สาระชีวิต สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก นักล่าขนปุยแห่งแดนหิมะ

สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก

สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก สัตว์นักล่าตัวเล็กขนสีขาว ในดินแดนอันหนาวเย็นยะเยือก จะได้พบกับจิ้งจอกสีขาว ขนปุยสวยงาม ท่ามกลางหิมะอันขาวโพลน ในระดับความสูงเหนือน้ำทะเลกว่า 3,000 เมตร พวกมันปรับตัวอยู่อาศัยได้ดี ทั้งบนภูเขาหิมะสูง (Arctic mountains) รวมถึงทุ่งหญ้าน้ำแข็ง (Tundra) ไปทำความรู้จักกันเลย

เปิดโลกหนาวเย็นสุดขั้วกับ สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก

สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก (Arctic Fox) หรือถูกเรียกว่า “จิ้งจอกหิมะ, จิ้งจอกขั้วโลก” สุนัขจิ้งจอกขนาดเล็ก มีถิ่นฐานกำเนิดในภูมิภาคอาร์กติก ทางซีกโลกเหนือ และ พบมากในป่าไบโอมทุนดราอาร์กติก ค้นพบต้นกำเนิดซากฟอสซิลจาก นอกทิเบต ตั้งแต่ยุคไพลโอซีนตอนต้น ประมาณ 5.3 – 3.6 ล้านปีก่อน

โดยสายพันธุ์แบ่งออกเป็น 4 ชนิดย่อย คือ จิ้งจอกอาร์กติกหมู่เกาะแบริง (Beringensis), จิ้งจอกอาร์กติกกรีนแลนด์ (Foragoapusis), จิ้งจอกอาร์กติกไอซ์แลนด์ (Fuliginosus) และ จิ้งจอกอาร์กติกหมู่เกาะพลิบิลอฟ (Pribilofensis) สามารถมีอายุขัย ตามสภาพแวดล้อมธรรมชาตินาน 11 ปี [1]

รายละเอียดลักษณะ สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก

สายพันธุ์ของสุนัขจิ้งจอกขนาดเล็ก ขนสีขาว (เฉพาะในช่วงฤดูหนาว) และมีขนสีเทาแกมน้ำตาล (ในช่วงฤดูร้อน) ขนสั้นแต่ค่อนข้างหนาฟู ใบหน้าสั้นกว่าจิ้งจอกสายพันธุ์อื่น ใบหูเล็ก มีหางยาวเป็นพุ่ม โดยมีความยาวลำตัว ประมาณ 52 – 55 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 2.9 – 3.5 กิโลกรัม และความยาวหาง 30 เซนติเมตร

อธิบายพฤติกรรม อาหาร และการปรับตัว

พฤติกรรมโดยทั่วไป เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท สัตว์เขตหนาว สามารถทนทานต่อ สภาพภูมิอากาศต่างกันได้ดี ซึ่งมีอุณหภูมิในร่างกายสูง 90 – 100 °C สำหรับป้องกันการสูญเสียความร้อน โดยพวกมันจะชอบเคลื่อนไหวตลอดปี แบบไม่จำศีล และสะสมไขมันสำรอง เพื่อเป็นแหล่งพลังงาน หากอาหารขาดแคลน

อาหารของจิ้งจอกอาร์กติก เลือกกินสัตว์ขนาดเล็กหลายชนิด อย่างเช่น หนู กระต่าย นก ไข่ ปลา และซากสัตว์ ที่อาจหลงเหลือจากสัตว์นักล่า ทั้งหมาป่า หรือ หมีขั้วโลก นอกจากนั้นยังสามารถเอาชีวิตรอดได้ หากเกิดสภาวะขาดแคลนอาหาร โดยในฤดูหนาว จิ้งจอกอาร์กติกจะมีพลังงานสำรอง 14,740 กิโลจูล

การปรับตัวกับสภาพแวดล้อม พวกมันมีขนหนาหลายชั้น ช่วยให้ความอบอุ่น และขนสีขาว ช่วยในการพรางตัวตามฤดูกาล ซึ่งสามารถอยู่อาศัยใน สภาพอากาศหนาวเย็นได้มากถึง -40 °C ทั้งนี้ยังมีการปรับตัวด้วยการเดินทาง กลับไปกลับมาในเขตอาศัย คิดเป็นอัตรา 95.5% รวมระยะทางกว่า 3,506 กิโลเมตร ภายใน 76 วัน

สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก สัตว์ป่าเข้าข่ายเสี่ยงสูญพันธุ์

สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก

สัตว์ป่าที่ดำรงชีวิตอยู่ได้ในเขตหนาว ค่อนข้างมีความว่องไว นิสัยไม่ดุร้าย และพรางตัวได้ดีในหิมะขาวโพลน จึงไม่ใช่เรื่องยากที่พวกมัน จะล่าเหยื่อขนาดเล็ก แต่ในปัจจุบัน พวกมันกลับถูกล่าเสียเอง ทั้งจากสัตว์ชนิดอื่นและมนุษย์ ด้วยขนสีขาวสวยงาม ทำให้พวกในอาจเข้าข่าย สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากขึ้นด้วย

จิ้งจอกหิมะ ทำไมถึงเป็นนักขุดโพรง?

เคยสงสัยกันหรือไม่? ทำไมจิ้งจอกอาร์กติก สามารถทนต่อสภาพอากาศอันเลวร้าย ของภูมิภาคอาร์กติกได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากพวกมัน จะมีอุณหภูมิร่างกายสูง และการสะสมไขมันสำรองแล้ว อีกหนึ่งเคล็ดลับของการมีชีวิตรอด คือ การขุดโพรง บริเวณสันเขาเพื่ออยู่อาศัย

โดยนักวิจัยของ Stockholm University พบว่าจิ้งจอกอาร์กติกขุดโพรงใต้หิมะ และขดตัวนอน ใช้หางปกคลุมร่างกายเหมือนกับผ้าห่ม ซึ่งจะใช้พลังงานเพียง 50% เท่านั้น คล้ายกับการจำศีล แต่เป็นเพียงแค่การนอนหลับพักผ่อน คาดว่าพวกมันขุดโพรงไปแล้วกว่า 8,000 โพรง และมีทางออกจากโพรง มากกว่า 100 ทาง

สำหรับในช่วงผสมพันธุ์ เกิดขึ้นทุก 3 – 4 ปี ของเดือนกันยายน – เดือนพฤษภาคม จะให้กำเนิดลูกจิ้งจอกขาว ประมาณ 18 ตัว / ครอก และอัตรากว่า 90% จะไม่รอดชีวิตจากฤดูหนาวแรก ซึ่งพ่อกับแม่จะช่วยดูแลอยู่ในโพรงเป็นอย่างดี จนกว่าจะเติบโต มีอุ้งเท้าหนาพอที่จะออกไป เดินบนพื้นน้ำแข็งได้ [2]

ภัยคุกคามและการอนุรักษ์ สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก

จิ้งจอกขาว สัตว์ป่าที่ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทาย จากการถูกล่า และการเปลี่ยนแปลงของอากาศ โดยอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูงขึ้น จากสภาวะโลกร้อน ทำให้สุนัขจิ้งจอกขาว ถูกมองเห็นได้ง่าย จากสายตาของสัตว์นักล่ามากมาย โดยเฉพาะจิ้งจอกแดง (Red Fox) สายพันธุ์ที่มีอำนาจเหนือกว่า

สถานภาพการอนุรักษ์ จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์น่ากังวลน้อยที่สุด โดยประชากรทั่วโลก คาดว่ามีประมาณ 630,000 ตัว แต่ยังเป็นหนึ่งในสัตว์เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ของทางยุโรปตอนเหนือ (นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์) เพราะเหลือประชากรน้อยกว่า 200 ตัว เกิดจากการถูกล่าขนจิ้งจอก ที่มีมูลค่าสูงในอุตสาหกรรมขนสัตว์

ปัจจุบันจิ้งจอกขั้วโลก สามารถเป็นสัตว์เลี้ยงได้หรือไม่? ตอบคือไม่สามารถเลี้ยงได้ เช่นเดียวกับสุนัขจิ้งจอกสายพันธุ์อื่น ๆ นั่นเป็นเพราะพฤติกรรม และการใช้ชีวิตตามธรรมชาติ พวกมันต้องการขุดโพรง ทำเครื่องหมาย และสร้างอาณาเขต ทั้งยังเป็นสิ่งมีชีวิตห้ามเลี้ยง ตามพระราชบัญญัติ แห่งนิวซีแลนด์ [3]

สรุป สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก “Arctic Fox”

สุนัขจิ้งจอกอาร์กติก จิ้งจอกขนาดเล็ก ขนสีขาวหนาฟู แห่งภูมิภาคอาร์กติก สามารถปรับตัวทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ค่อนข้างดี ชอบขุดโพรงสำหรับอยู่อาศัย กินสัตว์เล็กเป็นอาหาร ปัจจุบันมีประชากรหลายแสนตัว กระจายอยู่ในภูมิภาคยุโรปตอนเหนือ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง