชาติ เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศสมดุล และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อการมีชีวิตอยู่รอด

โดยผลการศึกษาวิจัย พบว่าสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงรุนแรง จะส่งผลให้เกิด “การสูญพันธุ์แบบโดมิโน” คือ การสูญเสียสิ่งมีชีวิตชนิดเดียว อาจกระทบถึงสิ่งมีชีวิตอื่น เป็นทอด ๆ จนระบบนิเวศล่มสลาย ดังนั้น การช่วยเหลือนก หรือสัตว์เพียง 1 สายพันธุ์ หมายถึง การรักษาแหล่งอาศัย และ สัตว์อีกหลายสายพันธุ์ได้ด้วย [1]

แนวทางการอนุรักษ์ สัตว์ปีก หายาก

การอนุรักษ์ สัตว์ปีกหายาก นับว่าเป็นความจำเป็น ของนกหลากหลายชนิดทั่วโลก ซึ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้พบการสูญพันธุ์ของนก เกินกว่า 100 ชนิด เกิดขึ้นที่มหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีนก ประมาณ 750 – 1,800 ชนิด ต้องหายไปจากโลก และ คาดว่าประชากรนก กำลังลดลงอีกกว่า 1,200 ชนิด

สาเหตุหลัก ของการสูญเสีย ประชากรนกทั่วโลก อันมาจากภัยคุกคามมากมาย ทั้งการเสียถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ การล่าสัตว์เกินกำหนด การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากสัตว์ การเสียชีวิตจากสิ่งก่อสร้าง การใช้สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ สภาวะโลกร้อน และ มลพิษต่าง ๆ

แน่นอนว่าภัยคุกคามส่วนใหญ่ มาจากกิจกรรมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่ช่วง ยุคหินเก่าตอนปลาย โดยแนวทางการอนุรักษ์ เพื่อปกป้องนกจำนวนมาก มีการออกกฎหมาย สำหรับการอนุรักษ์ การฟื้นฟูแหล่งอาศัยในธรรมชาติ การกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่า การให้ข้อมูลความรู้ ตลอดจนการเพิ่มประชากรนก เป็นต้น [2]

สัตว์ปีกหายาก รวม 6 ชนิดใกล้สูญพันธุ์

สัตว์ปีกหายาก

รอบรู้เกี่ยวกับสัตว์ในธรรมชาติ รวมชนิดของสัตว์ปีกใกล้สูญพันธุ์ เพื่อให้ผู้คนตระหนัก และ ร่วมอนุรักษ์สัตว์ปีกทั้งโลก ให้อยู่คู่กับผืนป่า อย่างยาวนาน ซึ่งมีการจัดตั้ง ทุกวันที่ 5 มกราคม คือ “วันนกแห่งชาติ” (National Bird Day) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1894 ประเทศสหรัฐอเมริกา

จากการศึกษา เก็บข้อมูลของ นกในทวีปอเมริกา ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1978 – 2016 พบว่านกในทวีปอเมริกาเหนือ มีจำนวนลดลง 29% เพราะผลกระทบจาก สภาวะโลกร้อน ซึ่งประชากรนกหายไป 2.9 พันล้านตัว และยังพบว่า ซากนก 70,716 ตัว จากทั้งหมด 52 สายพันธุ์ มีลักษณะร่างกาย ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย [3]

จำแนกชนิดนกหายาก

สำหรับประเภทของนกหายาก ในประเทศไทย มีรายชื่อชนิดนก ดังนี้

  • นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร : นกนางแอ่นตาขาว ขนาดกลาง สีดำเหลือบเขียวเด่นชัด พบเห็นได้มาก ในลุ่มน้ำคองโก และ บึงบอระเพ็ด ถูกค้นพบโดยคนไทยครั้งแรก ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย
  • นกเงือก : นกโบราณปากใหญ่ สีสันหลากหลาย พบในทวีปแอฟริกา และเอเชีย สัตว์ป่าคุ้มครองของไทย ทั้งยังใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง โดยเป็นสัญลักษณ์แห่งรักแท้ และทุกปีกำหนดมี วันรักนกเงือก
  • นกแร้ง : นกนักล่าเหยื่อขนาดใหญ่ กินซากสัตว์เน่าเป็นอาหาร พบได้ในทวีปแอฟริกา ยุโรป และเอเชีย สัตว์ปีกชนิดเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ และสำคัญต่อระบบนิเวศ

จำแนกไก่เป็ดห่านหายาก

ประเภทของสัตว์ปีก พบเจอได้ยากเช่นกัน ทั้งในไทย และอีกหลายประเทศ มีดังต่อไปนี้

  • ไก่หางยาว : ไก่เพาะเลี้ยงทั้ง 2 สายพันธุ์ คือ ไก่โอนากาโดริ กับไก่ฟินิกซ์ ถิ่นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น และการผสมข้ามสายพันธุ์ หางยาวสวยงามที่สุดในโลก เลี้ยงง่าย และราคาสูงหลักแสน
  • เป็ดหงส์ : เป็ดหวีอเมริกันขนาดใหญ่ กระจายสายพันธุ์ในทวีปอเมริกา หนึ่งในสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย สามารถพบเจอได้ จำนวนไม่เกิน 50 ตัว / ปี เท่านั้น
  • ห่านหัวลาย : ห่านเพาะพันธุ์ขนาดกลาง แหล่งกำเนิดจากแถบอินเดีย พบเจอได้มากในทวีปเอเชีย สามารถบินได้สูงที่สุดในโลก ทั้งยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง

สรุป สัตว์ปีกหายาก “Rare Poultry”

สัตว์ปีกหายาก กลุ่มสัตว์ปีกประชากรน้อย พบเห็นได้ค่อนข้างยาก ในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงทวีปอื่น เป็นสายพันธุ์สัตว์ปีกเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เพื่อให้หลายคนตระหนักถึง สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ การปกป้องสายพันธุ์ พร้อมกับการรักษาสมดุล ของระบบนิเวศ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง