คู่มือสัตว์เลี้ยง หนูแกสบี้ หนูตะเภาตัวอ้วนกลมขนยาว

หนูแกสบี้

หนูแกสบี้ สัตว์เลี้ยงตัวอ้วนกลมขนฟู ขวัญใจของคนรักสัตว์ หนึ่งในสัตว์เลี้ยงยอดนิยม เหมาะกับคนมีพื้นที่น้อย พามาทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น อยากเลี้ยงต้องทำอย่างไร เลี้ยงง่ายแค่ไหน และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เตรียมตัวเจอกับความน่ารัก และข้อมูลสาระมากมายกันเลย

รู้จักความเป็นมาของ หนูแกสบี้

หนูแกสบี้ (Guinea Pig) หรือหนูตะเภา หลายคนมักเรียกกันว่า หนูเควี่ (Cavy) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประเภทสัตว์ฟันแทะ อยู่ในสกุลของ Cavia โดยมีต้นกำเนิดจาก ภูมิภาคแอนดีส ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งค้นพบว่าเป็น สัตว์ผสมข้ามสายพันธุ์ นิยมเลี้ยงอยู่ในบ้าน และไม่ค่อยพบเจอตามป่าธรรมชาติ [1]

จุดเริ่มต้นของสายพันธุ์หลากหลาย ของเจ้าหนูแกสบี้ เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัย 10,000 ปีก่อน โดยชาวลาตินอเมริกา เป็นชนกลุ่มแรกที่พบเจอ พวกมันถูกเรียกว่า “เควี่ป่า” อาศัยอยู่รวมกันในถ้ำ และได้นำมาเป็นสัตว์เลี้ยง จนเป็นที่นิยมมาหลายยุคสมัย และถูกพัฒนาสายพันธุ์ ทำให้เกิดการเลี้ยง อย่างแพร่หลายมากขึ้น

ลักษณะเฉพาะ หนูแกสบี้

ลักษณะเด่นชัด จะมีรูปร่างค่อนข้างใหญ่ โดยมีความยาวของลำตัว ประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 700 – 1,200 กรัม หรือบางสายพันธุ์ มีน้ำหนักมากถึง 3 กิโลกรัม เป็นสัตว์มีขนยาวนุ่มฟู บางสายพันธุ์ขนยาว จนแทบไม่เห็นดวงตา มีใบหูขนาดเล็ก หรือบางสายพันธุ์ไม่มีขนเลย

ส่วนดวงตาของหนูแกสบี้ จะไม่ค่อยดีเท่ากับคน เมื่อเทียบในด้านของ ระยะทางและการแยกสี แต่จะสามารถมองเห็น ในมุมมองที่กว้างกว่า ประมาณ 340 องศา โดยมองเห็นสีแค่บางส่วน ทั้งยังมีประสาทการสัมผัส การได้ยินเสียง และการดมกลิ่นอย่างดี ทั้งยังมีอายุยืน เฉลี่ยประมาณ 4 – 5 ปี หรือมากที่สุด 8 – 14 ปี

จำแนกสายพันธุ์ Guinea Pig

สายพันธุ์ของหนูแกสบี้ มีหลากหลายแตกต่างกันไป แบ่งตามรูปลักษณ์ และความยาวของขน ดังต่อไปนี้

  • แกสบี้ขนยาว : Silky (ขนยาวตรง), Coronet (ขนยาวตรง), Peruvian (ขนยาวตรง), Texel (ขนหยิกลอน), Marino (ขนหยิกลอน) และ Alpaca (ขนหยิกลอนทั้งตัว)
  • แกสบี้ขนสั้น : America (ขนสั้นเรียบ), Teddy (ขนสั้นหยิกทั้งตัว), Rex (ขนสั้นหยิกทั้งตัว), American Crested (ขนสั้นเรียบ), English Crested (ขนสั้นเรียบ) และ Abyssinian (ขนยาว ประมาณไม่เกิน 1 นิ้วครึ่ง)
  • แกสบี้ไร้ขน : Skinny หรือเรียกกันว่า หนูฮิปโปแคระ (ไม่มีขนบริเวณลำตัว ผิวหนังเรียบเนียน แต่อาจมีขนเล็กน้อย ตรงปลายจมูก)

ที่มา: มารู้จักสัตว์เลี้ยงสุดน่ารักหนูแกสบี้ [2]

มือใหม่หัดเลี้ยง หนูแกสบี้ เลี้ยงอย่างไรดี

หนูแกสบี้

อยากเลี้ยงเจ้าหนูแกสบี้ นอกจากจะต้องทำความเข้าใจ เกี่ยวกับสายพันธุ์แล้ว ควรเตรียมความพร้อม สำหรับการเลี้ยงตลอดหลายปี ทั้งราคาซื้อขาย และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหมาะกับผู้ที่มีเวลาดูแล เอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะแกสบี้เป็นสัตว์เกิดโรคภัยง่าย ทั้งยังต้องการสุขภาพที่ดี ในทุกด้านอีกด้วย

วิธีการเลี้ยง หนูแกสบี้

สถานที่เลี้ยงหนูแกสบี้ ต้องการกรงขนาดกว้างขวาง สำหรับวิ่งเล่นและสำรวจ สามารถระบายอากาศได้ดี เพราะเป็นสัตว์ค่อนข้าง มีปัญหากับระบบทางเดินหายใจ ทั้งยังมีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรให้เจอกับแดดแรง โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน อาจมีความเสี่ยงสูง ที่จะเป็นโรคลมแดดได้ง่าย (Heat Stroke)

อาหารของโปรด มีสารอาหารสมดุล เหมาะสมกับร่างกาย คือ หญ้าแห้ง 80% (มีไฟเบอร์ และช่วยในการขัดฟัน) หญ้าสด ผักสด และผลไม้ (แครอท แอปเปิล ฝรั่ง มะม่วง มีวิตามินในปริมาณที่พอเหมาะ) และนอกจากนั้น แนะนำเป็น หญ้านำเข้าจากต่างประเทศ เพราะค่อนข้างมีคุณภาพดี เหมาะกับแกสบี้มากที่สุด

การดูแลรักษาสุขภาพ ต้องหมั่นดูแล ทำความสะอาดขน เป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะสายพันธุ์ขนยาว ควรมีการแปรงขน เพื่อป้องกันขนพันกัน และสามารถตัดเล็บได้ ตามความต้องการ ทั้งยังควรตรวจสุขภาพ ระมัดระวังเรื่องของโรคภัย อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย

รวมค่าใช้จ่ายแกสบี้แพงไหม?

ราคาของแกสบี้ จะแตกต่างกันตามลักษณะ และสายพันธุ์ต่าง ๆ ส่วนมากแล้วขึ้นอยู่กับ ลักษณะเพศ ซึ่งตัวเมียจะมีราคาค่อนข้างสูง มากกว่าตัวผู้ และลักษณะของสายพันธุ์ อย่างเช่น สีตา ความยาวของขน ความหยิกของขน สีปลายจมูก และจำนวนขวัญตามร่างกาย โดยมีราคาตั้งแต่ 1,500 – 15,000 บาท

สำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ โดยที่พักอาศัยแบบกรงไม้ ราคาประมาณ 700 – 1,500 บาท กรงแบบตะแกรง 300 – 1,300 บาท ค่าใช้จ่ายของอาหาร หญ้าแห้งทิโมธี ประมาณ 100 – 500 บาท / 1 กิโลกรัม อาหารเม็ด 80 – 300 บาท / 1 กิโลกรัม และขวดน้ำ 50 – 300 บาท แล้วแต่ปริมาณ กับความทนทาน [3]

สรุป หนูแกสบี้ “Guinea Pig”

หนูแกสบี้ สายพันธุ์หนึ่งของหนูตะเภา นิยมเลี้ยงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะด้วยความน่ารัก ขนยาวนุ่มน่าโอบกอด เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น หากคิดจะเลี้ยงเป็นเพื่อนเล่น ควรทำความเข้าใจก่อนเลี้ยง เพราะสัตว์ชนิดนี้ต้องการ ความเอาใจใส่ไปจนตลอดช่วงชีวิต

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง